เมนู

ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้า พอทรงสดับคำของพระเทวทัตผู้ทูลขอ
วัตถุ 5 นี้เท่านั้น ก็ทรงทราบได้ว่า เทวทัตนี้ มีความต้องการจะทำลาย
สงฆ์จึงขอ ก็เพราะวัตถุ 5 นั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาต
ย่อมเป็นไปเพื่ออันตรายแก่มรรค ของเหล่ากุลบุตรเป็นอันมาก; ฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงปฎิเสธว่า อย่าเลย เทวทัต ! แล้วตรัสว่า
ภิกษุใดปรารถนา, ภิกษุนั้น จงเป็นผู้อยู่ป่าเถิด ดังนี้เป็นต้น.

[พระประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าในข้อนี้]


อนึ่ง ในคำว่า โย อิจฺฉติ เป็นต้นนี้ กุลบุตรควรทราบความ
ประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ทราบความสมควรแก่ตน. จริงอยู่
ความประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ในคำว่า โย อิจฺฉติ เป็นต้นนี้
ดังต่อไปนี้:-
ภิกษุรูปหนึ่ง มีอัธยาศัยใหญ่ มีอุตสาหะมาก ย่อมสามารถเพื่อ
งดเสนาสนะใกล้แดนบ้านเสียแล้ว อยู่ในป่ากระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้. ภิกษุ
รูปหนึ่งที่มีกำลังอ่อนแอ มีเรี่ยวแรงน้อย ย่อมไม่สามารถจะอยู่ในป่า
(กระทำที่สุดทุกข์ได้), สามารถแต่ในคามเขตเท่านั้น. รูปหนึ่งมีกำลังมาก
มีธาตุเป็นไปสม่ำเสมอ สมบูรณ์ด้วยอธิวาสนขันติมีจิตคงที่ในอิฎฐารมณ์
และอนิฎฐารมณ์ ย่อมสามารถทั้งในป่า ทั้งในเขตบ้านได้ทั้งนั้น. รูปหนึ่ง
ไม่อาจทั้งในเขตบ้าน ทั้งในป่า คือ เป็นปทปรมบุคคล.
บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุนี้ใด มีอัธยาศัยใหญ่ มีอุตสาหะมาก
ย่อมสามารถเพื่องดเสนาสนะใกล้แดนบ้านเสียแล้ว อยู่ในป่ากระทำที่สุด
ทุกข์ได้, ภิกษุรูปนั้น จงอยู่ในป่าเท่านั้นเถิด, การอยู่ในป่านี้ สมควร