เมนู

นั้นแก่ภิกษุรูปอื่น หรือพึงรื้อเสียแล้วสร้างใหม่ ถ้าไม่ให้แก่ภิกษุรูปอื่น
หรือไม่รื้อเสียแล้วสร้างใหม่ ต้องอาบัติทุกกฏ 1 ตัว
ภิกษุสั่งว่า จงช่วยกันสร้างกุฎีให้แก่ข้าพเจ้า แล้วหลีกไปเสีย
ผู้รับคำสั่งสร้างกุฎีให้แก่เธอ ซึ่งมีพื้นที่อันสงฆ์แสดงให้ เท่าประมาณ
ไม่มีผู้จองไว้ มีชานรอบ ไม่ต้องอาบัติ.

สร้างค้าง สร้างต่อ


[519] กุฎีที่ตนสร้างค้างไว้ ภิกษุสร้างต่อให้สำเร็จด้วยตนเอง
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
กุฎีที่ตนสร้างค้างไว้ ภิกษุให้คนอื่นสร้างต่อให้สำเร็จ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
กุฎีที่คนอื่นสร้างค้างไว้ ภิกษุสร้างต่อให้สำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
กุฎีที่คนอื่นสร้างค้างไว้ ภิกษุให้คนอื่นสร้างต่อให้สำเร็จ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส.

อนาปัตติวาร


[520] ภิกษุสร้างถ้ำ 1 ภิกษุสร้างดูหา 1 ภิกษุสร้างกุฎีหญ้า 1
ภิกษุสร้างกุฎีเพื่อภิกษุอื่น 1 เว้นอาคารอันเป็นที่อยู่เสีย ภิกษุสร้างนอก
จากนั้น 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 6 จบ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 6


กุฏิการสิกขาบทวรรณนา


กุฎิการสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าว
ต่อไป. ในกุฎิการสิกขาบทนั้น พึงทราบวินิจฉัยดังนี้:-
[แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องภิกษุชาวแคว้นอาฬวี]
บทว่า อาฬวกา มีความว่า พวกเด็กหนุ่มเกิดในแคว้นอาฬวี
ชื่อว่า อาฬวกา. เด็กหนุ่มเหล่านั้น แม้ในเวลาบวชแล้ว ก็ปรากฏ
ชื่อว่า อาฬวกา เหมือนกัน. ท่านกล่าวคำว่า อาฬวกา ภิกขุ หมาย
เอาภิกษุชาวแคว้นอาฬวีเหล่านั้น.
บทว่า สญฺญาจิกาโย ได้แก่ มีเครื่องอุปกรณ์อันตนขอเขาเอา
มาเอง.
บทว่า การาเปนฺติ ได้แก่ กระทำเองบ้าง ใช้ให้คนอื่นทำบ้าง.
ได้ยินว่า พวกภิกษุเหล่านั้น ทอดทิ้งธุระทั้งสอง คือ วิปัสสนาธุระและ
คันถธุระ ยกนวกรรมเท่านั้นขึ้นเป็นธุระสำคัญ.
บทว่า อสฺสามิกาโย ได้แก่ ไม่มีผู้เป็นใหญ่, อธิบายว่า เว้น
จากผู้สร้างถวาย.
บทว่า อตฺตุทฺเทสิกาโย ได้แก่ เฉพาะตนเอง, อธิบายว่า อัน
ภิกษุปรารภเพื่อประโยชน์แก่ตน.
บทว่า อปฺปมาณิกาโย ได้แก่ ไม่มีประมาณกำหนด*ไว้ว่าอย่างนี้ว่า
* ฎีการวิมติและสารัตถทีปนี้ เป็น อปฺปริจฺฉินฺนปฺปมาณาโย แปลว่า ไม่ได้กำหนด
ประมาณไว้, หรือไม่มีกำหนดและไม่มีประมาณ.