เมนู

เมื่อเสด็จจาริกโดยลำดับ ได้เสด็จถึงรัฐอาฬวีแล้ว ทราบว่าพระองค์
ประทับอยู่ที่อัคคาฬวเจดีย์ในรัฐอาฬวีนั้น จึงท่านพระมหากัสสปเข้าไปเฝ้า
ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลเนื้อความนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท


ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะ
เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุชาว
รัฐอาฬวีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอให้สร้างกุฎี ซึ่งมี
อุปกรณ์ที่ตนต้องขอเขามาเอง อันหาเจ้าของมิได้ เป็นส่วนเฉพาะ
ตนเอง ใหญ่ไม่มีกำหนด กุฎีเหล่านั้นจงไม่สำเร็จ พวกเธอจึงต้อง
มีการวิงวอน มีการขอเขาอยู่ร่ำไปว่า ท่านทั้งหลายจงให้บุรุษ จงให้
แรงบุรุษ จงให้โค จงให้เกวียน จงให้มีด จงให้ขวาน จงให้ผึ่ง
จงให้จอบ จงให้สิ่ว จงให้เถาวัลย์ จงให้ไม้ไผ่ จงให้หญ้ามุงกระต่าย
จงให้หญ้าปล้อง จงให้หญ้าสามัญ จงให้ดิน ดังนี้เป็นต้น ประชาชน
ที่ถูกเบียดเบียนด้วยการวิงวอน ด้วยการขอ พอเห็นภิกษุทั้งหลายเข้า
บ้างก็หวาด บ้างก็สะดุ้ง บ้างก็หลบหนีไป บ้างก็เลี่ยงไปทางอื่น
บ้างก็เมินหน้า บ้างก็ปิดประตูบ้าน แม้พบแม่โคก็หลบหนี สำคัญว่า
พวกภิกษุ ดังนี้ จริงหรือ.
ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย
การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของ

สมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนพวกเธอจึงได้ให้สร้างกุฎีซึ่งมีเครื่อง
อุปกรณ์ที่ตนต้องขอเขามาเอง อันหาเจ้าของมิได้ เป็นส่วนเฉพาะตน
ใหญ่ไม่มีกำหนดเล่า กุฎีเหล่านั้นจงไม่สำเร็จ พวกเธอจึงต้องมีการ
วิงวอน มีการขอเขาอยู่ร่ำไปว่า ท่านทั้งหลายจงให้บุรุษ จงให้แรง
บุรุษ จงให้โค จงให้เกวียน จงให้มีด จงให้ขวาน จงให้ผึ่ง จงให้
จอบ จงให้สิ่ว จงให้เถาวัลย์ จงให้ไม้ไผ่ จงให้หญ้ามุงกระต่าย
จงให้หญ้าปล้อง จงให้หญ้าสามัญ จงให้ดิน ดั่งนี้เป็นต้น ดูก่อน
โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ
เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุม-
ชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของพวกเธอนั่นเป็นไปเพื่อ
ความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่าง
อื่น ของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงติเตียนภิกษุชาวรัฐอาฬวีโดยอเนก
ปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคน
บำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุก
คลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคน
บำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด
อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียรโดยอเนก
ปริยายแล้ว ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสม
แก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่าดังนี้:-

เรื่องฤาษีสองพี่น้อง


[497] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ฤาษีสองพี่น้อง