เมนู

ผู้อันกองทัพยกธงขึ้นแล้วไปโจมตีเขตแดนของปรปักษ์แล้วนำมา บุรุษ
บางคนทำสตรีนั้นให้เป็นภรรยา, สตรีนี้ชื่อว่า ธชาหฏา สตรีที่บุรุษ
พึงอยู่ร่วมเพียงชั่วครู่หนึ่ง มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. เป็นมิจฉาจารแก่
สตรีทั้ง 10 จำพวกนี้ ในเพราะคบหาชายาอื่น. ก็ในสตรีทั้ง 30 จำพวกนี้
เป็นมิจฉาจารแก่พวกบุรุษ, และก็เป็นการชักสื่อแก่ภิกษุด้วย.

[อธิบายนิกเขปบทเรื่องชายวานภิกษุ]


บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ปุริโส ภิกฺขุ ปกิณาติ เป็นอาทิ
ดังต่อไปนี้:-
ภิกษุนั้นรับคำที่ชายนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านโปรดไปพูดกะหญิง
ที่มารดาปกครองชื่อนี้ว่า ได้ยินว่า หล่อนจงเป็นภรรยาสินไถ่ของชาย
ชื่อนี้ ดังนี้ ด้วยลั่นวาจาด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่งว่า ดีละอุบาสก ?
หรือว่าจงสำเร็จ หรือว่าเราจักบอก หรือด้วยกายวิการมีพยักศีรษะเป็นต้น
ชื่อว่า รับ.
ครั้นรับอย่างนั้นแล้ว ไปยังสำนักหญิงนั้น บอกคำสั่งนั้น ชื่อว่า
บอก.
เมื่อคำสั่งนั้นอันเธอบอกแล้ว หญิงนั้นรับว่า ดีละ หรือห้ามเสีย
หรือนิ่งเสีย เพราะอายก็ตามที, ภิกษุกลับมาบอกข่าวนั้นแก่ชายนั้น ชื่อว่า
กลับมาบอก. ด้วยอาการเพียงเท่านี้เป็นสังฆาทิเสส เพราะครบองค์ 3
กล่าวว่า รับคำ บอก กลับมาบอก. แต่หญิงนั้น จะเป็นภรรยาของชาย
นั้นหรือไม่ ก็ตามที นั่นไม่ใช่เหตุ พระมหาปทุมเถระกล่าวว่า ก็ถ้า
ภิกษุนั้น อันชายวานไปยังสำนักของหญิงที่มารดาปกครอง ไม่พบหญิงนั้น
จึงบอกคำสั่งนั้นแก่มารดาของหญิงนั้น ชื่อว่าบอกนอกคำสั่ง, เพราะฉะนั้น

จึงผิดสังเกต. ฝ่ายพระมหาสุมเถระกล่าวว่า จะเป็นมารดา หรือบิดา
ก็ตามที่ ชั้นที่สุดแม้เป็นทาสีในเรือน หรือผู้อื่นคนใดคนหนึ่ง จักยัง
กิริยานั้นให้สำเร็จได้, เมื่อคำสั่งนั้นอันภิกษุนั้น แม้บอกแล้วแก่ผู้นั้น
เป็นอันบอกแล้วทีเดียว, เพราะฉะนั้น คงเป็นอาบัติเหมือนกัน ในเวลา
ครบองค์ 3, ภิกษุใดใคร่จะกล่าวว่า พุทธํ ปจฺจกฺขามิ พึงกล่าวผิดไปว่า
ธมฺมํ ปจฺจกฺขามิ สิกขาพึงเป็นอันเธอลาแล้วมิใช่หรือ ข้อนี้ ฉันใด,
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุใคร่จะกล่าวว่า ปฐมํ ฌานํ สมาปชฺชามิ พึงกล่าว
ผิดไปว่า ทุติยํ ฌานํ สมาปชฺชามิ เธอพึงเป็นผู้ต้องปาราชิกแท้มิใช่หรือ
ข้อนี้ ฉันใด, คำเป็นเครื่องยังอุปไมยให้ถึงพร้อมนี้ ก็ฉันนั้น.
ก็คำของพระสุมเถระนั่นแหละ สมด้วยบทนี้ว่า ภิกษุรับแต่ให้
อันเตวาสิกบอก แล้วกลับมาบอกด้วยตนเอง ต้องสังฆาทิเสส, เพราะ-
ฉะนั้น คำของท่านเป็นอันกล่าวชอบแล้ว.
เมื่อภิกษุอันชายสั่งว่า ท่านโปรดบอกหญิงอันมารดาปกครอง แล้ว
ไปบอกแม้แก่ชนอื่นมีมารดาเป็นต้น ผู้สามารถจะบอกแก่หญิงนั้นได้,
ความผิดสังเกตย่อมไม่มี ฉันใด; ในเมื่อควรจะบอกว่า ได้ยินว่า หล่อนจง
เป็นภรรยาสินไถ่ของชายชื่อนี้ แม้เมื่อภิกษุบอกด้วยอำนาจคำว่า ผู้อยู่
ร่วมด้วยความพอใจ เป็นต้น คำใดคำหนึ่ง ที่ตรัสไว้ในบาลีอย่างนี้ว่า
ได้ยินว่า หล่อนจงเป็นภรรยา ผู้อยู่ด้วยความพอใจของชายชื่อนี้ หรือ
ด้วยอำนาจคำทั้งหลาย แม้ที่ไม่ได้ตรัสไว้แต่แสดงความอยู่ร่วมกันมีอาทิ
อย่างนี้ว่า ได้ยินว่า หล่อนจงเป็นภรรยา ชายา ปชาบดี มารดาของบุตร
แม่เรือน แม่เจ้าเรือน แม่ครัว นางบำเรอ หญิงบำเรอกาม ของชาย

ชื่อนี้ ดังนี้ คำใดคำหนึ่ง ความผิดสังเกต ย่อมไม่มี ฉันนั้นแล. คง
เป็นอาบัติแท้ เพราะครบองค์ 3.
แต่เมื่อภิกษุอันชายวานว่า โปรดบอกหญิงที่มารดาปกครอง แล้วไป
บอกหญิงเหล่าอื่นมีหญิงที่บิดาปกครองเป็นต้น คนใดคนหนึ่ง ผิดสังเกต.
แม้ในบทว่า ปิตุรกฺขิตํ พฺรูหิ เป็นต้น ก็นัยนี้แหละ. อันที่จริง ความ
แปลกกันในบทว่า ปิตุรกฺขิตํ พฺรูหิ เป็นต้นนี้ ก็เพียงความต่างแห่ง
เปยยาล ด้วยอำนาจแห่งจักร มีเอกมูลจักร และทุมูลกจักรเป็นต้น
และด้วยอำนาจแห่งคนเดิม มีอาทิอย่างนี้ คือมารดาของชายวานภิกษุ,
มารดาของหญิงอันมารดาปกครองวานภิกษุ, หญิงที่มารดาปกครองวาน
ภิกษุเท่านั้น. แต่ความแปลกกันนั้น ผู้ศึกษาอาจทราบได้ ตามแนวแห่ง
พระบาลีนั่นเอง เพราะมีนัยดังได้กล่าวไว้แล้วในก่อน เพราะเหตุนั้น
ข้าพเจ้าจึงมิได้ทำความเอื้อเฟื้อเพื่อแสดงวิภาคแห่งความแปลกกันนั้น.
ก็ใน 2จตุกกะ มีคำว่า ปฏิคฺคณฺหาติ เป็นอาทิ ในจตุกกะ
ที่ 1 เป็นสังฆาทิเสส เพราะครบองค์ 3 ด้วยบทต้น เป็นถุลลัจจัย
เพราะครบองค์ 2 ด้วยบทท่ามกลาง, เป็นทุกกฏ เพราะครบองค์ 1
ด้วยบทเดียวสุดท้าย. ในจตุกกะที่ 2 เป็นถุลลัจจัย เพราะครบองค์ 2
ด้วยบทต้น, เป็นทุกกฏ เพราะครบองค์ ด้วยสองบทท่ามกลาง,
ไม่เป็นอาบัติ เพราะไม่มีองค์ ด้วยบทเดียวสุดท้าย.

[อธิบายเรื่องภิกษุรับคำของหญิงผู้วานเป็นต้น]


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รับ ได้แก่ รับคำสั่งของผู้วาน.
บทว่า บอก ได้แก่ ไปสู่ที่ซึ่งเขาวานไปแล้ว บอกคำสั่งนั้น.