เมนู

แก้ว่า ในการทักท้วงนี้ มีคำที่จะต้องกล่าวเพิ่มบ้างเล็กน้อย, ชั้น
แรกถ้าทรงให้สึกด้วยปฏิญญา, พระเถระจะเป็นผู้กระทำ (ผิด), ถ้าทรง
ให้สึกด้วยไม่ปฏิญญา, พระเถระจะเป็นผู้ไม่ทำ (ผิด) ไม่มีโทษ.

[เรื่องตีความหมายบาลีพระวินัยผิดตกลงกันไม่ได้]


แม้ในกาลแห่งพระเจ้าภาติราช พระเถระสำนักมหาวิหารและ
สำนักอภัยติรีวิหาร ได้มีการวิวาทกัน (ถกเถียงกัน) ในเพราะวาทะนี้แล.
ฝ่ายสำนักอภัยติรีวิหาร อ้างสูตรของตนกล่าวว่า ในวาทะของพวกท่าน
พระเถระเป็นผู้ทำ (ผิด). ฝ่ายสำนักมหาวิหารอ้างสูตรของตนกล่าวว่า ใน
วาทะของพวกท่าน พระเถระเป็นผู้ทำ (ผิด). ปัญหาจึงตกลงกันไม่ได้.
พระราชาทรงทราบ (ข่าวัน้น) แล้วรับสั่งให้พระเถระทั้งหลายประชุมกัน
ทรงสั่งบังคับอำมาตย์เชื้อชาติพราหมณ์นามว่า ทีฆการายนะว่า เธอจงฟัง
ถ้อยคำของพระเถระทั้งหลาย. ได้ยินว่า อำมาตย์เป็นบัณฑิต ฉลาดใน
ภาษาอื่น. อำมาตย์นั้นกล่าวว่า ท่านขอรับ ! ขอพระเถระจงกล่าวสูตร
เถิด. ลำดับนั้น พระเถระสำนักอภัยติรีวิหาร ได้กล่าวสูตรของตนว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าเช่นนั้น พวกเธอจงให้นางภิกษุณีเมตติยาสึกเสีย
ด้วยปฎิญญาของตน. อำมาตย์เรียนว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! ในวาทะของ
พวกท่าน พระเถระเป็นผู้ทำ (ผิด) มีโทษ.
ฝ่ายพระเถระสำนักมหาวิหาร ได้กล่าวสูตรของตนว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ! ถ้าเช่นนั้น พวกเธอจงให้นางภิกษุณีเมตติยาสืกเสีย. อำมาตย์
เรียนว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! ในวาทะของพวกท่าน พระเถระไม่ใช่ผู้ทำ

(ผิด) ไม่มีโทษ. ก็ใน 2 สูตรนี้ สูตรไหนถูกเล่า ? สูตรที่กล่าวภายหลัง
ถูก, เพราะสูตรนี้ พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายวิจารณ์ไว้แล้ว.
ภิกษุตามกำจัดภิกษุด้วยอันติมวัตถุอันไม่มีมูล เป็นสังฆาทิเสส
ตามกำจัด นางภิกษุณี เป็นทุกกฏ. แต่ในกุรุนทีกล่าวว่า เป็นปาจิตตีย์
เพราะมุสาวาท. ในนัยก่อนและนัยหลังนั้น มีการพิจารณาดังต่อไปนี้:-
นัยต้น เป็นเพียงทุกกฏเท่านั้น ถูกก่อน เพราะมีความประสงค์จะตาม
กำจัด. แม้เมื่อมีการกล่าวเท็จ ก็เป็นสังฆาทิเสสแก่ภิกษุ ในเพราะภิกษุ
ด้วยกัน และแม้เมื่อมีการกล่าวเท็จ ก็เป็นปาจิตตีย์ เพราะโอมสวาท
เท่านั้น แก่ภิกษุผู้มีความเห็นว่าบริสุทธิ์ โจทภิกษุผู้ไม่บริสุทธิ์ ด้วย
ความประสงค์จะด่า ไม่ใช่เป็นปาจิตตีย์ เพราะสัมปชานมุสาวาท ฉันใด,
แม้ในอธิการนี้ ก็ฉันนั้น เป็นปาจิตตีย์ เพราะสัมปชานมุสาวาท ไม่ถูก
เพราะมีความประสงค์จะตามกำจัด. เป็นเพียงทุกกฏเท่านั้น ถูกแล้ว. แม้
นัยหลัง เป็นปาจิตตีย์อย่างเดียว ก็ถูก เพราะเป็นมุสาวาท. แต่จาก
หลักฐานทางพระบาลี ไม่มีคำว่า เป็นสังฆาทิเสสแก่ภิกษุ ในเพราะภิกษุ
ด้วยกัน ด้วยความประสงค์จะตามกำจัด, เป็นสังฆาทิเสสในเพราะภิกษุ
ด้วยกัน แก่ภิกษุผู้มีความประสงค์จะด่า เพราะมุสาวาท, แต่เป็นทุกกฏ
แก่ภิกษุผู้มีความประสงค์จะด่า ในเพราะโอมสวาท และเพราะตามกำจัด
นางภิกษุณี, มีคำว่า เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะสัมปชานมุสาวาท; เพราะ
เหตุนั้น เป็นปาจิตตีย์อย่างเดียว จึงถูก. ก็ในวาทะนั้นบัณฑิตควรพิจารณา
ดังต่อไปนี้:-
ถามว่า เมื่อไม่มีความประสงค์จะตามกำจัด (โจท) เป็นปาจิตตีย์,
เมื่อมีความประสงค์จะตามกำจัดนั้น จะพึงเป็นอะไรเล่า ?

แก้ว่า บรรดาปาจิตตีย์และสังฆาทิเสสนั้น เพราะแม้เมื่อสำเร็จเป็น
ปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้พูดเท็จ พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรงปรับปาจิตตีย์ไว้
ต่างหาก ในเพราะการโจทด้วยสังฆาทิเสสไม่มีมูล; เพราะฉะนั้น เมื่อมี
ความประสงค์จะโจท โอกาสแห่งปาจิตตีย์ ในเพราะสัมปชานมุสาวาท
จึงไม่ปรากฎ และไม่อาจที่จะไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้โจทก์; เพราะฉะนั้น
บรรดานัยทั้งสองนี้ นัยต้นแล ปรากฎว่า บริสุทธิ์กว่า.
อนึ่ง นางภิกษุณีโจทนางภิกษุณีด้วยอันติมวัตถุอันหามูลมิได้ เป็น
สังฆาทิเสส, โจทภิกษุ เป็นทุกกฏ. บรรดาสังฆาทิเสสและทุกกฏนั้น
สังฆาทิเสสเป็นวุฎฐานคามี (ออกได้ด้วยการอยู่กรรม) ทุกกฏเป็นเทสนา-
คามี (ออกได้ด้วยกายแสดง) การนาสนะภิกษุณี เพราะสังฆาทิเสสและ
ทุกกฏเหล่านี้ จึงไม่มี. อนึ่ง นางภิกษุณีเมตติยานั้นยืนกล่าวเท็จต่อพระ-
พักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าใดเล่า ด้วยเหตุนั้น นางจึงเป็นปาจิตตีย์ ใน
เพราะสัมปชานมุสาวาท, เพราะปาจิตตีย์แม้นี้นาสนะก็ไม่มี. แต่เพราะ
นางภิกษุณีเมตติยานั้น ตามปกติแล เป็นภิกษุณีเลวทรามทุศีล, และ
เดี๋ยวนี้นางก็กล่าวด้วยความสำคัญว่า เราเองแล เป็นผู้ทุศีล, เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงรับสั่งให้สึกนางภิกษุณีนั้นเสีย เพราะความเป็นผู้ไม่
บริสุทธิ์นั่นแล.
ข้อว่า อถโข เมตฺติยภุมฺมชกา มีความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า พวกเธอจงให้นางภิกษุณีเมตติยาสึกเสียอย่างนี้ และจงสอบสวน
ภิกษุเหล่านี้ แล้วเสด็จลุกจากอาสนะเข้าสู่พระวิหาร. ภิกษุเหล่านั้น เห็น
นางภิกษุณีนั้น ถูกภิกษุเหล่านั้นให้สึกอยู่ ด้วยคำว่า พวกท่านจงให้ผ้า
ขาวแก่ภิกษุณีนี้เดี่ยวนี้ จึงได้ประกาศความผิดของตน เพราะเป็นผู้มี

ความประสงค์จะช่วยนางภิกษุณีนั้นให้พ้นผิด. เพื่อแสดงเนื้อความนี้
พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวคำว่า อถโข เมตฺติยภุมฺมชกา
เป็นอาทิ.

[แก้อรรถสิกขาบทวิภังค์สังฆาทิเสสที่ 8]


สองบทว่า ทุฏฺโฐ โทโส ได้แก่ เป็นผู้ถูกโทสะประทุษร้ายและ
เป็นผู้ประทุษร้าย. จริงอยู่ เมื่อโทสะเกิดขึ้นแล้ว บุคคลย่อมเป็นผู้ชื่อว่า
ถูกโทสะนั้นประทุษร้ายแล้ว คือ ให้ละความเป็นปกติเสีย; เพราะฉะนั้น
ท่านจึงเรียกว่า ทุฏฐะ (ขัดใจ). และผู้มีความขัดใจนั้น ย่อมประทุษร้าย
ผู้อื่น คือทำผู้อื่นให้พินาศ; เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า โทสะ. ด้วย
ประการอย่างนี้ คำว่า ทุฏฺโฐ โทโส นี้ แสดงโดยความต่างแห่งอาการ
ของบุคคลเพียงคนเดียว ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทุฏฺโฐ โทโสติ
ทูสิโต เจว ทูสโก จ.
ในคำว่า ทุฏฺโฐ โทโส นั้น ผู้ศึกษาควรค้นหา
ลักษณะแห่งศัพท์. ก็เพราะว่า บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยความแค้นเคืองนั้น
ถึงการนับว่า ขัดใจ มีโทสะ ย่อมเป็นผู้ตั้งอยู่ในความเป็นผู้โกรธเป็นต้น
ทีเดียว; เพราะเหตุนั้น ในบทภาชนะแห่งสองบทว่า ทุฏฺโฐ โทโส นั้น
ท่านจึงกล่าวคำมีคำว่า กุปิโต เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุปิโต ได้แก่ ถึงภาวะกำเริบ คือภาวะ
ที่เคลื่อนไปจากปกติ.
บทว่า อนตฺตมโน ได้แก่ ผู้ไม่มีใจเป็นของตน คือมีจิตไม่
ตั้งอยู่ในอำนาจของตน. อีกอย่างหนึ่ง ผู้มีใจอันปีติและสุขไม่ซึมซาบ
คือมีจิตตกไปเสียจากปีติและสุข; เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อนัตตมนะ
(ไม่ถูกใจ).