เมนู

หรือสมควรหนอ ดังนี้ ชื่อว่า ปริกถา. ภิกษุถามว่า อุบาสก ! พวก
ท่านอยู่ที่ไหน ? พวกอุบาสกตอบว่า ที่ปราสาท ขอรับ ! พูดต่อไปว่า
ก็ปราสาทไม่ควรแก่ภิกษุทั้งหลายหรือ อุบาสก ! คำพูดมีอาทิอย่างนี้
ชื่อว่า โอภาส. ก็การกระทำมีอาทิอย่างนี้ คือภิกษุเห็นพวกชาวบ้านแล้ว
ขึงเชือก ให้ตอกหลัก เมื่อพวกชาวบ้านถามว่า นี้ให้ทำอะไรกัน ขอรับ ?
ตอบว่า พวกอาตมาจะสร้างที่อยู่อาศัยที่นี้ ชื่อว่า นิมิตตกรรม. ส่วน
ในคิลานปัจจัย แม้วิญญติก็ควร จะป่วยกล่าวไปไยถึงปริกถาเป็นต้นเล่า.
คำว่า มนุสฺสา อุปทฺทุตา ยาจนาย อุปทฺทุตา วิญฺญตฺติยา
มีความว่า พวกชาวบ้านถูกบีบคั้นด้วยการขอร้อง และด้วยการออกปาก
ขอนั้นของภิกษุเหล่านั้น.
บทว่า อุพฺภิชฺชนฺติปิ มีความว่า ย่อมได้รับความหวาดสะดุ้ง คือ
ไหว หวั่นไปว่า จักให้นำอะไรไปให้หนอ ?
บทว่า อุตฺตสนฺติปิ มีความว่า พบภิกษุเข้า ก็พลันสะดุ้งชะงัก
ไปเหมือนพบงูฉะนั้น.
บทว่า ปลายนฺติปิ มีความว่า ย่อมหนีไปเสียแต่ไกล โดยทางใด
ทางหนึ่ง.
สองบทว่า อญฺเญนปิ คจฺฉนฺติ มีความว่า ละทางที่ภิกษุเดินไป
เสีย แล้วกลับเดินมุ่งไปทางซ้าย หรือทางขวา. ปิดประตูเสียบ้างก็มี.

[แก้อรรถศัพพ์ในเรี่องมณีกัณฐนาคราช]


สองบทว่า ภูตปุพฺพํ ภิกฺขเว เป็นต้น มีความว่า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ครั้นทรงติเตียนภิกษุเหล่านั้นด้วยประการฉะนี้ และตรัสธรรมี-