เมนู

ภิกษุต้องการขน ดังนี้ ได้หลีกไปจากไพรสณฑ์นั้น ได้หลีกไปอย่างนั้น
เที่ยว ไม่กลับมาอีก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าการวิงวอน การขอ จักไม่ได้เป็น
ที่พึงใจของพวกสัตว์ดิรัจฉานเหล่านั้นแล ก็จะป่วยกล่าวไปไยเล่าถึง
หมู่สัตว์ที่เกิดมาเป็นมนุษย์.

เรื่องรัฐบาลกุลบุตร


[499] ดูก่อนภิกษุหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว บิดาของรัฐบาล
กุลบุตร ได้กล่าวถามรัฐบาลกุลบุตรด้วยคาถา ความว่าดังนี้:-
แน่ะพ่อรัฐบาล เออก็คนเป็นอันมากที่พากันมาขอเรา เรา
ไม่รู้จัก ไฉนเจ้าไม่ขอเรา.
รัฐบาลกุลบุตรได้กล่าวตอบบิดาด้วยคาถา ความว่าดังนี้:-
คนผู้ขอ ย่อมไม่เป็นที่รักของผู้ถูกขอ ฝ่ายคนผู้ถูกขอ
เมื่อไม่ให้ ก็ย่อมไม่เป็นที่รักของผู้ขอ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้า
จงไม่ขอท่าน ขออย่าให้ข้าพเจ้าเป็นที่เกลียดชังของท่านเลย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รัฐบาลกุลบุตรนั้นยังได้กล่าวตอบอย่างนี้
กะบิดาของตนแล้ว ก็จะป่วยกล่าวไปไยเล่าถึงคนอื่นต่อคนอื่น.
[500] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โภคสมบัติของคฤหัสถ์รวบรวมได้
ยาก แม้ได้มาแล้วก็ยังยากที่จะตามรักษา ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย
เมื่อโภคสมบัติ นั้นอันพวกคฤหัสถ์รวบรวมได้ยาก แม้เขาได้มาแล้วก็ยัง
ยากที่จะตามรักษาอย่างนี้ พวกเธอได้มีการวิงวอน มีการขอเขาบ่อย
ครั้ง หลายคราวแล้วว่า ขอท่านทั้งหลายจงให้คน จงให้เเรงงาน จง

ให้โค จงให้เกวียน จงให้มีด จงให้ขวาน จงให้ผึ่ง จงให้จอบ
จงให้สิ่ว จงให้เถาวัลย์ จงให้ไม้ไผ่ จงให้หญ้ามุงกระต่าย จงให้
หญ้าปล้อง จงให้หญ้าสามัญ จงให้ดิน ดังนี้เป็นต้น การกระทำของ
พวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส
หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การ
กระทำของพวกเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่
เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนภิกษุชาวรัฐอาฬวีโดยอเนกปริ-
ยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุง
ยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี
ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคน
บำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด
อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนก
ปริยาย แล้วทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสม
แก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท
แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ 10 ประการ คือ เพื่อความ
รับว่าดีแห่งสงฆ์ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ 1 เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อ
ยาก 1 เพื่อยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก 1 เพื่อป้องกันอาสวะ
อันจะเกิดในปัจจุบัน เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต 1
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมรส 1 เพื่อความเลื่อมใสยิ่ง

ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว 1 เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม เพื่อ
ถือตามพระวินัย 1
ดุก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนั้น ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ


10. 6. อนึ่ง ภิกษุผู้จะสร้างกุฎีอันหาเจ้าของมิได้ เฉพาะ
ตนเอง ด้วยอาการขอเอาเอง พึงสร้างให้ได้ประมาณ ประมาณในการ
สร้างกุฎีนั้นดังนี้ โดยยาว 12 คืบ โดยกว้างในร่วมใน 7 คืบ ด้วย
คืบสุคต พึงนำภิกษุทั้งหลายไปเพื่อแสดงที่ ภิกษุเหล่านั้นพึงแสดง
ที่อันไม่มีผู้จองไว้ อันมีชานรอบ หากภิกษุสร้างกุฎีด้วยอาการขอเอา
เอง ในที่อันมีผู้จองไว้ อันหาชานรอบมิได้ หรือไม่นำภิกษุทั้งหลาย
ไปเพื่อแสดงที่ หรือสร้างให้ล่วงประมาณ เป็นสังฆาทิเสส.
เรื่องภิกษุชาวรัฐอาฬวี จบ

สิกขาบทวิภังค์


[501] ที่ชื่อว่า อาการขอเอาเอง คือ ขอเองซึ่งคนก็ดี แรง
งานก็ดี โคก็ดี เกวียนก็ดี มีดก็ดี ขวานก็ดี ผึ่งก็ดี จอบก็ดี สิ่วก็ดี
เถาวัลย์ก็ดี ไม้ไผ่ก็ดี หญ้ามุงกระต่ายก็ดี หญ้าปล้องดี หญ้าสามัญก็ดี
ดินก็ดี.
ที่ชื่อว่า กุฎี ได้แก่ ที่อยู่ซึ่งโบกฉาบปูนไว้เฉพาะภายในก็ตาม ซึ่ง
โบกฉาบปูนไว้เฉพาะภายนอกก็ตาม ซึ่งโบกฉาบปูนไว้ทั้งภายในทั้งภาย
นอกก็ตาม.