เมนู

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 7


วิหารการสิกขาบทวรรณนา


วิหารการสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าว
ต่อไป:-

[แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องพระฉันนะ]


พึงกราบวินิจฉัย ในวิหารการสิกขาบทนั้น ดังต่อไปนี้:-
บทว่า โกสมฺพิยํ ได้แก่ ใกล้นครที่มีชื่ออย่างนี้.
บทว่า โฆสิตาราเม ได้แก่ ที่วิหาร (วัด) ของท่านโฆสิตเศรษฐี.
ได้ยินว่า วิหาร (วัด) นั้น ท่านเศรษฐีนามว่าโฆสิตให้สร้าง เพราะ-
ฉะนั้น จึงเรียกว่า "วัดโฆสิตาราม."
บทว่า ฉนฺนสฺส ได้แก่ พระฉันนะเคยเป็นมหาดเล็กในเวลาพระ-
พุทธองค์ยังเป็นพระโพธิสัตว์.
ข้อว่า วิหารวตฺถุํ ภนฺเต ชานาติ มีความว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ !
ท่านโปรดตรวจดูสถานที่สร้างวิหารเถิด. ก็ในคำว่า วิหารวตฺถุํ นี้ ที่ชื่อว่า
วิหาร ไม่ใช่วิหารทั้งสิ้น คืออาวาส (ที่อยู่) หลังหนึ่ง. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล
คฤหบดีอุปัฏฐากของท่านพระฉันนะ จึงกล่าวว่า กระผมจักให้สร้างวิหาร
ถวายพระคุณเจ้า.
ในคำว่า เจติยรุกฺขํ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:- ที่ชื่อว่า เจดีย์ เพราะ
อรรถว่า อันปวงชนทำความเคารพ. คำว่า เจติยรุกฺขํ นี้ เป็นชื่อแห่ง
เทวสถานทั้งหลายที่ควรแก่การบูชา ต้นไม้ที่ชาวโลกสมมติว่า เจดีย์ ชื่อว่า
รุกขเจดีย์. ที่ชาวบ้านบูชาแล้ว หรือเป็นที่บูชาของชาวบ้าน; เพราะฉะนั้น

ต้นไม้นั้นจึงชื่อว่า คามปูชิตะ (ที่ชาวบ้านพากันบูชา) ในบทที่เหลือก็มี
นัยเช่นนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ในชนบทและรัฐนี้ ส่วนหนึ่งในรัชสีมาแห่งพระ-
ราชาพระองค์หนึ่ง พึงทราบว่า ชนบท. แว่นแคว้นทั้งสิ้น พึงทราบว่า
รัฐ. จริงอยู่ ในกาลบางครั้ง แม้ชาวแว่นแคว้นทั้งสิ้น ก็ทำการบูชา
ต้นไม้นั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ที่ชาวแว่นแคว้นพากันบูชาแล้ว.
ด้วยบทว่า เอกินฺทฺริยํ นี้ พวกชาวบ้านกล่าวหมายเอากายินทรีย์.
บทว่า ชีวสญฺญิโน คือ มีความสำคัญว่า เป็นสัตว์.
บทว่า มหลฺลกํ มีความว่า ความที่วิหารใหญ่กว่ากุฎีที่ขอเอาเอง
โดยความเป็นที่มีเจ้าของ มีอยู่ แก่วิหารนั้น; เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
มหัลลกะ. อีกอย่างหนึ่ง เพราะใหัสงฆ์แสดงที่ให้แล้วสร้างแม้ให้เกิน
ประมาณก็ควร; ฉะนั้น วิหารนั้น จึงชื่อว่า มหัลลกะ เพราะเป็นของ
ใหญ่กว่าประมาณบ้าง. ซึ่งวิหารใหญ่นั้น. ก็เพราะวิหารนั้น มีความใหญ่
กว่าประมาณนั้นได้ เพราะเป็นของมีเจ้าของนั่นเอง; ฉะนั้น เพื่อแสดง
ใจความนั้น ท่านพระอุบาลีจึงกล่าวบทภาชนะว่า วิหารมีเจ้าของ เรียก
ชื่อว่า วิหารใหญ่.
คำที่เหลือทั้งหมดพร้อมด้วยสมุฏฐานเป็นต้น. ผู้ศึกษาพึงทราบ
โดยนัยดังที่กล่าวแล้วในกุฎีการสิกขาบทนั้นแล. จริงอยู่ ในสิกขาบทนี้
ความแปลกกัน แต่เพียงความเป็นของมีเจ้าของ ความไม่มีสมุฏฐานจาก
การทำ และความไม่มีกำหนดประมาณเท่านั้น และจตุกกะลดลงไป ก็
เพราะไม่มีกำหนดประมาณ ฉะนี้แล.
วิหารการสิกขาบทวรรณนา จบ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 8
เรื่องพระทัพพมัลลบุตร


[538] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ
พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระ-
นครราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระทัพพมัลลบุตรมีอายุ 7 ปี นับแต่เกิด
ได้ทำให้เเจ้งซึ่งพระอรหัต คุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งสาวกจะพึงบรรลุ
ท่านได้บรรลุแล้วโดยลำดับทั้งหมด อนึ่ง ท่านไม่มีกรณียกิจอะไรที่ยิ่งขึ้นไป
หรือกรณียกิจที่ท่านทำเสร็จแล้ว ก็ไม่ต้องกลับสั่งสมอีก.
[539] ครั้งนั้น ท่านพระทัพพมัลลบุตร ไปในที่สงัด หลีกเร้น
อยู่ ได้มีความปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า เรามีอายุ 7 ปี นับแต่
เกิด ได้ทำให้เเจ้งซึ่งพระอรหัต คุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งสาวกจะ
พึงบรรลุ เราได้บรรลุแล้วโดยลำดับทุกอย่าง อนึ่งเล่า เราไม่มีกรณียกิจ
อะไรที่ยิ่งขึ้นไป หรือกรณียกิจที่ทำเสร็จแล้วก็ไม่ต้องกลับสั่งสมอีก เรา
ควรทำการช่วยเหลืออะไรหนอแก่สงฆ์ ลำดับนั้น ท่านพระทัพพมัลลบุตร
ได้คิดตกลงใจว่า ผิฉะนั้น เราควรแต่งตั้งเสนาสนะ และแจกอาหารแก่
สงฆ์ ครั้นท่านออกจากที่เร้นในเวลาเย็นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
เจ้าถึงที่ประทับ ครั้นถวายบังคม นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้กราบ
ทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าไปในที่สงัด หลีกเร้นอยู่ ณ ตำบล
นี้ ได้มีความปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ข้าพระพุทธเจ้ามีอายุ 7 ปี
นับแต่เกิด ได้ทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัตแล้ว คุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง
ซึ่งสาวกจะพึงบรรลุ ข้าพระพุทธเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับทุกอย่าง อนึ่ง
เล่า ข้าพระพุทธเจ้าไม่มีกรณียกิจอะไรที่ยิ่งขึ้นไป หรือกรณียกิจที่ข้าพระ-