เมนู

กัน ไม่วิวาทกัน มีอุเทศเดียวกัน ย่อมอยู่ผาสุก ดังนี้ พึงว่ากล่าวแม้
ครั้งที่สอง พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สาม หากเธอสละเสีย สละได้อย่างนี้
นั่นเป็นการดี หากเธอไม่สละเสีย ต้องอาบัติทุกกฏ.

วิธีสวดสมนุภาส


[596] ภิกษุนั้น อันสงฆ์พึงสวดสมนุภาส ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็แลสงฆ์พึงสวดสมนุภาสอย่างนี้ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถพึงประกาศให้
สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

กรรมวาจาสวดสมนุภาส


ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุผู้มีชื่อนี้ผู้นี้ ตะเกียกตะกาย
เพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง เธอไม่สละเรื่องนั้น ถ้าความพรั่งพร้อม
ของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสวดสมนุภาสภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่อง
นั้นเสีย นี่เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุผู้มีชื่อนี้ผู้นี้ ตะเกียกตะกาย
เพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง เธอไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาส
ภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้น การสวดสมนุภาสภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อ
ให้สละเรื่องนั้นเสีย ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่
ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวคำนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ภิกษุผู้มีชื่อนี้ผู้นี้ ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง เธอไม่สละ
เรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้น การสวด

สมนุภาสภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน
ผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ภิกษุผู้มีชื่อนี้ผู้นี้ ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง เธอไม่สละ
เรื่องนั้น สงฆ์สมนุภาสภิกษุผู้มีชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น การสวด
สมนุภาสภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน
ผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ภิกษุผู้มีชื่อนี้ สงฆ์สวดสมนุภาสแล้ว เพื่อให้สละเรื่องนั้น ชอบ
แก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
[597] จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ
จบกรรมวาจาสองครั้ง ต้องอาบัติถุลลจัย
จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
เมื่อต้องอาบัติสังฆาทิเสส อาบัติทุกกฏเพราะญัตติ อาบัติถุลลัจจัย
เพราะกรรมวาจาสองครั้ง ย่อมระงับ.
บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาสเพื่ออาบัตินั้น
ชักเข้าหาอาบัติเติม ให้มานัต เรียกเข้าหมู่ ไม่ใช่คณะมากรูปด้วยกัน
ไม่ใช่บุคคลรูปเดียว เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส คำว่า
สังฆาทิเสส เป็นการขนานนาม คือเป็นชื่อของอาบัตินิกายนั่นแล แม้
เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.

บทภาชนีย์


[598] กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ไม่สละ
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัย ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ไม่สละ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.

อนาปัตติวาร


[599] ภิกษุยังไม่ถูกสวดสมนุภาส 1 ภิกษุผู้สละเสียได้ ภิกษุ
วิกลจริต 1 ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 10 จบ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 10


ปฐมสังฆเภทสิกขาบทวรรณนา


สังฆเภทสิกขาบทว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา เป็นต้น
ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป. ในสังฆเภทสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-