เมนู

การโจท. ในปาฎิโมกขัฏฐปนขันธกะ ท่านพระอุบาลีเถระกล่าวโจทไว้
อีกถึง 110 อย่าง คือการโจทที่ไม่เป็นธรรม 55 ที่เป็นธรรม 55 อย่าง
นี้ คือแต่งตั้งแต่พระดำรัสที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! การพักปาฏิโมกข์
ที่ไม่เป็นธรรมมีหนึ่ง, การพักปาฏิโมกข์ที่เป็นธรรมมีหนึ่ง จนถึงการพัก
ปาฏิโมกข์ที่ไม่เป็นธรรม 10 การพักปาฏิโมกข์ที่เป็นธรรม 10. การ
โจทเหล่านั้น เป็น 330 คือ ของภิกษุผ้โจทด้วยการได้เห็นเอง 110,
ของภิกษุผู้โจทด้วยการได้ยิน 110, ของภิกษุผู้โจทด้วยความรังเกียจ 110
การโจทเหล่านั้น เอา 3 คูณ คือสำหรับภิกษุผู้โจทด้วยกาย ผู้โจทด้วย
วาจา ผู้โจทด้วยกายและวาจา จึงรวมเป็น 990. การโจท 990 เหล่า
นั้น ของภิกษุผู้โจทด้วยตนเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นโจทก็ดี มีจำนวนเท่านั้น
เหมือนกัน; เพราะฉะนั้น จึงเป็นโจท 1,980 อย่าง. บัณฑิตพึงทราบ
อีกว่า การโจทมีหลายพัน ด้วยอำนาจโจทที่มีมูลและไม่มีมูล ในความ
ต่างแห่งมูลมีเรื่องที่ได้เห็นเป็นต้น.

[อธิบายโจทก์และจำเลยตามอรรถถานัย]


อนึ่ง พระอรรถกถาจารย์พระอรรถกถาจารย์ในฐานะนี้แล้ว นำเอาสูตรเป็นอัน
มากที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ในอุบาลีปัญจกะเป็นต้น อย่างนั้นว่า
ดูก่อนอุบาลี ! ภิกษุผู้ประสงค์จะรับอธิกรณ์ พึงรับอธิกรณ์ประกอบด้วย
องค์ 51 และว่า ดูก่อนอุบาลี ! ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึง
พิจารณาธรรม 5 อย่างในตนแล้ว โจทผู้อื่น2 ดังนี้ แล้วกล่าวลักษณะ
อธิกรณ์ ธรรมเนียมของโจทก์ ธรรมเนียมของจำเลย กิจที่สงฆ์จะพึงทำ
และธรรมเนียมของภิกษุผู้ว่าความ (ผู้สอบสวน) ทั้งหมด โดยพิสดารไว้
1. วิ. ปริวาร. 8/465. 2. วิ. ปริวาร. 8/469.