เมนู

คำสั่งสร้างวิหารให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ ไม่มีผู้จองไว้ มี
ชานรอบ ไม่ต้องอาบัติ.

สร้างค้าง สร้างต่อ


[536] วิหารที่ตนสร้างค้างไว้ ภิกษุสร้างต่อให้สำเร็จด้วยตนเอง
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
วิหารที่คนสร้างค้างไว้ ภิกษุให้คนอื่นสร้างต่อให้สำเร็จ คือ
อาบัติสังฆาทิเสส
วิหารที่คนอื่นสร้างค้างไว้ ภิกษุสร้างต่อให้สำเร็จด้วยตนเอง ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส
วิหารที่คนอื่นสร้างค้างไว้ ภิกษุให้คนอื่นสร้างต่อให้สำเร็จ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส.

อนาปัตติวาร


[537] ภิกษุสร้างถ้ำ 1 ภิกษุสร้างคูหา 1 ภิกษุสร้างกุฎีหญ้า 1
ภิกษุสร้างวิหารเพื่อภิกษุอื่น 1 เว้นอาคารเป็นที่อยู่เสีย ภิกษุสร้างนอก
จากนั้น 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 7 จบ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 7


วิหารการสิกขาบทวรรณนา


วิหารการสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าว
ต่อไป:-

[แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องพระฉันนะ]


พึงกราบวินิจฉัย ในวิหารการสิกขาบทนั้น ดังต่อไปนี้:-
บทว่า โกสมฺพิยํ ได้แก่ ใกล้นครที่มีชื่ออย่างนี้.
บทว่า โฆสิตาราเม ได้แก่ ที่วิหาร (วัด) ของท่านโฆสิตเศรษฐี.
ได้ยินว่า วิหาร (วัด) นั้น ท่านเศรษฐีนามว่าโฆสิตให้สร้าง เพราะ-
ฉะนั้น จึงเรียกว่า "วัดโฆสิตาราม."
บทว่า ฉนฺนสฺส ได้แก่ พระฉันนะเคยเป็นมหาดเล็กในเวลาพระ-
พุทธองค์ยังเป็นพระโพธิสัตว์.
ข้อว่า วิหารวตฺถุํ ภนฺเต ชานาติ มีความว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ !
ท่านโปรดตรวจดูสถานที่สร้างวิหารเถิด. ก็ในคำว่า วิหารวตฺถุํ นี้ ที่ชื่อว่า
วิหาร ไม่ใช่วิหารทั้งสิ้น คืออาวาส (ที่อยู่) หลังหนึ่ง. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล
คฤหบดีอุปัฏฐากของท่านพระฉันนะ จึงกล่าวว่า กระผมจักให้สร้างวิหาร
ถวายพระคุณเจ้า.
ในคำว่า เจติยรุกฺขํ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:- ที่ชื่อว่า เจดีย์ เพราะ
อรรถว่า อันปวงชนทำความเคารพ. คำว่า เจติยรุกฺขํ นี้ เป็นชื่อแห่ง
เทวสถานทั้งหลายที่ควรแก่การบูชา ต้นไม้ที่ชาวโลกสมมติว่า เจดีย์ ชื่อว่า
รุกขเจดีย์. ที่ชาวบ้านบูชาแล้ว หรือเป็นที่บูชาของชาวบ้าน; เพราะฉะนั้น