เมนู

ไว้ว่า 'ชื่อว่าสังฆกรรมนี้และนี้ ควรทำอย่างนี้ ่ เกิดขึ้นและเพราะอาศัย
สังฆกรรมก่อน ๆ เกิดขึ้น.
ก็เพราะสองบทว่า เทโส หรือ เลสมตฺโต อันมีอยู่ในคำว่า กิญฺจิ
เทสํ เลสมตฺตํ อุปาทาย
นี้ ต่างกันโดยพยัญชนะ โดยอรรถเป็นอย่าง
เดียวกัน โดยนัยดังกล่าวแล้วดังก่อนนั่นแล; ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสคำมีอาทิว่า เลโสติ ทส เลสา ชาติเลโส นามเลโส ดังนี้.
บรรดาเลศ คือชาติเป็นต้นนั้น ชาติ (กำเนิด) นั่นเอง ชื่อว่า เลศ คือ
ชาติ. ในเลศที่เหลือ ก็นัยนี้.

[แก้อรรถสิกขาบทวิภังค์ตอนว่าด้วยเลศ]


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อจะทรงแสดงเลศนั้นนั่นแลโดยพิสดาร
แสดงให้เห็นพร้อมทั้งวัตถุ โดยประการที่จะมีการอ้างเลศนั้นตามกำจัด
จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ชาติเลโส นาม ขตฺติโย ทิฏโฐ โหติ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า ขตฺติโย หิฏโฐ โหติ มีความว่า บุคคล
อื่นบางคน เป็นเชื้อชาติกษัตริย์ ย่อมเป็นผู้อันโจทก์นี้เห็นแล้ว.
คำว่า ปาราชิกํ ธมฺมํ อชฺฌาปชฺชนฺโต ได้แก่ เป็นผู้ต้องบรรดา
ปาราชิกมีเมถุนธรรมเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง.
คำว่า อญฺญํ ขตฺติยํ ปสฺสิตฺวา โจเทติ มีความว่า ภายหลังโจทก์
นั้น เห็นภิกษุอื่นผู้มีชาติเป็นกษัตริย์ ซึ่งเป็นคู่เวรของตน แล้วถือเอา
เลศ คือชาติกษัตริย์นั้น โจทอย่างนี้ว่า กษัตริย์ต้องธรรม คือปาราชิก
ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว, ท่านเป็นกษัตริย์ เป็นผู้ต้องธรรม คือปาราชิก.
อีกอย่างหนึ่ง โจทว่า ท่าน คือกษัตริย์นั้น ไม่ใช่ผู้อื่นเป็นผู้ต้องธรรม