เมนู

[อธิบายเรื่องอธิกรณ์มีมูลและไม่มีมูล]


ในคำว่า อมูลเกน ปาราชิเกน นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้:-
ปาราชิกนั้น ไม่มีมูล; เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อมูลกะ. ก็ความที่ปารา-
ชิกนั้นไม่มีมูลนั้น ทรงประสงค์เอาด้วยอำนาจแห่งโจทก์ ไม่ใช่ด้วยอำนาจ
แห่งจำเลย เพราะฉะนั้น เพื่อทรงแสดงเนื้อความนั้น ในบทภาชนะ
ท่านพระอุบาลีจึงกล่าวว่า ที่ชื่อว่าไม่มีมูล คือไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้
รังเกียจ.
ด้วยบทภาชนะว่า อหิฏฺฐํ เป็นต้นนั้น ท่านแสดงอธิบายนี้ไว้ว่า
ปาราชิกที่โจทก์ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้รังเกียจ ในตัวบุคคลผู้เป็นจำเลย
ชื่อว่า ไม่มีมูล เพราะไม่มีมูล กล่าวคือการเห็น การได้ยิน และการ
รังเกียจนี้. ก็จำเลยนั้น จะต้องปาราชิกนั้น หรือไม่ต้องก็ตามที, ข้อที่
จำเลยต้องหรือไม่ต้องนี้ ไม่เป็นประมาณในสิกขาบทนี้.
ในบทว่า อทิฏฺฐํ เป็นต้นนั้น ที่ชื่อว่า ไม่ได้เห็น คือไม่ได้เห็น
ด้วยจักษุประสาท หรือด้วยทิพยจักษุของตน. ชื่อว่า ไม่ได้ยิน คือไม่ได้
ยินใคร ๆ เขาพูดกันเหมือนอย่างนั้น. ที่ชื่อว่า ไม่ได้รังเกียจ คือไม่ได้
รังเกียจด้วยจิต.
ที่ชื่อว่า ได้เห็น คือตนเองหรือคนอื่นได้เห็นด้วยจักษุประสาทหรือ
ด้วยทิพยจักษุ. ที่ชื่อว่า ได้ยิน คือได้ยินมาเหมือนอย่างที่ได้เห็นนั่นเอง.
ที่ชื่อว่า ได้รังเกียจ คือตนเอง หรือคนอื่นรังเกียจ. ในเรื่องได้เห็น
เป็นต้น ตนเองได้เห็นมา จึงชื่อว่า ได้เห็น. แต่ลักษณะทั้งหมดนี้ คือ
คนอื่นได้เห็น ตนเองได้ยิน คนอื่นได้ยิน คนอื่นได้รังเกียจ ตั้งอยู่ใน
ฐานที่ตนได้ยินมาเท่านั้น. ก็เรื่องที่รังเกียจ มี 3 อย่าง คือรังเกียจด้วย