เมนู

เข้าในกุฎีที่คนมีความประสงค์จะให้ถึงความเป็นของสร้างแล้วเสร็จด้วยดิน-
เหนียวจำนวนมาก หรือด้วยดินเหนียวผสมแกลบ ชื่อว่าให้สำเร็จลง.
สองบทว่า ปเรหิ ปริโยสาเปติ มีความว่า ใช้คนเหล่าอื่นทําให้
สำเร็จ เพื่อประโยชน์แก่ตน
ในคำนี้ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ว่า ก็กุฎีอันตนเอง หรืออันคน
เหล่าอื่น หรือว่าทั้งสองฝ่าย ทำค้างไว้ก็ตามที, ก็แล ภิกษุยังกุฎีนั้นให้
สำเร็จด้วยตนเองก็ดี ใช้ให้คนอื่นทำให้สำเร็จก็ดี ใช้คนที่รวมเป็นคู่ คือ
ตนเองและคนเหล่าอื่นสร้างให้สำเร็จก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ตน เป็นสังฆา-
ทิเสสทั้งนั้น.
แต่ในกุรุนที ท่านกล่าวว่า ภิกษุ 2-3 รูป รวมกันทำกล่าวว่า
พวกเราจักอยู่, ยังรักษาอยู่ก่อน, ยังไม่เป็นอาบัติ เพราะยังไม่แจกกัน,
แจกกันว่า ที่นี่ของท่าน แล้วช่วยกันทำ, เป็นอาบัติ, สามเณรกับภิกษุ
ร่วมกันทำ, ยังรักษาอยู่ตลอดเวลาที่ยังไม่ได้แบ่งกัน, แจกกันโดยนัยก่อน
แล้วช่วยกันทำ เป็นอาบัติแก่ภิกษุ ดังนี้.

[อนาปัตติวารวรรณนา]


ในคำว่า อนาปตฺติ เลเณ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้:- ไม่เป็นอาบัติ
แก่ภิกษุผู้กระทำถ้ำแม้ให้ใหญ่ เพราะการฉาบในถ้ำนี้ไม่เชื่อมต่อกัน.
สำหรับภิกษุผู้กระทำแม้คูหา คือ คูหาก่ออิฐก็ดี คูหาศิลาก็ดี คูหาไม้ก็ดี
คูหาดินก็ดี แม้ให้ใหญ่ก็ไม่เป็นอาบัติ.
บทว่า ติณกุฎีกาโย มีความว่า ปราสาทแม้มีพื้น 7 ชั้น แต่
หลังคามุงด้วยหญ้าและใบไม้ ท่านก็เรียกว่า กุฎีหญ้า. แต่ในอรรถกถา