เมนู

ชื่อนี้ ดังนี้ คำใดคำหนึ่ง ความผิดสังเกต ย่อมไม่มี ฉันนั้นแล. คง
เป็นอาบัติแท้ เพราะครบองค์ 3.
แต่เมื่อภิกษุอันชายวานว่า โปรดบอกหญิงที่มารดาปกครอง แล้วไป
บอกหญิงเหล่าอื่นมีหญิงที่บิดาปกครองเป็นต้น คนใดคนหนึ่ง ผิดสังเกต.
แม้ในบทว่า ปิตุรกฺขิตํ พฺรูหิ เป็นต้น ก็นัยนี้แหละ. อันที่จริง ความ
แปลกกันในบทว่า ปิตุรกฺขิตํ พฺรูหิ เป็นต้นนี้ ก็เพียงความต่างแห่ง
เปยยาล ด้วยอำนาจแห่งจักร มีเอกมูลจักร และทุมูลกจักรเป็นต้น
และด้วยอำนาจแห่งคนเดิม มีอาทิอย่างนี้ คือมารดาของชายวานภิกษุ,
มารดาของหญิงอันมารดาปกครองวานภิกษุ, หญิงที่มารดาปกครองวาน
ภิกษุเท่านั้น. แต่ความแปลกกันนั้น ผู้ศึกษาอาจทราบได้ ตามแนวแห่ง
พระบาลีนั่นเอง เพราะมีนัยดังได้กล่าวไว้แล้วในก่อน เพราะเหตุนั้น
ข้าพเจ้าจึงมิได้ทำความเอื้อเฟื้อเพื่อแสดงวิภาคแห่งความแปลกกันนั้น.
ก็ใน 2จตุกกะ มีคำว่า ปฏิคฺคณฺหาติ เป็นอาทิ ในจตุกกะ
ที่ 1 เป็นสังฆาทิเสส เพราะครบองค์ 3 ด้วยบทต้น เป็นถุลลัจจัย
เพราะครบองค์ 2 ด้วยบทท่ามกลาง, เป็นทุกกฏ เพราะครบองค์ 1
ด้วยบทเดียวสุดท้าย. ในจตุกกะที่ 2 เป็นถุลลัจจัย เพราะครบองค์ 2
ด้วยบทต้น, เป็นทุกกฏ เพราะครบองค์ ด้วยสองบทท่ามกลาง,
ไม่เป็นอาบัติ เพราะไม่มีองค์ ด้วยบทเดียวสุดท้าย.

[อธิบายเรื่องภิกษุรับคำของหญิงผู้วานเป็นต้น]


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รับ ได้แก่ รับคำสั่งของผู้วาน.
บทว่า บอก ได้แก่ ไปสู่ที่ซึ่งเขาวานไปแล้ว บอกคำสั่งนั้น.

บทว่า กลับมาบอก ได้แก่ กลับมาบอกแก่ผู้วานซึ่งเป็นต้นเดิม.
บทว่า ไม่กลับมา ได้แก่ บอกแล้วหลีกไปจากที่นั้นเสีย.
บทว่า ไม่บอก แต่กลับมาบอก ได้แก่ ผู้อันชายวานว่า ท่าน
โปรดไปบอกหญิงชื่อนี้ รับคำสั่งของเขาว่า ได้ซี แล้วจะลืมเสีย หรือ
ไม่ลืมคำสั่งนั้นก็ตาม ไปสู่สำนักของหญิงนั้นด้วยกรณียกิจอย่างอื่น นั่ง
กล่าวคำบ้างเล็กน้อย, ด้วยอาการเพียงเท่านี้ ท่านเรียกว่า รับ แต่ไม่บอก.
ลำดับนั้น หญิงนั้นพูดเองกะภิกษุนั้นว่า ได้ยินว่า อุปัฏฐากของ
ท่านอยากได้ดิฉัน ดังนี้, ครั้นพูดอย่างนี้แล้ว จึงพูดว่า ดิฉันจักเป็น
ภรรยาของเขา หรือว่าจักไม่เป็น ก็ดี, ภิกษุนั้นไม่รับรอง ไม่คัดค้าน
คำของหญิงนั้น นิ่งเฉยเสีย ลุกจากที่นั่งมายังสำนักของชายนั้นบอกข่าว
นั้น, ด้วยอาการเพียงเท่านี้ ท่านเรียกว่า ชื่อว่า ไม่บอก แต่กลับมา
บอก.

บทว่า ไม่บอก ไม่กลับมาบอก ได้แก่ รับในเวลาที่บอกคำสั่ง
อย่างเดียวเท่านั้น, แต่ว่า ไม่ทำกิจสองอย่างนอกนี้.
บทว่า ไม่รับ แต่บอก กลับมาบอก ได้แก่ ชายบางคนกล่าว
ถ้อยคำเห็นปานนั้น ในที่ซึ่งภิกษุยืนอยู่ หรือที่ซึ่งนั่งอยู่ ภิกษุแม้อันเขาไม่
ได้วานเลย แต่เป็นดังถูกเขาวาน จึงไปยังสำนักของหญิง แล้วบอกโดย
นัยเป็นต้นว่า ได้ยินว่า หล่อนจงเป็นภรรยาของชายชื่อนี้ แล้วกลับมาบอก
ความชอบใจ หรือไม่ชอบใจปองหญิงนั้นแก่ชายนี้. ภิกษุบอกแล้วกลับ
มาบอกโดยนัยนั้นนั่นแหละ ท่านเรียกว่า ไม่รับ แต่บอก และกลับ
มาบอก ภิกษุผู้ไปแล้วโดยนัยนั้นนั่นแล แต่ไม่บอก ฟังถ้อยคำของหญิง
นั้นพูดแล้ว มาบอกแก่ชายนี้ ตามนัยที่กล่าวแล้ว ในบทที่ 3 แห่งปฐม-

จตุกกะ ท่านเรียกว่า ไม่รับ ไม่บอก แต่กลับมาบอก. บทที่ 4
ชัดเจนแล้วแล. นัยทั้งหลายเป็นต้นว่า วานภิกษุมากหลาย ชัดเจนแล้ว
เหมือนกัน. เหมือนอย่างว่า ภิกษุแม้หลายรูปด้วยกัน ย่อมต้องอาบัติ
ในเพราะวัตถุเดี่ยว ฉันใด, พึงทราบอาบัติมากหลายในเพราะวัตถุมาก
หลาย แม้แห่งภิกษุรูปเดียว ฉันนั้น.
เป็นอย่างไร ? ชายวานภิกษุว่า ท่านขอรับ ! ขอท่านโปรดไป
ที่ปราสาทชื่อโน้น มีหญิงประมาณ 60 หรือ 70 คน, ท่านโปรดบอก
หญิงเหล่านั้นว่า ได้ยินว่า พวกหล่อนจงเป็นภรรยาของชายชื่อนี้ ภิกษุ
นั้นรับแล้ว ไปที่ปราสาทนั้นทีเดียว บอกแล้วนำข่าวนั้นกลับมาอีก
เธอต้องอาบัติเท่าจำนวนหญิง. จริงอยู่ แม้ในคัมภีร์ปริวาร พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าก็ได้ตรัสคำนี้ไว้ว่า
ภิกษุพึงต้องครุกอาบัติ ที่ยังทำคืนได้ทั้งหมด
พร้อมกันทั้ง 64 ตัว ด้วยสักว่าย่างเท้าเดินไป และ
กล่าวด้วยวาจา ปัญหานี้ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกัน
แล้ว.

ได้ยินว่า ปัญหานี้ ท่านอาศัยอำนาจแห่งอรรถนี้กล่าวแล้ว. ส่วน
คำว่าอาบัติ 64 ตัว ในคำถาม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส เพื่อความสล ะ
สลวยแห่งถ้อยคำ. แต่เมื่อภิกษุทำอย่างนั้น ย่อมต้องอาบัติตั้ง 100 ตัวก็ได้
ตั้ง 1,000 ตัวก็ได้ฉะนั้นแล.
เหมือนอย่างว่า เป็นอาบัติมากหลายในเพราะหญิงมากหลายแก่
ภิกษุรูปเดียว ที่ชายคนเดียววานไป ฉันใด, ชายคนเดียว วานภิกษุมาก
หลายไปยังสำนักของหญิงคนเดียว, เป็นสังฆาทิเสส แก่ภิกษุทั้งหมดทุกรูป
ฉันนั้น.

ชายคนเดียว วานภิกษุมากรูปด้วยกันไปยังสำนักของหญิงจำนวน
มากด้วยกัน เป็นสังฆาทิเสสตามจำนวนหญิง. ชายมากคนด้วยกัน วาน
ภิกษุรูปเดียวไปยังสำนักของหญิงคนเดียว เป็นสังฆาทิเสสตามจำนวน
ของชาย. ชายมากคนด้วยกัน วานภิกษุรูปเดียวไปยังสำนักของหญิงมาก
คนด้วยกัน เป็นสังฆาทิเสสตามจำนวนวัตถุ. ชายมากคนด้วยกัน วาน
ภิกษุมากรูปด้วยกันไปยังสำนักหญิงคนเดียว เป็นสังฆาทิเสสตามจำนวน
วัตถุ. ชายมากคนด้วยกัน วานภิกษุมากรูปไปยังสำนักแห่งหญิงมากคน
ด้วยกัน เป็นสังฆาทิเสสตามจำนวนวัตถุ. แม้ในคำว่า หญิงคนเดียว
วานภิกษุรูปเดียว เป็นต้น ก็มีนัยเหมือนกันนี้. ก็ในสัญจริตตสิกขาบทนี้
ชื่อว่า ความเป็นผู้ถูกส่วน และไม่ถูกส่วนกันไม่เป็นประมาณ. เมื่อภิกษุ
ทำการชักสื่อ แก่บิดามารดาก็ดี แก่สหธรรมิกทั้ง 5 ก็ดี เป็นอาบัติ
ทั้งนั้น. จตุกกะว่า ชายวานภิกษุว่า ไปเถิดท่านขอรับ ท่านกล่าวไว้
เพื่อแสดงชนิดแห่งอาบัติ ด้วยอำนาจแห่งองค์.
ในบทท้ายแห่งจตุกกะนั้น พึงทราบวินิจฉัยดังนี้:-
หลายบทว่า อันเตวาสิกบอกแล้ว กลับมาบอกภายนอก มีความ
ว่า อันเตวาสิกมาแล้วไม่บอกแก่อาจารย์ ไปเสียทางอื่นบอกแก่ชายผู้นั้น.
หลายบทว่า อาปตฺติ อุภินฺนฺนํ ถุลฺลจฺจยสฺส มีความว่า เป็นถุล-
ลัจจัยแก่อาจารย์ด้วยองค์ 2 คือ เพราะคำรับ 1 เพราะใช้ให้บอก 1.
เป็นถุลลัจจัยแก่อันเตวาสิกด้วยองค์ 2 คือ เพราะบอก 1 เพราะกลับมา
บอก 1. คำที่เหลือ ปรากฏชัดแล้วแล.

สองบทว่า คจฺฉนฺโต สมฺปาเหติ ได้แก่ รับ และบอก.
สองบทว่า อาคจฺฉนฺโต วิสํวาเทติ ได้แก่ ไม่กลับมาบอก.
สองบทว่า คจฺฉนฺโต วิวาเทติ ได้แก่ ไม่รับ.
สองบทว่า อาคจฺฉนฺโต สมฺปาเทติ ได้แก่ บอก และกลับมาบอก.
ในบททั้งสองอย่างนี้ เป็นถุลลัจจัยด้วยองค์ 2. ในบทที่ 3 เป็น
อาบัติ, ในบทที่ 4 ไม่เป็นอาบัติ.
ในคำว่า อนาปตฺติ สงฺฆสฺส วา เจติยสฺส วา คิลานสฺส วา กรณี-
เยน คจฺฉติ อุมมฺตฺตกสฺส อาทิกมฺมิกสสฺ
นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้:- I
อุโปสถาคาร หรือการงานอะไร ๆ ของภิกษุสงฆ์ที่ทำค้างไว้มีอยู่,
อุบาสกวานภิกษุไปยังสำนักของอุบายสิกา หรืออุบายสิกาวานภิกษุไปยัง
สำนักของอุบาสก เพื่อต้องการอาหารและค่าแรงงานสำหรับพวกคนงาน
(พวกช่าง)่ ในการสร้างอุโปสถาคารเป็นต้นนั้น, เมื่อภิกษุไปด้วยกรณียะ
ของสงฆ์เช่นนี้ ไม่เป็นอาบัติ. แม้ในเจติยกรรมที่กำลังทำ ก็มีนัยเหมือน
กันนี้. ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้อันอุบาสกวานแล้ว ไปยังสำนักของอุบาสิกา
หรือผู้อันอุบาสิกาวานแล้ว ไปยังสำนักของอุบาสก แม้เพื่อต้องการยา
สำหรับภิกษุอาพาธ. ภิกษุบ้าและภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะ มีนัยดังกล่าว
แล้วนั่นแล.
บรรดาปกิณกะมีสมุฏฐานเป็นต้น สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน 6
เมื่อภิกษุรับข่าวสารด้วยกายวิการมีผงกศีรษะเป็นต้น ไปบอกด้วยหัวแม่มือ
แล้วกลับมาบอกด้วยหัวแม่มือ, อาบัติเกิดโดยลำพังกาย. เมื่อใคร ๆ กล่าว
แก่ภิกษุผู้นั่งที่หอฉันว่า หญิงชื่อนี้ จักมา, ท่านพึงทราบจิตของนาง
แล้วรับว่า ดีละ บอกกะนางผู้มาหา เมื่อนางกลับไปแล้ว บอกในเมื่อ

ชายนั้นกลับมาหา, อาบัติเกิดโดยลำพังวาจา. แม้เมื่อภิกษุรับคำสั่งด้วย
วาจาว่า ได้ซี แล้วไปยังเรือนของหญิงนั้นด้วยกรณียะอื่น หรือพบหญิง
นั้นในเวลาไปที่อื่น แล้วบอกด้วยเปล่งวาจานั้นแล ยังไม่หลีกไปจากที่นั้น
ด้วยเหตุอื่นนั่นเอง บังเอิญพบชายคนนั้นเข้าอีกแล้วบอก, อาบัติย่อมเกิด
โดยลำพังวาจาอย่างเดียว. แต่อาบัติย่อมเกิดโดยทางกายและวาจา แม้แก่
พระขีณาสพผู้ไม่รู้พระบัญญัติ.
เป็นอย่างไร? ก็ถ้าว่า มารดากับบิดาของภิกษุนั้นโกรธกันเป็น
ผู้หย่าร้างขาดกันแล้ว. ก็บิดาของพระเถระนั้น พูดกะภิกษุนั้นผู้มายังเรือน
ว่า แน่ะลูก ! โยมมารดาของท่านทิ้งโยมผู้แก่เฒ่าไปสู่ตระกูลญาติเสียแล้ว,
ขอท่านไปส่งข่าวให้โยมมารดานั้น (กลับมา) เพื่อปรนนิบัติโยมเถิด. ถ้า
ภิกษุนั้นไปพูดกะโยมมารดานั้นแล้วกลับมาบอกข่าวการมา หรือไม่มาแห่ง
โยมมารดานั้น แก่โยมบิดา เป็นสังฆาทิเสส.
3 สมุฏฐานนี้ เป็นอจิตตกสมุฏฐาน แต่เมื่อภิกษุทราบพระบัญญัติ
แล้ว ถึงความชักสื่อโดยนัยทั้ง 3 นี้แหละ อาบัติย่อมเกิดทางกายกับ
จิต 1 ทางวาจากับจิต 1 ทางกายวาจากับจิต 1. 3 สมุฏฐานนี้ เป็น
สจิตตกสมุฏฐาน ด้วยจิตที่รู้พระบัญญัติ. เป็นกิริยาโนสัญญาวิโมกข์
ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม และในสิกขาบทนี้ มีจิต 3 ดวง
ด้วยสามารถแห่งกุศลจิตเป็นต้น มีเวทนา 3 ด้วยสามารถแห่งสุขเวทนา
เป็นต้น ฉะนี้แล.
บรรดาวินีตวัตถุทั้งหลาย ใน 5 เรื่องข้างต้น เป็นทุกกฏ เพราะ
เป็นแต่เพียงรับ.
ในเรื่องทะเลาะกัน มีวินิจฉัย ดังนี้:-

บทว่า สมฺโมทนียํ อกาสิ ความว่า ให้หญิงนั้นยินยอมแล้ว ได้
กระทำบ้านให้เป็นสถานที่ควรกลับไปอีก.
บทว่า นาลํวนียา มีอรรถว่า ยังไม่หย่าร้างกัน. จริงอยู่ หญิง
ใดอันสามีทิ้งแล้วในชนบทใด ๆ โดยประการโด ๆ ย่อมพ้นภาวะเป็น
ภรรยา, หญิงนี้ท่านเรียกว่า ผู้หย่าร้างกัน. แต่หญิงคนนี้ มิใช่ผู้หย่าร้าง
กัน. นางทะเลาะกันด้วยเหตุบางประการแล้วไปเสีย. ด้วยเหตุนั่นแล ใน
เรื่องทะเลาะกันนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ไม่เป็นอาบัติ. ก็เพราะ
พระผู้มีพระภาคเจ้าปรับถุลลัจจัย ในนางยักษิณี เพราะกายสังสัคคะ;
ฉะนั้น แม้ในทุฏฐุลลสิกขาบทเป็นต้นนี้ นางยักษิณีและนางเปรต บัณฑิต
พึงทราบว่า เป็นวัตถุแห่งถุลลัจจัย เหมือนกัน. แต่ในอรรถกถาทั้งหลาย
ท่านไม่ได้วิจารคำนี้ไว้. คำที่เหลือทุก ๆ เรื่อง มีอรรถกระจ่างทั้งนั้นแล.
สัญจริตตสิกขาบทวรรณนา

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 6
เรื่องภิกษุชาวรัฐอาฬวี


[494] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ
พระเวฬุวัน อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนคร
ราชคฤห์ ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายชาวรัฐอาฬวี สร้างกุฎีซึ่งมีเครื่องอุปกรณ์
อันตนขอเขามาเอง อันหาเจ้าของมิได้ เป็นส่วนเฉพาะตนเอง ใหญ่ไม่มี
กำหนด กุฎีเหล่านั้นจึงไม่สำเร็จ เธอต้องมีการวิงวอน มีการขอเขาอยู่