เมนู

[แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องพระเทวทัต]


ในคำว่า อถโข เทวทตฺโต เป็นต้นนี้ มีวินิจฉัยดังนี้:-
เรื่องพระเทวทัต เรื่องที่พระเทวทัตบวช และเหตุที่ไปหาพรรค-
พวก มีภิกษุโกกาลิกเป็นต้น แล้วกล่าวชักชวนว่า มาเถิด ผู้มีอายุ !
พวกเราจักกระทำสังฆเภท จักรเภท แก่พระสมณโคดม ดังนี้ เป็นต้น
ทั้งหมดมาแล้วโนสังฆเภทขันธกะนั้นแล.
ส่วนเรื่องขอวัตถุ 5 จักมาในสังฆเภทขันธกะนั้นเหมือนกัน แม้
ก็จริง, ถึงอย่างนั้น ข้าพเจ้าจักกล่าวในเรื่องขอวัตถุ 5 นี้ก่อน แล้ว
จึงจักผ่านไป เพราะเรื่องมาในสังฆเภทสิกขาบทนี้ ก็มี.
คำว่า สาธุ ภนฺเต ได้แก่ การทูลขอพระวโรกาส.
คำว่า ภิกฺขู ยาวชีวํ อารญฺญิกา อสฺสุ มีความว่า ภิกษุทั้งหมด
สมาทานอรัญญิกธุดงค์แล้ว จงเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร คือ จงอยู่แต่ในป่า
เท่านั้น ตลอดชีวิต.
ด้วยคำว่า โย คามนฺตํ โอสเรยฺย วชฺชํ นํ ผุเสยฺย พระ-
เทวทัตกล่าวด้วยความประสงค์ว่า ภิกษุใด คือ แม้ภิกษุรูปหนึ่งละป่า
เข้าสู่เขตบ้าน เพื่อต้องการจะอยู่, โทษพึงต้องภิกษุนั้น คือโทษจงต้อง
ภิกษุนั้น ได้แก่พระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงปรับภิกษุนั้นด้วยอาบัติ, แม้
ในวัตถุที่เหลือ ก็มีนัยเหมือนกันนี้.
สองบทว่า ชนํ สญฺญาเปสฺสสาม มีความว่า พวกเราจักยัง
ประชาชนให้เข้าใจว่า พวกเราเป็นผู้มีความมักน้อยเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง
มีคำอธิบายว่า พวกเราจักให้ประชาชนยินดีพอใจ คือ จักให้เลื่อมใส.

ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้า พอทรงสดับคำของพระเทวทัตผู้ทูลขอ
วัตถุ 5 นี้เท่านั้น ก็ทรงทราบได้ว่า เทวทัตนี้ มีความต้องการจะทำลาย
สงฆ์จึงขอ ก็เพราะวัตถุ 5 นั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาต
ย่อมเป็นไปเพื่ออันตรายแก่มรรค ของเหล่ากุลบุตรเป็นอันมาก; ฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงปฎิเสธว่า อย่าเลย เทวทัต ! แล้วตรัสว่า
ภิกษุใดปรารถนา, ภิกษุนั้น จงเป็นผู้อยู่ป่าเถิด ดังนี้เป็นต้น.

[พระประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าในข้อนี้]


อนึ่ง ในคำว่า โย อิจฺฉติ เป็นต้นนี้ กุลบุตรควรทราบความ
ประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ทราบความสมควรแก่ตน. จริงอยู่
ความประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ในคำว่า โย อิจฺฉติ เป็นต้นนี้
ดังต่อไปนี้:-
ภิกษุรูปหนึ่ง มีอัธยาศัยใหญ่ มีอุตสาหะมาก ย่อมสามารถเพื่อ
งดเสนาสนะใกล้แดนบ้านเสียแล้ว อยู่ในป่ากระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้. ภิกษุ
รูปหนึ่งที่มีกำลังอ่อนแอ มีเรี่ยวแรงน้อย ย่อมไม่สามารถจะอยู่ในป่า
(กระทำที่สุดทุกข์ได้), สามารถแต่ในคามเขตเท่านั้น. รูปหนึ่งมีกำลังมาก
มีธาตุเป็นไปสม่ำเสมอ สมบูรณ์ด้วยอธิวาสนขันติมีจิตคงที่ในอิฎฐารมณ์
และอนิฎฐารมณ์ ย่อมสามารถทั้งในป่า ทั้งในเขตบ้านได้ทั้งนั้น. รูปหนึ่ง
ไม่อาจทั้งในเขตบ้าน ทั้งในป่า คือ เป็นปทปรมบุคคล.
บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุนี้ใด มีอัธยาศัยใหญ่ มีอุตสาหะมาก
ย่อมสามารถเพื่องดเสนาสนะใกล้แดนบ้านเสียแล้ว อยู่ในป่ากระทำที่สุด
ทุกข์ได้, ภิกษุรูปนั้น จงอยู่ในป่าเท่านั้นเถิด, การอยู่ในป่านี้ สมควร