เมนู

อยู่ สิกขาบทพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ เพื่อต้องการข่มพวกอลัชชี
และเพื่อต้องการยกย่องพวกลัชชี.
ในลัชชีและอลัชชีเหล่านั้น อลัชชีได้นัยแล้ว จักกลบเกลื่อนไป
เสีย. ฝ่ายลัชชีได้นัยแล้ว จักกล่าวยืนยันในเรื่องที่ได้เห็น โดยความสืบ
เนื่องกันกับเรื่องที่ได้เห็น ในเรื่องที่ได้ยิน โดยความสืบเนื่องกันกับเรื่อง
ที่ได้เห็น ในเรื่องที่ได้ยิน โดยความสืบเนื่องกันกับเรื่องที่ได้ยิน. เพราะ-
ฉะนั้น การอนุเคราะห์ธรรม จึงสมควรแก่ลัชชีนั้น. ก็ถ้าว่าลัชชีนั้น
เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด ยืนยันพูด, แต่อลัชชีไม่ให้ปฏิญญา ด้วย
ปฏิเสธว่า แม้เรื่องนี้ก็ไม่มี, ถึงเรื่องนั่นก็ไม่มี. พึงปรับตามปฏิญญาของ
อลัชชีเหมือนกัน.

[ว่าด้วยเรื่องทำตามปฏิญญาของจำเลยลัชชีและอลัชชี]


ก็แลเพื่อแสดงใจความนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบเรื่องดังต่อไปนี้:-
ได้ยินว่า พระเถระจูฬาภัย ผู้ทรงไตรปิฎก แสดงวินัยแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภายใต้โลหปราสาท เลิกในเวลาเย็น. ในเวลาพระเถระนั้นเลิก ภิกษุ 2
รูปผู้เป็นความกันในอรรถคดี ได้ยังถ้อยคำให้เป็นไป. รูปหนึ่งไม่ให้
ปฏิญญาโดยปฏิเสธว่า แม้เรื่องนี้ก็ไม่มี, ถึงเรื่องนั้นก็ไม่มี. คราวนั้น
เมื่อปฐมยามยังเหลือน้อย พระเถระเกิดความเข้าใจว่าไม่บริสุทธิ์ในบุคคล
นั้นว่า ผู้นี้ยืนยันพูด, แต่ผู้นี้ไม่ให้ปฏิญญา และเรื่องชักมาเป็นอุทาหรณ์
มีมาก, กรรมนี้ จักเป็นของอันบุคคลนั้นทำแล้วแน่นอน. ครั้งนั้น
พระเถระได้ให้สัญญาที่แผ่นกระเบื้องเช็ดเท้าด้วยด้ามพัดแล้วกล่าวว่า คุณ !
เราไม่สมควรจะวินิจฉัย, เธอจงให้คนอื่นวินิจฉัยเถิด. พวกภิกษุถามว่า
เพราะเหตุไร ขอรับ ? พระเถระได้บอกเนื้อความนั้น. ความเร่าร้อนเกิด

ขึ้นในกายของบุคคลผู้เป็นจำเลย. ครั้งนั้น จำเลยไหว้พระเถระแล้วกล่าวว่า
ธรรมดาพระวินัยธรผู้เหมาะสมเพื่อวินิจฉัย ควรเป็นผู้เช่นท่านนั่นแหละ
และผู้โจทก์ก็ควรเป็นเช่นท่านผู้นี้แล แล้วนุ่งผ้าขาวกล่าวว่า ผมทำให้
ท่านลำบากนานแล้ว ขอขมาพระเถระแล้วหลีกไป.
อลัชชีภิกษุถูกลัชชีภิกษุโจทอยู่อย่างนั้น เมื่อเรื่องแม้เป็นอันมากเกิด
ขึ้นแล้ว ก็ไม่ให้ปฏิญญา. อลัชชีภิกษุนั้น พระวินัยธรไม่ควรกล่าวเลยว่า
เป็นผู้บริสุทธิ์ ทั้งไม่ควรกล่าวว่า เป็นผู้ไม่บริสุทธิ์. บุคคลนี้ ชื่อว่าตาย
ทั้งเป็น ชื่อว่าเน่าทั้งดิบ. ก็ถ้าว่า เรื่องแม้อื่นเช่นนั้นเกิดขึ้นแก่เขา,
พระวินัยธรไม่ต้องวินิจฉัย. เขาจักต้องฉิบหายไปอย่างนั้นนั่นเอง.
อนึ่ง ถ้าอลัชชีภิกษุโจทอลัชชีภิกษุด้วยกัน พระวินัยธรควรพูด
แนะโจทก์นั้นว่า แน่ะคุณ ! ผู้นี้ใคร ๆ ไม่อาจว่ากล่าวอะไร ตามคำของ
คุณได้, กล่าวอย่างนั้นเหมือนกันกะฝ่ายจำเลย นอกนี้ แล้วส่งไปด้วย
คำว่า พวกเธอทั้งสองจงร่วมสมโภคบริโภคกันอยู่เถิด, ไม่พึงทำการ
วินิจฉัยแก่อลัชชีทั้งสองนั้น เพื่อประโยชน์แก่ศีล, แต่เพื่อประโยชน์แก่
บาตรและจีวร และบริเวณเป็นต้น ได้พยานสมควรแล้วจึงควรทำ.
ถ้าลัชชีภิกษุ โจทลัชชีภิกษุด้วยกัน และการวิวาทของพวกเธอมี
เพียงเล็กน้อย ในเรื่องบางเรื่องเท่านั้น, พระวินัยธรพึงให้รอมชอมตกลง
กัน ให้แสดงโทษล่วงเกินแล้วส่งไปด้วยคำว่า พวกเธอจงอยู่ทำอย่างนี้
ก็ถ้าในโจทก์และจำเลยนั้น จำเลยพูดพลั้งพลาดผิดไป, ตั้งแต่ต้น จำเลย
ยังไม่ชื่อว่าเป็นอลัชชี. และจำเลยนั้น ไม่ให้ปฏิญญาเพื่อต้องการรักษา
พรรคพวก. พวกมากลุกขึ้นด้วยกล่าวว่า พวกเราไม่เชื่อ พวกเราไม่เชื่อ.
จำเลยนั้น จะเป็นผู้บริสุทธิ์ครั้งเดียว หรือ 2 ครั้ง ตามปฏิญญาของพวก

มากนั้นเถิด. แต่ถ้าเธอไม่ตั้งอยู่ในฐาน (เป็นลัชชี) จำเดิมแต่เวลาพูดผิด
ไป. พึงให้การวินิจฉัย.*

[ว่าด้วยองค์ของโจทก์และจำเลย]


เมื่อเรื่องถูกนำมาเสนอในที่ประชุมท่ามกลางสงฆ์ ด้วยอำนาจแห่ง
การโจทอย่างใดอย่างหนึ่งเช่นนี้ พระวินัยธรทราบการปฏิบัติในจำเลย
และโจทก์แล้ว พึงทราบวินิจฉัยด้วยสามารถแห่งเบื้องต้น ท่ามกลางและ
ที่สุดเป็นต้น เพื่อรู้จักสมบัติและวิบัติแห่งการโจทนั้นนั่นเอง. คืออย่างไร ?
คือการโจทมีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด ?
การขอโอกาสว่า ข้าพเจ้าใคร่จะกล่าวกะท่าน, ขอท่านผู้มีอายุ จง
กระทำโอกาสให้แก่ข้าพเจ้า ดังนี้ ชื่อว่า เบื้องต้นแห่งการโจท.
การโจทแล้วให้จำเลยให้การตามวัตถุที่ยกขึ้นบรรยายฟ้องแล้ววินิจ-
ฉัย ชื่อว่า ท่ามกลางแห่งการโจท.
การระงับด้วยให้จำเลยทั้งอยู่ในอาบัติ หรืออนาบัติ ชื่อว่า ที่สุด
แห่งการโจท.
การโจท มีมูลเท่าไร ? มีวัตถุเท่าไร ? มีภูมิเท่าไร ?
การโจทมีมูล 2 คือ มูลมีเหตุ 1 มูลไม่มีเหตุ 1 (มูลมีมูล 1 มูล
ไม่มีมูล 1). มีวัตถุ 3 คือ ได้เห็น 1 ได้ยิน 1 ได้รังเกียจ 1. มีภูมิ 5
คือจักพูดตามกาล จักไม่พูดโดยกาลไม่ควร 1 จักพูดตามจริง จักไม่พูด
โดยคำไม่จริง 1 จักพูดด้วยคำอ่อนหวาน จักไม่พูดด้วยคำหยาบ 1 จัก
* สารัตถทีปนี 3/44, มี น ปฏิเสธ เป็น วินิจฺฉโย น ทาตพฺโพติ อลชฺชิภาวาปนฺนตฺตา
ทาตพฺโพ แปลว่า ข้อว่า ไม่พึงให้วินิจฉัย คือ พึงให้วินิจฉัย เพราะถึงความเป็นอลัชชี.