เมนู

ไว้ว่า 'ชื่อว่าสังฆกรรมนี้และนี้ ควรทำอย่างนี้ ่ เกิดขึ้นและเพราะอาศัย
สังฆกรรมก่อน ๆ เกิดขึ้น.
ก็เพราะสองบทว่า เทโส หรือ เลสมตฺโต อันมีอยู่ในคำว่า กิญฺจิ
เทสํ เลสมตฺตํ อุปาทาย
นี้ ต่างกันโดยพยัญชนะ โดยอรรถเป็นอย่าง
เดียวกัน โดยนัยดังกล่าวแล้วดังก่อนนั่นแล; ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสคำมีอาทิว่า เลโสติ ทส เลสา ชาติเลโส นามเลโส ดังนี้.
บรรดาเลศ คือชาติเป็นต้นนั้น ชาติ (กำเนิด) นั่นเอง ชื่อว่า เลศ คือ
ชาติ. ในเลศที่เหลือ ก็นัยนี้.

[แก้อรรถสิกขาบทวิภังค์ตอนว่าด้วยเลศ]


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อจะทรงแสดงเลศนั้นนั่นแลโดยพิสดาร
แสดงให้เห็นพร้อมทั้งวัตถุ โดยประการที่จะมีการอ้างเลศนั้นตามกำจัด
จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ชาติเลโส นาม ขตฺติโย ทิฏโฐ โหติ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า ขตฺติโย หิฏโฐ โหติ มีความว่า บุคคล
อื่นบางคน เป็นเชื้อชาติกษัตริย์ ย่อมเป็นผู้อันโจทก์นี้เห็นแล้ว.
คำว่า ปาราชิกํ ธมฺมํ อชฺฌาปชฺชนฺโต ได้แก่ เป็นผู้ต้องบรรดา
ปาราชิกมีเมถุนธรรมเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง.
คำว่า อญฺญํ ขตฺติยํ ปสฺสิตฺวา โจเทติ มีความว่า ภายหลังโจทก์
นั้น เห็นภิกษุอื่นผู้มีชาติเป็นกษัตริย์ ซึ่งเป็นคู่เวรของตน แล้วถือเอา
เลศ คือชาติกษัตริย์นั้น โจทอย่างนี้ว่า กษัตริย์ต้องธรรม คือปาราชิก
ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว, ท่านเป็นกษัตริย์ เป็นผู้ต้องธรรม คือปาราชิก.
อีกอย่างหนึ่ง โจทว่า ท่าน คือกษัตริย์นั้น ไม่ใช่ผู้อื่นเป็นผู้ต้องธรรม

คือปาราชิก, ท่านเป็นผู้มิใช่สมณะ เป็นผู้มิใช่เหล่ากอแห่งศากยบุตร,
ไม่มีอุโบสถ ปวารณา หรือว่าสังฆกรรม ร่วมกับท่าน ต้องสังฆาทิเสส
ทุก ๆ คำพูด.
ก็ในคำว่า ขตฺติโย มยา ทิฏฺโฐ เป็นต้นนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบความ
ที่กษัตริย์เหล่านั้น เป็นผู้มีส่วนอื่น ด้วยอำนาจแห่งกษัตริย์ ผู้ไม่เหมือน
กันและกันนั้น ๆ มีลักษณะสูง หรือที่ตนได้เห็นแล้วเป็นต้น และความที่
กษัตริย์เหล่านั้น เป็นอธิกรณ์ ด้วยอำนาจแห่งความเป็นผู้รองรับบัญญัติ
คือชาติกษัตริย์. ผู้ศึกษาพึงทราบโยชนาในบททั้งปวงโดยอุบายนี้นั่นแล.
พึงทราบวินิจฉัยในปัตตเลสนิเทศ ดังนี้:- บาตรดินเหนียวมี
สัณฐานงาม มีผิวเรียบสนิท มีสีเหมือนแมลงภู่ คล้ายกับบาตรโลหะ ท่าน
เรียกว่า บาตรเคลือบ. บาตรดินตามปกติ ท่านเรียกว่า บาตรดินธรรมดา.
ก็เพราะตรัสนิเทศแห่งเลศ คืออาบัติไว้โดยสังเขปด้วยบทเดียวกันเท่านั้น;
ฉะนั้น เพื่อแสดงเลศ คืออาบัติแม้นั้นโดยพิสดาร พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสคำเป็นต้นว่า เราได้เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ดังนี้.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสนิเทศแห่งเลศ
คืออาบัตินั้นไว้ในอธิการแห่งเลศ คืออาบัตินั้นเสียทีเดียว แต่กลับมาตรัส
ไว้ต่างหาก ในนิเทศแห่งบทว่า สงฺฆาทิเสโส นี้เล่า ?
แก้ว่า ก็เพราะในนิเทศแห่งเลศ ไม่มีสภาคกัน.
จริงอยู่ นิเทศแห่งเลศทั้งหลาย ตรัสไว้ด้วยอำนาจแห่งการเห็น
ภิกษุรูปอื่น แล้วโจทภิกษุอีกรูปหนึ่ง. แต่นิเทศแห่งเลศ คืออาบัตินี้
ตรัสด้วยอำนาจการเห็นภิกษุรูปเดียวนั่นแล ต้องอาบัติอื่น แล้วโจทด้วย
อาบัติอื่น.

ถามว่า ถ้าอย่างนั้น อธิกรณ์มีส่วนอื่น จะมีได้อย่างไร ?
แก้ว่า มีได้เพราะอาบัติ. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึง
ตรัสคำนี้ว่า อธิกรณ์เป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และเลศอันโจทก์อ้างแล้ว
แม้ด้วยอาการอย่างนี้. แท้จริง ภิกษุนั้น ต้องสังฆาทิเสสใด, อธิกรณ์
คือสังฆาทิเสสนั้น เป็นอธิกรณ์มีส่วนอื่นแห่งปาราชิก. ก็ที่ชื่อว่าเลศแห่ง
อธิกรณ์มีส่วนอื่นนั้น คือความเป็นอาบัติทั่วไปแก่อาบัติทั้งปวง เหมือน
ความเป็นกษัตริย์ทั่วไปแก่กษัตริย์ทั้งปวงฉะนั้น. นัยทั้งหลายมีอาบัติที่เหลือ
เป็นมูล และโจทาปกวาร ผู้ศึกษาพึงทราบโดยอุบายนี้.
คำว่า อนาปตฺติ ตถาสญฺญี โจเทติ วา โจทาเปติ วา มีความว่า
ภิกษุใด มีความสำคัญอย่างนี้ว่า ผู้นี้ ต้องปาราชิกทีเดียว โจทเอง หรือ
ใช้ให้ผู้อื่นโจทอย่างนั้น ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้น. บทที่เหลือทั้งหมด
ตื้นทั้งนั้น.
แม้ปกิณกะมีสมุฏฐานเป็นต้น ก็เหมือนกับปฐมทุฏฐโทสสิกขาบท
นั้นแล.
ทุติยทุฏฐโทสสิกขาบทวรรณา จบ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 10
เรื่องพระเทวทัต


[590] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนคร