เมนู

โจทก์กล่าวหานั้น โจทก์นั้น ถูกพระวินัยธรผู้ว่าความสอบสวน ไต่สวน
คือพิจารณาอยู่โดยนัยเป็นต้นว่า ท่านเห็นอะไร ? ท่านเห็นว่าอย่างไร ?
ในอสมนุคคาหิยมานนิเทศ ข้อว่า น เกนจิ วุจฺจมาโน คืออันผู้
ว่าความ หรือใครคนใดคนหนึ่ง (ไม่ซักถาม). อีกอย่างหนึ่ง ความว่า
ไม่ถูกผู้ว่าความสอบถาม ด้วยบรรดาวัตถุที่ได้เห็นเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง.
ก็บัณฑิตพึงทราบความสัมพันธ์แห่งบทมาติกาทั้ง 2 นี้ ด้วยคำว่า
ภิกขุ จ โทสํ ปติฏฺฐาติ นี้ข้างหน้า. จริงอยู่ มีรูปความที่ท่านกล่าวไว้
ดังนี้ว่า ก็แล ภิกษุอันผู้ใดผู้หนึ่งถือเอาตามก็ตาม ไม่ถือเอาตามก็ตาม
อย่างนี้ (เชื่อก็ตาม ไม่เชื่อก็ตาม) ยืนยัน อิงอาศัยโทสะ คือปฎิญญา,
เป็นสังฆาทิเสส. ก็คำนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อแสดงกาลปรากฏ
แห่งความเป็นอธิกรณ์ไม่มีมูลเท่านั้น. แต่ภิกษุผู้โจทก์ย่อมต้องอาบัติใน
ขณะที่ตนโจทนั่นแล.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า อธิกรณํ นาม เป็นต้น เพื่อ
จะไม่ตรัสลักษณะอธิกรณ์ไม่มีมูลนั้น แสดงแต่ที่ยังไม่เคยมีเท่านั้น เพราะ
ลักษณะแห่งอธิกรณ์ไม่มีมูล ได้ตรัสไว้แล้วในก่อน ในคำว่า อมูลกญฺเจว
ตํ อธิกรณํ โหติ
นี้.

[อธิบายคำว่าอธิกรณ์เป็นต้น]


เพราะ อธิกรณ์ในคำว่า อิธิกรณํ นาม นั้น โดยอรรถ คือเหตุ
ย่อมมีแม้อย่างเดียว ด้วยอำนาจแห่งวัตถุมีต่าง ๆ กัน; เพราะเหตุนั้น
เพื่อความแตกต่างกันนั้น แห่งอธิกรณ์นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำ
มีอาทิว่า จตฺตาริ อธิกรณานิ วิวาทาธิกรณํ ดังนี้.