เมนู

บทว่า วสลํ แปลว่า เลว คือ ชั่วช้า. อีกนัยหนึ่ง ผู้ที่ชื่อว่า
วสละ เพราะอรรถว่า ไหลออกมา. อธิบายว่า ย่อมหลั่งออก.
บทว่า นิฏฺฐหิตฺวา แปลว่า บ้วนเขฬะให้ตกไป
ด้วยคำว่า กิสฺสาหํ เกน หายามิ ดังนี้ หญิงนั้นแสดงว่า เรา
จะด้อยกว่าหญิงอื่นคนไหน ? ว่าโดยอะไร ? คือ ว่าโดยโภคะก็ตาม โดย
เครื่องแค่แต่งตัวก็ตาม โดยรูปร่างก็ตาม หญิงชื่ออะไรเล่า ? จะเป็นผู้ดียิ่ง
ไปกว่าเรา.
บทว่า สนฺติเก แปลว่า ยืนอยู่ในที่ใกล้เคียง คือ ในที่ไม่ไกล
โดยรอบ. แม้ด้วยบทภาชนะ ท่านก็แสดงเนื้อความอย่างนี้เหมือนกัน.
บทว่า อตฺตกามปาริจริยาย ความว่า การบำเรอด้วยกาม กล่าวคือ
เมถุนธรรม ชื่อว่า กามปาริจริยา. การบำเรอด้วยกามเพื่อประโยชน์
แก่ตน ชื่อว่า อัตตกามปาริจริยา. อีกอย่างหนึ่ง การบำเรอที่ตนใคร่
คือ ปรารถนา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อัตตกามา. อธิบายว่า อันภิกษุ
เองปรารถนาแล้วด้วยอำนาจแห่งความกำหนด ในเมถุน การบำเรอนั้นด้วย
อันตนให้ใคร่ด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อัตตกามปาริจริยา. แห่งการ
บำเรอด้วยกามเพื่อประโยชน์แก่ตน (หรือแห่งการบำเรออันตนใคร่) นั้น.

[อธิบายสิกขาบทวิภังค์จตุตถสังฆาทิเสส]


สองบทว่า วณฺณํ ภาเสยฺย ความว่า พึงประกาศคุณ คืออานิสงส์.
ในอรรถวิกัปทั้งสองนั้น เพราะในอรรถวิกัปนี้ว่า การบำเรอกามเพื่อ
ประโยชน์ตน ได้ใจความ คือ กาม 1 เหตุ 1 การบำเรอ 1 พยัญชนะ
ยังเหลือ ในอรรถวิกัปนี้ว่า การบำเรอนั้นด้วย อันตนใคร่ด้วย ชื่อ

อัตตกามปาริจริยา ได้ใจความ คือ ความประสงค์ การบำเรอ 1
พยัญชนะยังเหลือ เพราะเหตุนั้น เพื่อไม่ทำความเอื้อเฟื้อในพยัญชนะแสดง
แต่ใจความเท่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบทภาชนะว่า คือ เป็นเหตุ
แห่งตน เป็นที่ประสงค์แห่งตน. จริงอยู่ เมื่อตรัสคำว่า การบำเรอตน
บัณฑิตทั้งหลายจักทราบว่า การบำเรอด้วยกาม เพื่อประโยชน์แก่ตน ท่าน
กล่าวแล้วว่าด้วยคำมีประมาณเท่านี้ แม้เมื่อท่านกล่าวคำว่า การบำเรอตน
ซึ่งเป็นที่ประสงค์แห่งตน บัณฑิตทั้งหลาย ก็จักทราบว่า การบำเรอ
ที่ตนใคร่ ด้วยอรรถว่า ที่ตนต้องการประสงค์ ท่านกล่าวด้วยคำมี
ประมาณเท่านี้.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จะทรงแสดงอาการในการสรรเสริญ
คุณแห่งการบำเรอตนด้วยกายนั้น จึงตรัสคำว่า เอตทคฺคํ เป็นอาทิ คำนั้น
มีเนื้อความชัดเจนทีเดียว ทั้งโดยอุเทศทั้งโดยนิเทศ.
ส่วนบทสัมพันธ์ และวินิจฉัยอาบัติในสิกขาบทนี้ พึงทราบดังนี้:-
คำว่า เอตทคํ ฯเป ฯ ปริจเรยฺย มีความว่า หญิงในพึงบำเรอ
ผู้ประพฤติพรหมจรรย์มีศีล มีกัลยาณธรรมเช่นเรา ด้วยธรรมนั่น
ขึ้นชื่อว่าการบำเรอใด ของหญิงนั้น ผู้บำเรอผู้พระพฤติพรหมจรรย์
เช่นเราอย่างนั้น, การบำเรอเป็นยอดของการบำเรอทั้งหลาย.
สองบทว่า เมถุนูปสํหิเตน สงฺฆาทิเสส มีความว่า ภิกษุใด
เมื่อกล่าวคุณแห่งการบำเรอตนด้วยกามอย่างนั้น พึงกล่าวด้วยคำพาดพิง
เมถุนจัง ๆ คือ หมายเฉพาะเมถุนจัง ๆ เป็นสังฆาทิเสสแก่ภิกษุนั้น.
บัดนี้ ท่านปรับสังฆาทิเสส แก่ภิกษุผู้กล่าวด้วยคำพาดพิงเมถุน
เท่านั้น; เพราะเหตุนั้น จึงไม่เป็นสังฆาทิเสสแม้แก่ภิกษุผู้กล่าวคุณแห่ง

การบำเรอ ด้วยถ้อยคำมีอาทิอย่างนี้ว่า ฉันก็เป็นกษัตริย์ หล่อนก็เป็น
กษัตริย์ นางกษัตริย์สมควรให้แก่กษัตริย์ เพราะมีชาติเสมอกัน แต่เป็น
สังฆาทิเสสแก่ภิกษุผู้กล่าวปริยายแม้มาก มีคำว่า ฉันก็เป็นกษัตริย์ หล่อน
ก็เป็นกษัตริย์ เป็นต้น แล้วกล่าวด้วยถ้อยคำพาดพิงเมถุนจัง ๆ อย่างนี้ว่า
หล่อนสมควรให้เมถุนแก่ฉัน.
คำว่า อิตฺถี จ โหติ เป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วในก่อนนั้นแล
พระอุทานเถระเป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบท ไม่เป็นอาบัติแก่ท่านผู้เป็น
อาทิกัมมิกะฉะนี้แล.
บทภาชนียวรรณนา จบ

ปกิณกะทั้งปวงมีสมุฏฐานเป็นต้น เหมือนทุฏฐุลลวาจาสิกขาบท.
แม้วินีตวัตถุทั้งหลาย ก็มีอรรถชัดเจนทั้งนั้น ด้วยประการนี้.
พรรณนาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 4 จบ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 5
เรื่องพระอุทายี


[421] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวันอารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล
ท่านพระอุทายีเป็นพระกุลุปกะในพระนครสาวัตถี เข้าไปสู่สกุลเป็นอันมาก
ที่ตนเห็นว่ามีแก่ชายหนุ่มน้อยยังไม่มีภรรยา หรือเด็กหญิงสาวน้อยยังไม่มี
สามี ย่อมพรรณนาคุณสมบัติของเด็กหญิงสาวน้อยในสำนักมารดาบิดา
ของเด็กชายหนุ่มน้อยว่า เด็กหญิงสาวน้อยของสกุลโน้น มีรูปงาม น่าดู
น่าชม คมคาย มีแววฉลาด มีไหวพริบดี ขยัน ไม่เกียจคร้าน เด็ก
หญิง สาวน้อยนั้นสมควรแก่เด็กชายหนุ่มน้อยนี้ มารดาบิดาของเด็กชาย
หนุ่มน้อยกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า คนเหล่านั้นไม่รู้จักพวกข้าพเจ้าว่า
เป็นใคร หรือเป็นพรรคพวกของใคร ท่านเจ้าข้า ถ้าพระคุณเจ้ากรุณา
พูดทาบทามให้ พวกข้าพเจ้าจะสู่ขอเด็กหญิงสาวน้อยนั้นมาให้แก่เด็ก
ชายหนุ่มน้อยนี้ และพรรณนาคุณสมบัติของเด็กชายหนุ่มน้อยในสำนัก
มารดาบิดาของเด็กหญิงสาวน้อยว่า เด็กชามหนุ่มน้อยของสกุลโน้น มี
รูปงาม น่าดู น่าชม คมคาย มีแววฉลาด มีไหวพริบดี ขยัน ไม่
เกียจคร้าน เด็กชายหนุ่มน้อยนั้นสมควรแก่เด็กหญิงสาวน้อยนี้ มารดา
บิดาของเด็กหญิงสาวน้อยกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า คนเหล่านั้นไม่
รู้จักพวกข้าพเจ้าว่าเป็นใคร หรือเป็นพรรคพวกของใคร ฝ่ายหญิงจะ
พูดชมว่า ดู ๆ ก็อยู่ ท่านเจ้าข้า ถ้าพระคุณเจ้ากรุณาช่วยพูดให้เขา
สู่ขอ พวกข้าพเจ้าจะยอมยกเด็กหญิงสาวน้อยนี้แก่เด็กชายหนุ่มน้อยนั้น
โดยอุบายนี้แล ท่านพระอุทายีให้มารดาบิดาของเจ้าหนุ่มเจ้าสาวทำอาวาห-
มงคลบ้าง วิวาหมงคลบ้าง พูดให้สู่ขอกันบ้าง.