เมนู

การโจท. ในปาฎิโมกขัฏฐปนขันธกะ ท่านพระอุบาลีเถระกล่าวโจทไว้
อีกถึง 110 อย่าง คือการโจทที่ไม่เป็นธรรม 55 ที่เป็นธรรม 55 อย่าง
นี้ คือแต่งตั้งแต่พระดำรัสที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! การพักปาฏิโมกข์
ที่ไม่เป็นธรรมมีหนึ่ง, การพักปาฏิโมกข์ที่เป็นธรรมมีหนึ่ง จนถึงการพัก
ปาฏิโมกข์ที่ไม่เป็นธรรม 10 การพักปาฏิโมกข์ที่เป็นธรรม 10. การ
โจทเหล่านั้น เป็น 330 คือ ของภิกษุผ้โจทด้วยการได้เห็นเอง 110,
ของภิกษุผู้โจทด้วยการได้ยิน 110, ของภิกษุผู้โจทด้วยความรังเกียจ 110
การโจทเหล่านั้น เอา 3 คูณ คือสำหรับภิกษุผู้โจทด้วยกาย ผู้โจทด้วย
วาจา ผู้โจทด้วยกายและวาจา จึงรวมเป็น 990. การโจท 990 เหล่า
นั้น ของภิกษุผู้โจทด้วยตนเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นโจทก็ดี มีจำนวนเท่านั้น
เหมือนกัน; เพราะฉะนั้น จึงเป็นโจท 1,980 อย่าง. บัณฑิตพึงทราบ
อีกว่า การโจทมีหลายพัน ด้วยอำนาจโจทที่มีมูลและไม่มีมูล ในความ
ต่างแห่งมูลมีเรื่องที่ได้เห็นเป็นต้น.

[อธิบายโจทก์และจำเลยตามอรรถถานัย]


อนึ่ง พระอรรถกถาจารย์พระอรรถกถาจารย์ในฐานะนี้แล้ว นำเอาสูตรเป็นอัน
มากที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ในอุบาลีปัญจกะเป็นต้น อย่างนั้นว่า
ดูก่อนอุบาลี ! ภิกษุผู้ประสงค์จะรับอธิกรณ์ พึงรับอธิกรณ์ประกอบด้วย
องค์ 51 และว่า ดูก่อนอุบาลี ! ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึง
พิจารณาธรรม 5 อย่างในตนแล้ว โจทผู้อื่น2 ดังนี้ แล้วกล่าวลักษณะ
อธิกรณ์ ธรรมเนียมของโจทก์ ธรรมเนียมของจำเลย กิจที่สงฆ์จะพึงทำ
และธรรมเนียมของภิกษุผู้ว่าความ (ผู้สอบสวน) ทั้งหมด โดยพิสดารไว้
1. วิ. ปริวาร. 8/465. 2. วิ. ปริวาร. 8/469.

ในอรรถกถา. ข้าพเจ้าจักพรรณนาลักษณะอธิกรณ์เป็นต้นนั้น ในที่ตาม
ที่มาแล้วนั่นแล.
ก็เมื่อเรื่องถูกนำเข้าในท่ามกลางสงฆ์แล้ว ด้วยอำนาจแห่งโจท
อย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาโจทซึ่งมีประเภทดังกล่าวแล้วนี้ สงฆ์พึงถาม
โจทก์และจำเลยว่า พวกท่านจักพอใจด้วยการวินิจฉัยของพวกเราหรือ ?
ถ้าโจทก์และจำเลยกล่าวว่า พวกกระผมจักพอใจ สงฆ์พึงรับอธิกรณ์นั้น.
แต่ถ้าทั้งสองฝ่ายกล่าวว่า ขอพวกท่านวินิจฉัยดูก่อนเถิด ขอรับ ! ถ้าการ
วินิจฉัยนั้นจักควรแก่พวกกระผม, พวกกระผมจักยอมรับ, พึงกล่าวคำ
มีอาทิว่า พวกท่านจงไหว้พระเจดีย์ก่อน แล้วพึงวิสัชนาทำพระสูตรให้
ยาว. ถ้าพวกเธอ เหน็ดเหนื่อยตลอดกาลนาน เป็นผู้มีบริษัทหลีกไปเสีย
ขาดพรรคพวก จึงขอร้องใหม่, พระวินัยธรพึงห้ามเสียถึง 3 ครั้ง แล้ว
พึงวินิจฉัยอธิกรณ์ของพวกเธอ ในเวลาพวกเธอหมดความมานะจองหอง.
และพวกภิกษุที่สงฆ์สมมติเมื่อจะวินิจฉัย ถ้ามีบริษัทหนาแน่นด้วยพวก
อลัชชี, พึงวินิจฉัยอธิกรณ์นั้น ด้วยอุพพาหิกาญัตติ, ถ้าบริษัทหนาแน่น
ด้วยพวกคนพาล, พึงกล่าวว่า พวกท่านจงแสวงหาพระวินัยธร ที่ชอบ
พอของพวกท่าน ๆ เถิด ให้แสวงหาพระวินัยธรเอาเอง แล้วพึงระงับ
อธิกรณ์นั้นโดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ ซึ่งเป็นเครื่องระงับ
อธิกรณ์นั้น.
ก็ในธรรมวินัยและสัตถุศาสน์นั้น เรื่องที่เป็นจริง ชื่อว่า ธรรม.
การโจทและการให้การ ชื่อว่า วินัย. ญัตติสมบัติและอนุสาวนาสมบัติ
ชื่อว่า สัตถุศาสน์. เพราะฉะนั้น เมื่อโจทก์ยกเรื่องขึ้นฟ้อง พระวินัยธร

พึงถามจำเลยว่า เรื่องนี้ จริง หรือไม่จริง ? พระวินัยธร สอบสวนเรื่อง
อย่างนี้แล้ว โจทด้วยเรื่องที่เป็นจริง ให้จำเลยให้การแล้ว พึงระงับ
อธิกรณ์นั้นด้วยญัตติสมบัติและอนุสาวนาสมบัติ.
ถ้าว่า ในโจทก์และจำเลยนั้น โจทก์เป็นอลัชชี โจทจำเลยผู้เป็น
ลัชชี และโจทก์อลัชชีนั้นเป็นพาล ไม่ฉลาด, พระวินัยธรไม่พึงให้การ
ซักถามแก่เธอ. แต่พึงกล่าวอย่างนี้ ท่านโจทภิกษุนั้นเพราะเรื่องอะไร ?
แน่นอนโจทก์นั้นจักกล่าวว่า ท่านเจริญ ! ที่ชื่อว่ากิมหินัง นี้ คืออะไร ?
พึงส่งเธอไปเสียด้วยคำว่า ท่านไม่ระจักแม้คำว่า กิมหินัง (ท่านโจทภิกษุ
นั้นในเพราะเรื่องอะไร). ท่านเป็นคนโง่เห็นปานนี้ ไม่ควรโจทผู้อื่น.
พระวินัยธรไม่พึงให้การซักถามแก่เธอ. แต่ถ้าโจทก์อลัชชีนั้น เป็นบัณฑิต
เฉลียวฉลาด สามารถจะกลบเกลื่อนให้สำเร็จได้ ด้วยเรื่องที่ได้เห็น หรือ
ด้วยเรื่องที่ได้ยิน, พึงให้การซักถามแก่โจทก์นั้น แล้วกระทำกรรมตาม
ปฏิญญาของจำเลยผู้เป็นลัชชีนั่นแล. ถ้าลัชชีโจทอลัชชี, และลัชชีนั้นเป็น
คนโง่ ไม่เฉลียวฉลาด ไม่อาจจะให้คำตอบข้อซักถามได้, พระวินัยธร
พึงให้นัยแก่เธอว่า ท่านโจทภิกษุนั้นเพราะเรื่องอะไร ? เพราะเรื่องแห่ง
ศีลวิบัติ หรือเพราะเรื่องแห่งวิบัติอย่างหนึ่ง ในบรรดาอาจารวิบัติเป็นต้น
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร จึงควรให้นัยอย่างนี้แก่ลัชชีนี้เท่านั้น ไม่
ควรให้แก่อลัชชีนอกนี้เล่า ? การลำเอียงเพราะอคติ ไม่สมควรแก่พวก
พระวินัยธรมิใช่หรือ ?
แก้ว่า การลำเอียงเพราะอคติ ไม่สมควรเลย. แต่การให้นัยนี้ ไม่
จัดเป็นการลำเอียงเพราะอคติ. การนี้ชื่อว่าเป็นการอนุเคราะห์ธรรม. จริง

อยู่ สิกขาบทพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ เพื่อต้องการข่มพวกอลัชชี
และเพื่อต้องการยกย่องพวกลัชชี.
ในลัชชีและอลัชชีเหล่านั้น อลัชชีได้นัยแล้ว จักกลบเกลื่อนไป
เสีย. ฝ่ายลัชชีได้นัยแล้ว จักกล่าวยืนยันในเรื่องที่ได้เห็น โดยความสืบ
เนื่องกันกับเรื่องที่ได้เห็น ในเรื่องที่ได้ยิน โดยความสืบเนื่องกันกับเรื่อง
ที่ได้เห็น ในเรื่องที่ได้ยิน โดยความสืบเนื่องกันกับเรื่องที่ได้ยิน. เพราะ-
ฉะนั้น การอนุเคราะห์ธรรม จึงสมควรแก่ลัชชีนั้น. ก็ถ้าว่าลัชชีนั้น
เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด ยืนยันพูด, แต่อลัชชีไม่ให้ปฏิญญา ด้วย
ปฏิเสธว่า แม้เรื่องนี้ก็ไม่มี, ถึงเรื่องนั่นก็ไม่มี. พึงปรับตามปฏิญญาของ
อลัชชีเหมือนกัน.

[ว่าด้วยเรื่องทำตามปฏิญญาของจำเลยลัชชีและอลัชชี]


ก็แลเพื่อแสดงใจความนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบเรื่องดังต่อไปนี้:-
ได้ยินว่า พระเถระจูฬาภัย ผู้ทรงไตรปิฎก แสดงวินัยแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภายใต้โลหปราสาท เลิกในเวลาเย็น. ในเวลาพระเถระนั้นเลิก ภิกษุ 2
รูปผู้เป็นความกันในอรรถคดี ได้ยังถ้อยคำให้เป็นไป. รูปหนึ่งไม่ให้
ปฏิญญาโดยปฏิเสธว่า แม้เรื่องนี้ก็ไม่มี, ถึงเรื่องนั้นก็ไม่มี. คราวนั้น
เมื่อปฐมยามยังเหลือน้อย พระเถระเกิดความเข้าใจว่าไม่บริสุทธิ์ในบุคคล
นั้นว่า ผู้นี้ยืนยันพูด, แต่ผู้นี้ไม่ให้ปฏิญญา และเรื่องชักมาเป็นอุทาหรณ์
มีมาก, กรรมนี้ จักเป็นของอันบุคคลนั้นทำแล้วแน่นอน. ครั้งนั้น
พระเถระได้ให้สัญญาที่แผ่นกระเบื้องเช็ดเท้าด้วยด้ามพัดแล้วกล่าวว่า คุณ !
เราไม่สมควรจะวินิจฉัย, เธอจงให้คนอื่นวินิจฉัยเถิด. พวกภิกษุถามว่า
เพราะเหตุไร ขอรับ ? พระเถระได้บอกเนื้อความนั้น. ความเร่าร้อนเกิด