เมนู

ข้อว่า หีโย โข อาวุโส อมฺหากํ มีความว่า ภิกษุเมตติยะและ
ภุมมชกะ ปรึกษากันตลอดราตรี กล่าวหมายถึงส่วนแห่งวันที่ล่วงแล้วว่า
หีโย (วันวาน).
บทว่า น จิตูตรูปํ ได้แก่ ไม่สมใจนึก. ภิกษุทั้งสองนั้นจำวัด
ไม่หลับ เหมือนอย่างที่ตนเคยจำวัดหลับเท่าที่ตนต้องการในก่อน. มีคำ
อธิบายว่า จำวัดได้นิดหน่อยเท่านั้น.
บทว่า พหารามโกฏฺฐเก ได้แก่ ภายนอกซุ้มประตูแห่งพระเวฬุ-
วันวิหาร.
บทว่า ปตฺตกขนฺธา ได้แก่ มีคอตก คือ นั่งงอกระดูกคอ
(นั่งคอพับ).
บทว่า ปชฺณายนฺตา ได้แก่ ซบเซาอยู่.
คำว่า ยโต นีวาตํ ตโต ปวาตํ มีความว่า ณ ที่ใดอับลม คือ
ไม่มีลมแม้แต่น้อย, ณ ที่นั้นเกิดมีลมพัดแรงขึ้น.
คำว่า อุทกํ มญฺเญ อาทิตฺตํ ได้แก่ เหมือนน้ำถูกต้มให้เดือด.

[พระทัพพมัลลบุตรถูกสอบสวน]


ข้อว่า สรสิ ตฺวํ ทพฺพ เอวรูปํ กตฺต ความว่า ดูก่อนทัพพะ !
เธอผู้ทำกรรมเห็นปานนี้ ยังระลึกได้อยู่หรือ ? อีกอย่างหนึ่ง ความว่า
ดูก่อนทัพพะ ! เธอยังระลึกคำอย่างที่นางภิกษุณีกล่าวหาได้อยู่หรือ ? ก็
ในคำนี้ บัณฑิตพึงประกอบเห็นใจความอย่างนี้ว่า เธอเป็นผู้กระทำกรรม
อย่างที่นางภิกษุณีนี้กล่าวหาหรือ ? แต่ปาฐะของพวกอาจารย์ผู้สวดว่า
ภตฺวา ปรากฏตรงทีเดียว.

ด้วยคำว่า ยถา มํ ภนฺเต ภควา ชานาติ นี้ พระเถระทูลชี้แจง
ว่าอย่างไร ? ทูลชี้แจงว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงเป็นพระสัพพัญญู และข้าพระองค์ก็เป็นพระขีณาสพ, การเสพวัตถุ-
กามไม่มีแก่ข้าพระองค์เลย, พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบข้าพระองค์-
นั้น, ข้าพระองค์จักต้องกล่าวอะไรในการเสพวัตถุกามนั้นเล่า ? พึงทราบ
ข้าพระองค์เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบนั่นแล.
ในคำว่า น โข ทพฺพ ทพฺพา เอวํ นิพฺเพเฐนฺติ นี้ บัณฑิตพึง
เห็นใจความอย่างนี้ว่า ดูก่อนทัพพะ ! ผู้ฉลาด คือบัณฑิต ย่อมไม่กล่าวหา
เหมือนอย่างที่เธอกล่าวแก้คำกล่าวหา เพราะมีผู้อื่นเป็นปัจจัย (เพราะเชื่อ
ผู้อื่น), อนึ่งแล บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมกล่าวแก้คำกล่าวหาด้วยกรรมที่ตน
รู้เองทั้งนั้น.
ด้วยคำว่า สเจ ตยา กตํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า
อย่างไร ? ทรงแสดงว่า เพราะว่า ใคร ๆ ไม่อาจทำบุคคลผู้ไม่ได้ทำ
(ผิด) ให้เป็นผู้ทำ (ผิด) หรือผู้ทำ (ผิด) ให้เป็นผู้ไม่ทำ (ผิด) ด้วย
กำลังคน หรือด้วยกำลังสนับสนุนของพรรคพวกได้; เพราะเหตุนั้น
กรรมใดที่ตนทำเอง หรือมิได้กระทำก็ตาม ควรพูดแต่กรรมนั้นเท่านั้น.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ? พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ทรงทราบอยู่
แต่ไม่ตรัสว่า เรารู้อยู่ เธอเป็นพระขีณาสพ, โทษของเธอไม่มี ภิกษุณี
นี้กล่าวเท็จ.
แก้ว่า เพราะทรงมีความเอ็นดูผู้อื่น. ก็ถ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
พึงตรัสทุก ๆ เรื่องที่พระองค์ทรงทราบ, พระองค์ถูกผู้อื่นซึ่งต้องปาราชิก
แล้วถาม จำต้องตรัสคำว่า เรารู้อยู่, เธอเป็นปาราชิก. แต่นั้น บุคคลนั้น

พึงผูกอาฆาตว่า เมื่อก่อนพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ ทรงทำให้พระทัพพ-
มัลลบุตรบริสุทธิ์ ได้ บัดนี้ทรงทำเราให้เป็นผู้บริสุทธิ์ไม่ได้, ต่อไปนี้
เราจะพูดอะไรแก่ใครได้เล่า ? ในฐานะที่แม้พระศาสดายังทรงถึงความ
ลำเอียงในหมู่สาวก, ความเป็นพระสัพพัญญูของพระศาสดานี้ จักมีแต่ที่
ไหนเล่า ? ดังนี้แล้ว ต้องเป็นผู้เข้าถึงอบาย. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงทราบอยู่ก็ไม่ตรัส เพราะทรงมีความเอ็นดูผู้อื่นนี้. มีคำที่ควร
กล่าวเพิ่มเติมอีกเล็กน้อย พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัส เพราะทรงหลีก
เลี่ยงคำค่อนขอด.
ก็ถ้าว่า พระะผู้มีพระภาคเจ้า พึงตรัสอย่างนี้, จะพึงมีการกล่าว
ค่อนขอดอย่างนี้ว่า ชื่อว่า การออกจากอาบัติของพระทัพพมัลลบุตรหนัก.
แต่ได้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นสักขีพยานจึงออกได้. และพวกปาปภิกษุ
เข้าใจลักษณะแห่งการออกจากอาบัตินี้ อย่างนี้ว่า ถึงในครั้งพุทธกาล
ความบริสุทธิ์ หรือไม่บริสุทธิ์ ย่อมมีได้ด้วยพยาน, พวกเรารู้อยู่, บุคคล
นี้เป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ดังนี้ พึงทำให้ภิกษุ แม้ผู้มีความละอายพินาศแล.
อีกนัยหนึ่ง แม้ในอนาคต พวกภิกษุเมื่อเรื่องวินิจฉัยแล้ว จักให้โจทก์
โจท แล้วให้จำเลยให้การว่า ถ้าท่านทำ จงกล่าวว่า ข้าพเจ้าทำ แล้ว
ถือเอาแต่ปฎิญญาของพวกลัชชีภิกษุ กระทำกรรม; เพราะเหตุนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงตั้งแบบแผนในลักษณะแห่งวินัย จึงไม่ตรัสว่า
เรารู้อยู่ ตรัสว่า ถ้าเธอทำ จงกล่าวว่า ข้าพเจ้าทำ ดังนี้.
ข้อว่า นาภิชานามิ สุปินนฺเตนปิ เมถุนํ ธมฺมํ ปฏิเสวิตา มีความ
ว่า แม้โดยความฝันข้าพระองค์ก็ยังไม่รู้จักเสพเมถุนธรรม มีคำอธิบายว่า

ข้าพระองค์มิได้เสพ. อีกอย่างหนึ่ง มีรูปความที่ท่านกล่าวไว้ว่า ข้า-
พระองค์ไม่รู้จักเมถุนธรรม แม้โดยความฝันว่าเป็นผู้เสพ. แต่ปาฐะของ
พวกอาจารย์ผู้สวดว่า ปฏิเสวิตฺวา ปรากฏตรงทีเดียว.
คำว่า ปเคว ชาคโร มีความว่า ก็ข้าพระองค์ตื่นอยู่ ไม่รู้จักมา
ก่อนทีเดียว.
คำว่า เตนหิ ภิกฺขเว เมตฺตํยํ ภิกฺขุนึ นาเสถ มีคำอธิบายว่า
เพราะคำของพระทัพพมัลลบุตรและภิกษุณีเมตติยานี้ ไม่เชื่อมต่อกัน;
ฉะนั้น พวกเธอจงนาสนะภิกษุณีเมตติยาเสีย. ในคำนั้น นาสนะมี 3 อย่าง
คือ ลิงคนาสนะ 1 สังวาสนาสนะ 1 ทัณฑกัมมนาสนะ 1. บรรดานาสนะ
เหล่านั้น นาสนะนี้ว่า สามเณรผู้ประทุษร้าย (นางภิกษุณี) สงฆ์พึงให้
ฉิบทายเสีย ชื่อว่า ลิงคนาสนะ. พวกภิกษุทำอุกเขปนียกรรม เพราะไม่
เห็น หรือไม่ทำคืนอาบัติก็ดี เพราะไม่สละทิฎฐิลามกเสียก็ดี นี้ ชื่อสัง-
วาสนาสนะ. พวกภิกษุทำทัณฑกรรม (แก่สมณุเทศ) ว่า เจ้าคนเลว เจ้า
จงไปเสีย จงฉิบทายเสีย นี้ ชื่อทัณฑกัมมนาสนะ. แต่ในฐานะนี้ พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาลิงคนาสนะ จึงตรัสว่า พวกเธอจงนาสนะ
ภิกษุณีเมตติยาเสีย ดังนี้.
ด้วยคำว่า อิเม จ ภิกฺขุ อนุยุญฺชถ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
แสดงพระประสงค์ นี้ว่า ภิกษุณีนี้ มิใช่ผู้กระทำตามธรรมดาของตน คง
ถูกพวกภิกษุอื่นยุยงแน่นอน; เพราะเหตุนั้น พวกเธอจงสอบสวน คือ
จงสืบสวนหา จงรู้ตัวภิกษุผู้ยุยงเหล่านี้.
ถามว่า ก็ภิกษุณีเมตติยา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับสั่งให้สึกเสีย
ด้วยปฏิญญา หรือทรงให้สึกด้วยไม่ปฏิญญา.

แก้ว่า ในการทักท้วงนี้ มีคำที่จะต้องกล่าวเพิ่มบ้างเล็กน้อย, ชั้น
แรกถ้าทรงให้สึกด้วยปฏิญญา, พระเถระจะเป็นผู้กระทำ (ผิด), ถ้าทรง
ให้สึกด้วยไม่ปฏิญญา, พระเถระจะเป็นผู้ไม่ทำ (ผิด) ไม่มีโทษ.

[เรื่องตีความหมายบาลีพระวินัยผิดตกลงกันไม่ได้]


แม้ในกาลแห่งพระเจ้าภาติราช พระเถระสำนักมหาวิหารและ
สำนักอภัยติรีวิหาร ได้มีการวิวาทกัน (ถกเถียงกัน) ในเพราะวาทะนี้แล.
ฝ่ายสำนักอภัยติรีวิหาร อ้างสูตรของตนกล่าวว่า ในวาทะของพวกท่าน
พระเถระเป็นผู้ทำ (ผิด). ฝ่ายสำนักมหาวิหารอ้างสูตรของตนกล่าวว่า ใน
วาทะของพวกท่าน พระเถระเป็นผู้ทำ (ผิด). ปัญหาจึงตกลงกันไม่ได้.
พระราชาทรงทราบ (ข่าวัน้น) แล้วรับสั่งให้พระเถระทั้งหลายประชุมกัน
ทรงสั่งบังคับอำมาตย์เชื้อชาติพราหมณ์นามว่า ทีฆการายนะว่า เธอจงฟัง
ถ้อยคำของพระเถระทั้งหลาย. ได้ยินว่า อำมาตย์เป็นบัณฑิต ฉลาดใน
ภาษาอื่น. อำมาตย์นั้นกล่าวว่า ท่านขอรับ ! ขอพระเถระจงกล่าวสูตร
เถิด. ลำดับนั้น พระเถระสำนักอภัยติรีวิหาร ได้กล่าวสูตรของตนว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าเช่นนั้น พวกเธอจงให้นางภิกษุณีเมตติยาสึกเสีย
ด้วยปฎิญญาของตน. อำมาตย์เรียนว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! ในวาทะของ
พวกท่าน พระเถระเป็นผู้ทำ (ผิด) มีโทษ.
ฝ่ายพระเถระสำนักมหาวิหาร ได้กล่าวสูตรของตนว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ! ถ้าเช่นนั้น พวกเธอจงให้นางภิกษุณีเมตติยาสืกเสีย. อำมาตย์
เรียนว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! ในวาทะของพวกท่าน พระเถระไม่ใช่ผู้ทำ