เมนู

จักถึงความสำเร็จด้วยเครื่องอุปกรณ์เพียงเท่านี้ หรือขยายกว้างยาวไม่มี
ประมาณ อธิบายว่า ใหญ่ไม่มีประมาณ.
ภิกษุเหล่านี้ มีการขอร้องเท่านั้นมาก การงานอื่น มีน้อย
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเป็นมากไปด้วยการขอร้อง. พวกภิกษุ
เหล่านั้นเป็นผู้มากด้วยการขอ ก็พึงทราบอย่างนี้. แต่โดยใจความใน
สองบทว่า ยาจนพหุลา วิญฺญตฺติพหุลา นี้ ไม่มีเหตุแตกต่างกัน. คำนั้น
เป็นชื่อรองพวกภิกษุผู้วอนขอหลายครั้งว่า ท่านจงให้คน. จงให้หัตถ-
กรรมที่คนต้องทำ (แรงงาน). บรรดาคนและหัตถกรรมนั้น จะขอคน
โดยความขาดมูลไม่ควร. จะขอว่า พวกท่านจงให้คนเพื่อประโยชน์แก่
การร่วมมือ เพื่อประโยชน์แก่การทำงาน ควรอยู่. หัตถกรรมที่คนพึง
กระทำท่านเรียกว่า แรงงาน, จะขอแรงงาน ควรอยู่.

[วิญญัติกถาว่าด้วยการออกปากขอ]


ขึ้นชื่อว่าหัตถกรรมมิใช่เป็นวัตถุบางอย่าง, เพราะเหตุนั้น หัตถ-
กรรมนั้น เว้นการงานส่วนตัวของพวกพรานเนื้อและชาวประมงเป็นต้น
เสีย ที่เหลือเป็นกัปปิยะทั้งหมด. เมื่อเขาถามว่า ท่านมาทำไมขอรับ ?
มีการงานที่ใครจะต้องทำหรือ ? หรือว่า ไม่ถาม จะขอ ก็ควร. ไม่มี
โทษ เพราะการขอเป็นปัจจัย. เพราะเหตุนั้น พวกพรานเนื้อเป็นต้น ภิกษุ
ไม่ควรขอกิจการส่วนตัวเขา. ทั้งไม่ได้กำหนดให้แน่นอนลงไป ไม่ควร
ขอว่า พวกท่านจงให้หัตถกรรม. เพราะพวกพรานเนื้อเป็นต้นนั้น ถูก
ภิกษุขออย่างนั้นแล้ว จะต้องรับคำว่า ได้ ขอรับ ! แล้วนิมนต์ภิกษุให้
กลับไป พึงฆ่าเนื้อมาถวายได้ แต่ควรขอกำหนดลงไปว่า ในวิหาร
มีกิจการบางอย่างจำต้องทำ, พวกท่านจงให้หัตถกรรมในวิหารนั้น. การ

ที่ภิกษุจะขอหัตถกรรมบางอย่างกะชาวนา หรือคนอื่นแม้ผู้ขวนขวายใน
การงานของตน ซึ่งถือเอาเครื่องอุปกรณ์ มีผาลและไถเป็นต้น กำลัง
เดินไปเพื่อไถนาก็ดี เพื่อหว่านก็ดี เพื่อเกี่ยวก็ดี สมควรแท้.
ส่วนผู้ใด เป็นคนกินเดน หรือเป็นคนว่างงานอื่นบางคน ผู้คุย
แต่เรื่องไร้ประโยชน์ หรือเอาแต่หลับนอนอยู่, แม้ไม่ขอร้องคนเห็นปานนี้
จะกล่าวว่า เฮ้ย ! เองจงมาทำการงานสิ่งนี้ หรือสิ่งนี้ แล้วให้กระทำ
การงานตามที่ต้องการ ควรอยู่. แต่เพื่อแสดงว่า หัตถกรรมเป็นกัปปิยะ
ทุกอย่าง อาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวนัยนี้ไว้.
ก็ ถ้าว่า ภิกษุประสงค์จะให้สร้างปราสาท, พึงไปยังบ้านแห่ง
พวกช่างสลักหิน เพื่อต้องการเสา แล้วกล่าวว่า อุบาสก ! การได้
หัตถกรรม ควรอยู่. เมื่อเขาถามว่า ควรทำอย่างไร ขอรับ ? พึงบอก
ว่า พึงหามเสาหินไปให้. ถ้าพวกเขาหามไปถวาย หรือถวายเสาของตน
ที่เข็นมาเก็บไว้แล้ว ควรอยู่. แม้ถ้าพวกเขากล่าวว่า พวกผมไม่มีเวลา
จะทำหัตถกรรม ขอรับ ! ขอให้ท่านให้คนอื่นขนไปเถิด, พวกผมจักให้
ค่าจ้างแก่เขาเอง ดังนี้, จะใช้ให้คนอื่นขนไปแล้วบอกว่า พวกท่านจง
ให้ค่าจ้างแก่พวกคนขนหินเถิด ดังนี้ ก็ควร.
โดยอุบายเช่นเดียวกันนี้ การที่ภิกษุจะไปยังสำนักพวกคนผู้ทำการ
ช่างศิลป์นั้น ๆ เพื่อประสงค์ทุก ๆ สิ่งที่ต้องการ คือ ไปยังสำนักช่างไม้
เพื่อต้องการไม้สร้างปราสาท ไปยังสำนักช่างอิฐเพื่อต้องการอิฐ ไปยัง
สำนักช่างมุงหลังคาเรือน เพื่อต้องการมุงหลังคา ไปยังสำนักช่างเขียน
เพื่อต้องการจิตรกรรม แล้วขอหัตถกรรม สมควรอยู่. และจะรับเอาของ
แม้ที่ตนได้ ด้วยอำนาจการขอหัตถกรรมก็ดี ด้วยการเพิ่มให้ค่าจ้างและ

เบี้ยเลี้ยง โดยการขาดมูลก็ดี สมควรทุกอย่าง และเมื่อจะนำของมาจากป่า
ควรให้นำของทั้งหมดที่ใคร ๆ ไม่ได้คุ้มครอง (ไม่หวงแหน) มา.
อนึ่ง มิใช่แต่ประสงค์จะสร้างปราสาทอย่างเดียว แม้ประสงค์จะ
ให้ทำเตียงตั่งบาตร ธมกรกกรองน้ำ และจีวรเป็นต้น ก็พึงให้นำมา,
ได้ไม้ โลหะ และด้ายเป็นต้นแล้ว เข้าไปหาพวกช่างศิลป์นั้น ๆ พึง
ขอหัตถกรรมโดยนัยดังกล่าวนั่นแล. และสิ่งของแม้ที่ตนได้มาด้วยอำนาจ
แห่งการขอหัตถกรรมก็ดี ด้วยการเพิ่มให้ค่าจ้างและเบี้ยเลี้ยงโดยการขาด
มูลก็ดี พึงรับเอาทั้งหมด.
ก็ ถ้าพวกคนงานไม่ปรารถนาจะทำ, เกี่ยงเอาค่าจ้างและเบี้ยเลี้ยง,
ของเป็นอกัปปิยะมีเหรียญกษาปณ์เป็นต้น ไม่ควรให้. จะแสวงหา
ข้าวสารเป็นต้น ด้วยภิกขาจารวัตรให้ ควรอยู่.
ภิกษุให้ช่างบาตรทำบาตรด้วยอำนาจแห่งหัตถกรรมแล้ว ให้ระบม
ทำนองเดียวกันนั้นแล้ว เข้าไปยังภายในบ้าน เพื่อต้องการน้ำมันชโลม
บาตรที่ระบมใหม่ เมื่อชาวบ้านเข้าใจว่า มาเพื่อภิกษา แล้วนำข้าวต้ม
หรือข้าวสวยมา (ถวาย) พึงเอามือปิดบาตร. ถ้าอุบาสิกาถามว่า ทำไม
เจ้าค่ะ ! ภิกษุพึงบอกว่า บาตรระบมใหม่ ต้องการน้ำมันสำหรับทา.
ถ้าอุบาสิกานั้นกล่าวว่า โปรดให้บาตรเถิด เจ้าค่ะ ! แล้วรับบาตรไปทา
น้ำมัน บรรจุข้าวต้ม หรือข้าวสวยให้เต็มแล้วถวาย, ไม่ชื่อว่า เป็นวิญญัติ
จะรับควรอยู่ฉะนี้แล.
พวกภิกษุเที่ยวไปบิณฑบาตแต่เช้ามืด ไปถึงหอฉันไม่เห็นที่นั่ง
ยืนคอยอยู่. ถ้าที่หอฉันนั้น พวกอุบาสิกาเห็นพวกภิกษุยืนอยู่ ช่วยกัน
ให้นำที่นั่งมาเอง. พวกภิกษุผู้นั่งแล้ว เมื่อจะไป พึงบอกลาก่อนแล้ว

จึงไป. เมื่อพวกภิกษุไม่บอกลาก่อนแล้วไป ของหาย ไม่เป็นสินใช้.
แต่การบอกลาแล้วไป เป็นธรรมเนียม.
ถ้าอาสนะเป็นของที่ชาวบ้านซึ่งภิกษุทั้งหลายสั่งว่า พวกท่านจง
นำอาสนะมา จึงนำมาให้; ภิกษุทั้งหลายต้องบอกลาแล้วจึงไป. เมื่อ
พวกภิกษุไปไม่บอกลา เป็นการเสียธรรมเนียม และของหาย เป็นสินใช้
ด้วย; แม้ในพรมสำหรับปูลาด ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน .
แมลงหวี่มีชุมมาก พึงกล่าวว่า จงเอาพัดปัดแมลงหวี่. พวก
ชาวบ้านนำกิ่งสะเดาเป็นต้นมาให้ พึงให้ทำกัปปิยะก่อน แล้วจึงรับ.
ภาชนะน้ำที่หอฉันว่างเปล่า ไม่ควรกล่าวว่า จงนำธมกรกมา. เพราะ
เมื่อหย่อนธมกรกลงไปในภาชนะว่างเปล่า จะพึงทำภาชนะแตก. แต่
จะไปยังแม่น้ำ หรือบึง แล้วกล่าวว่า จงนำน้ำมา ควรอยู่ จะกล่าวว่า
จงนำมาจากเรือน ก็ไม่ควรเหมือนกัน. อยู่บริโภคน้ำที่เขานำมาให้.
ภิกษุทั้งหลายผู้ทำภัตกิจที่หอฉัน หรือเสนาสนะป่าก็ดี ใบไม้หรือ
ผลไม้ที่ควรกินเป็นกับแกล้มอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่มีคนหวงห้ามเกิดใน
ที่นั้น ถ้าพวกเธอจะให้คนทำงานบางอย่างนำมา ควรจะให้นำมาด้วย
อำนาจแห่งหัตถกรรมแล้วฉัน, แต่ไม่ควรใช้พวกภิกษุ หรือสามเณรผู้เป็น
อลัชชีให้ทำหัตถกรรม, ในเรื่องปุริสัตถกร (แรงงานคน) มีนัยเท่านี้ก่อน.
แต่การที่ภิกษุจะให้นำโคมาจากสถานที่แห่งคนผู้มีใช่ญาติ และมิใช่
ปวารณา ย่อมไม่ควร. เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้ให้นำมา. จะขอโดยขาด
มูลค่าแม้จากสถานที่แห่งญาติและคนปวารณา ก็ไม่ควร. จะขอโดยนัย
ของขอยืม ควรทุกแห่ง. และพึงรักษาบำรุงโคที่ให้นำมาแล้วอย่างนี้
*อตฺถโยชนา 1/454 มจฺฉิกาติ มกฺขากา. มกฺขิกาติปิ อตฺถิ.

เสร็จแล้วพึงมอบให้เจ้าของรับมันคืนไป. ถ้าเท้าหรือเขาของมันแตกหัก
หรือเสียไป, ถ้าเจ้าของยอมรับมันคืนไป, การยินยอมรับนั่นอย่างนั้นเป็น
การดี, ถ้าเจ้าของไม่ยอมรับ. เป็นสินใช้. ถ้าหากเจ้าของกล่าวว่า พวก
ผมถวายท่านเลย ไม่ควรรับ. แต่เมื่อเจ้าของกล่าวว่า พวกผมถวายวัด
พึงกล่าวว่า พวกท่านจงบอกแก่บุคคลผู้ทำการวัด เพื่อประโยชน์แก่การ
เลี้ยงดูมัน. จะกล่าวกะพวกคนที่มิใช่ญาติ และไม่ได้ปวารณาว่า พวก
ท่านจงถวายเกวียน ดังนี้ก็ดี ไม่ควร. ย่อมเป็นวิญญัติแท้ คือต้อง
อาบัติทุกกฏ. แต่ในฐานแห่งญาติและคนปวารณา ควรอยู่. ของขอยืม
ก็ควร. ทำการงานเสร็จแล้วพึงคืนให้. ถ้ากงเป็นต้นแตกไป พึงกระทำ
ให้เหมือนเดิม แล้วให้คืน. เมื่อเสียหาย เป็นสินใช้. เมื่อเจ้าของกล่าวว่า
พวกผมถวายท่านเลย ธรรมดาว่าเครื่องไม้ควรจะรับไว้. ในมีด ขวาน
ผึ่ง จอบ และสิ่วก็ดี ในพฤกษชาติ มีเถาวัลย์เป็นต้นก็ดี ที่เจ้าของ
หวงแหน ก็มีนัยเหมือนกันนี้. ก็ในพวกพฤกษชาติมีเถาวัลย์เป็นต้น ที่
พอเป็นครุภัณฑ์ได้เท่านั้น จึงเป็นวิญญัติ ต่ำกว่านั้นหาเป็นไม่.
แต่ภิกษุจะให้นำเอาของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ไม่มีคนหวงห้ามมา ควรอยู่.
เพราะว่า ในที่มีคนรักษาคุ้มครองเท่านั้น ท่านเรียกว่า วิญญัติ. วิญญัติ
นั้น ย่อมไม่ควรในปัจจัยทั้งสอง (คือ จีวรและบิณฑบาต) โดยประการ
ทุกอย่าง. แต่ในเสนาสนปัจจัย เพียงแต่ออกปากขอว่า ท่านจงนำมา
จงให้ เท่านั้น ไม่ควร. ปริกถา โอภาส และนิมิตตกรรม ควร.
บรรดาปริกถา โอภาส และนิมิตตกรรมนั้น คำพูดของภิกษุ
ผู้ต้องการโรงอุโบสถ หอฉัน หรือเสนาสนะอะไร ๆ อื่น โดยนัยเป็นต้น ว่า
การสร้างเสนาสนะเห็นปานนี้ ในโอกาสนี้ ควรหนอ หรือว่าชอบหนอ

หรือสมควรหนอ ดังนี้ ชื่อว่า ปริกถา. ภิกษุถามว่า อุบาสก ! พวก
ท่านอยู่ที่ไหน ? พวกอุบาสกตอบว่า ที่ปราสาท ขอรับ ! พูดต่อไปว่า
ก็ปราสาทไม่ควรแก่ภิกษุทั้งหลายหรือ อุบาสก ! คำพูดมีอาทิอย่างนี้
ชื่อว่า โอภาส. ก็การกระทำมีอาทิอย่างนี้ คือภิกษุเห็นพวกชาวบ้านแล้ว
ขึงเชือก ให้ตอกหลัก เมื่อพวกชาวบ้านถามว่า นี้ให้ทำอะไรกัน ขอรับ ?
ตอบว่า พวกอาตมาจะสร้างที่อยู่อาศัยที่นี้ ชื่อว่า นิมิตตกรรม. ส่วน
ในคิลานปัจจัย แม้วิญญติก็ควร จะป่วยกล่าวไปไยถึงปริกถาเป็นต้นเล่า.
คำว่า มนุสฺสา อุปทฺทุตา ยาจนาย อุปทฺทุตา วิญฺญตฺติยา
มีความว่า พวกชาวบ้านถูกบีบคั้นด้วยการขอร้อง และด้วยการออกปาก
ขอนั้นของภิกษุเหล่านั้น.
บทว่า อุพฺภิชฺชนฺติปิ มีความว่า ย่อมได้รับความหวาดสะดุ้ง คือ
ไหว หวั่นไปว่า จักให้นำอะไรไปให้หนอ ?
บทว่า อุตฺตสนฺติปิ มีความว่า พบภิกษุเข้า ก็พลันสะดุ้งชะงัก
ไปเหมือนพบงูฉะนั้น.
บทว่า ปลายนฺติปิ มีความว่า ย่อมหนีไปเสียแต่ไกล โดยทางใด
ทางหนึ่ง.
สองบทว่า อญฺเญนปิ คจฺฉนฺติ มีความว่า ละทางที่ภิกษุเดินไป
เสีย แล้วกลับเดินมุ่งไปทางซ้าย หรือทางขวา. ปิดประตูเสียบ้างก็มี.

[แก้อรรถศัพพ์ในเรี่องมณีกัณฐนาคราช]


สองบทว่า ภูตปุพฺพํ ภิกฺขเว เป็นต้น มีความว่า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ครั้นทรงติเตียนภิกษุเหล่านั้นด้วยประการฉะนี้ และตรัสธรรมี-