เมนู

บำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด
อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนก-
ปริยาย แล้วทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่อง
นั้น แก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท
แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ประการ คือ เพื่อความรับว่า
ดีแห่งสงฆ์ 1 เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ 1 เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก 1
เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก 1 เพื่อป้องกันอาสนะอันจะ
บังเกิดในปัจจุบัน 1 เพื่อกำจัดอาสนะอันจักบังเกิดรนอนาคต 1 เพื่อ
ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส 1 เพื่อความเลื่อมใสยิ่ง
ของชุนชนที่เลื่อมใสแล้ว 1 เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม เพื่อ
ถือตามพระวินัย 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ


13. 9. อนึ่ง ภิกษุใด ขัดใจ มีโทสะ ไม่แช่มชื่น ถือเอา
เอกเทศบางแห่ง แห่งอธิกรณ์อันเป็นเรื่องอื่น ให้เป็นเพียงเลศ ตาม
กำจัดซึ่งภิกษุ ด้วยธรรมอันมีโทษถึงปาราชิก ด้วยหมายว่า แม้ไฉน
เราจักยังเธอให้เคลื่อนจากพรหมจรรย์นี้ได้ ครั้นสมัยอื่นแต่นั้น อัน
ผู้ใดผู้หนึ่งถือเอาตามก็ตาม ไม่ถือเอาตามก็ตาม แต่อธิกรณ์นั้นเป็น

เรื่องอื่นแท้ เอกเทศบางแห่ง เธอถือเอาพอเป็นเลศ แลภิกษุยันอิง
โทสะอยู่ เป็นสังฆาทิเสส.
เรื่องพระเมตติยะและพระภุมมชกะ จบ

สิกขาบทวิภังค์


[565] บทว่า อนึ่ง...ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงาน
อย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด
มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะ
ก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อนึ่ง...ใด.
บทว่า ภิภษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ
อรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ
โดยปฎิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ
เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ
เพราะอรรถว่า เป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม ชื่อว่า
ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็น
พระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกัน
อุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดาภิกษุ
เหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ ด้วยญัตติจตุตถกรรม
อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะนี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า ซึ่งภิกษุ หมายภิกษุอื่น.