เมนู

บทว่า อติยาจโกสิ ได้แก่ เป็นผู้ขอจัดเหลือเกิน. มีคำอธิบายว่า
ท่านเป็นคนขอซ้ำ ๆ ซาก ๆ.
บทว่า สุสู มีความว่า คนหนุ่ม คือ ผู้สมบูรณ์ด้วยเรี่ยวแรง
ได้แก่บุรุษที่ยังอยู่ในวัยหนุ่ม.
ศิลาดำ ท่านเรียกว่า หินลับ. ดาบที่เขาลับแล้วบนหินลับนั้น
ท่านเรียกว่า สักขรโธตะ. ดามที่ลับดีแล้วบนหินลับ มีอยู่ในมือของ
บุรุษนั้น; เพราะเหตุนั้น บุรุษนั้น จึงชื่อว่า ผู้ถือดาบซึ่งลับดีแล้ว
บนหินลัน, อธิบายว่า มีมือถือดาบซึ่งขัดและลับดีแล้วบนหิน. ท่าน
วอนขอแก้วกะเรา ทำให้เราหวาดเสียว เหมือนบุรุษมีดาบในมือนั้น
ทำให้คนอื่นหวาดเสียวฉะนั้น.
ข้อว่า เสลํ มํ ยาจมาโน มีความว่า วอนขออยู่ซึ่งแก้วมณี.
ข้อว่า น ตํ ยาเจ มีความว่า ไม่ควรขอของนั้น.
ถามว่า ของสิ่งไหน ?
ตอบว่า ของที่ตนรู้ว่า เป็นที่รักของเขา.
ข้อว่า ยสฺส ปิยํ ชิคึเส มีความว่า คนพึงรู้ว่า สิ่งใดเป็นที่รัก
ของสัตว์นั้น (ไม่ควรขอของนั้น ).
ข้อว่า กิมงฺคํ ปน นนุสฺสภูตานํ มีความว่า ในคำว่า
(การอ้อนวอนขอนั้น) ไม่เป็นที่พอใจของเหล่าสัตว์ที่เป็นมนุษย์ นี้ จะพึง
กล่าวทำไมเล่า ?

[แก้อรรถศัพท์ในเรื่องนกฝูงใหญ่เป็นต้น]


หลายบทว่า สกุณสงฺฆสฺส สทฺเทน อุพฺพาฬฺโห มีความว่า
ได้ยินว่า ฝูงนกนั้น ทำเสียงระเบ็งเซ็งแซ่ติดต่อกันไปจนตลอดปฐมยาม