เมนู

บิณฑบาตลอดชีวิต ภิกษุใดยินดีการนิมนต์ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น
3. ภิกษุทั้งหลายควรถือผ้าบังสกุลตลอดชีวิต ภิกษุใดยินดีผ้าคหบดี
โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น 4. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต ภิกษุ
ใดอาศัยที่มุงบัง โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น 5. ภิกษุทั้งหลายไม่ควรฉันปลา
และเนื้อตลอดชีวิต ภิกษุใดฉันปลาและเนื้อ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น
พระสมณโคดมไม่ทรงอนุญาตวัตถุ 5 ประการนี้ พวกเราเท่านั้นสมาทาน
ประพฤติวัตถุ 5 ประการนี้อยู่.
[593] บรรดาประชาชนชาวพระนครราชคฤห์นั้น จำพวกที่ไม่มี
ศรัทธา ไม่เลื่อมใส มีความรู้ทราม พากันกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณะ
เชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้แล เป็นผู้กำจัด มีความประพฤติขัดเกลา
ส่วนพระสมณโคดมเป็นผู้มีความมักมาก ดำริเพื่อความมักมาก
ส่วนประชาชนจำพวกที่มีศรัทธาเลื่อมใสเป็นบัณฑิต มีความรู้สูง ต่าง
พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระเทวทัตจึงได้ตะเกียกตะกาย
เพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายข้อห้ามในพุทธจักร ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเล่า
ภิกษุทั้งหลายได้ยินประชาชนเหล่านั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
อยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ
ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระ-
เทวทัตจึงได้ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายข้อห้ามในพุทธจักร
เล่า แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท


ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ

เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระ-
เทวทัตว่า ดูก่อนเทวทัต ข่าวว่า เธอตะเกียกตะกาย เพื่อทำลาย
ข้อห้ามในพุทธจักร จริงหรือ.
พระเทวทัตทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การ
กระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ
ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ดูก่อนโฆษบุรุษ ไฉนเธอจึงได้ตะเกียกตะกาย
เพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายข้อห้ามในพุทธจักรเล่า
ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ
เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใสยิ่ง หรือเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน
ที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความ
ไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอัน ของ
ชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนพระเทวทัต โดยอเนกปริยาย
ดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก
ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความ
เกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย
ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่า
เลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย แล้ว
ทรงกระทำธรรมีกถา ที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้นแก่
ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท
แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ 10 ประการ คือเพื่อความ
รับว่าดีแห่งสงฆ์ 1 เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อ
ยาก 1 เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก เพื่อป้องกันอาสวะ
อันจะบังเกิดในปัจจุบัน 1 เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส 1 เพื่อความเลื่อมใสยิ่ง
ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว 1 เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม เพื่อ
ถือตามพระวินัย 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ


14. 10. อนึ่ง ภิกษุใด ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ผู้
พร้อมเพรียงหรือถือเอาอธิกรณ์อันเป็นเหตุแตกกันยกย่องยันอยู่ ภิกษุ
นั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านอย่าได้ตะเกียกตะกาย
เพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง หรืออย่าได้ถือเอาอธิกรณ์อันเป็นเหตุ
แตกกันยกย่องยันอยู่ ขอท่านจงพร้อมเพรียงด้วยสงฆ์ เพราะว่าสงฆ์
ผู้พร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน มีอุเทศเดียวกันย่อม
อยู่ผาสุก แลภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายกล่าวอยู่อย่างนี้ ยังยกย่อง
ยันอยู่อย่างนั้นเทียว ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลาย พึงสวดสมนุภาสกว่า
จะครบสามจบ เพื่อให้สละกรรมนั้นเสีย หากเธอถูกสวดสมนุภาส