เมนู

แก้ว่า ในการทักท้วงนี้ มีคำที่จะต้องกล่าวเพิ่มบ้างเล็กน้อย, ชั้น
แรกถ้าทรงให้สึกด้วยปฏิญญา, พระเถระจะเป็นผู้กระทำ (ผิด), ถ้าทรง
ให้สึกด้วยไม่ปฏิญญา, พระเถระจะเป็นผู้ไม่ทำ (ผิด) ไม่มีโทษ.

[เรื่องตีความหมายบาลีพระวินัยผิดตกลงกันไม่ได้]


แม้ในกาลแห่งพระเจ้าภาติราช พระเถระสำนักมหาวิหารและ
สำนักอภัยติรีวิหาร ได้มีการวิวาทกัน (ถกเถียงกัน) ในเพราะวาทะนี้แล.
ฝ่ายสำนักอภัยติรีวิหาร อ้างสูตรของตนกล่าวว่า ในวาทะของพวกท่าน
พระเถระเป็นผู้ทำ (ผิด). ฝ่ายสำนักมหาวิหารอ้างสูตรของตนกล่าวว่า ใน
วาทะของพวกท่าน พระเถระเป็นผู้ทำ (ผิด). ปัญหาจึงตกลงกันไม่ได้.
พระราชาทรงทราบ (ข่าวัน้น) แล้วรับสั่งให้พระเถระทั้งหลายประชุมกัน
ทรงสั่งบังคับอำมาตย์เชื้อชาติพราหมณ์นามว่า ทีฆการายนะว่า เธอจงฟัง
ถ้อยคำของพระเถระทั้งหลาย. ได้ยินว่า อำมาตย์เป็นบัณฑิต ฉลาดใน
ภาษาอื่น. อำมาตย์นั้นกล่าวว่า ท่านขอรับ ! ขอพระเถระจงกล่าวสูตร
เถิด. ลำดับนั้น พระเถระสำนักอภัยติรีวิหาร ได้กล่าวสูตรของตนว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าเช่นนั้น พวกเธอจงให้นางภิกษุณีเมตติยาสึกเสีย
ด้วยปฎิญญาของตน. อำมาตย์เรียนว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! ในวาทะของ
พวกท่าน พระเถระเป็นผู้ทำ (ผิด) มีโทษ.
ฝ่ายพระเถระสำนักมหาวิหาร ได้กล่าวสูตรของตนว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ! ถ้าเช่นนั้น พวกเธอจงให้นางภิกษุณีเมตติยาสืกเสีย. อำมาตย์
เรียนว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! ในวาทะของพวกท่าน พระเถระไม่ใช่ผู้ทำ