เมนู

บทว่า วสลํ แปลว่า เลว คือ ชั่วช้า. อีกนัยหนึ่ง ผู้ที่ชื่อว่า
วสละ เพราะอรรถว่า ไหลออกมา. อธิบายว่า ย่อมหลั่งออก.
บทว่า นิฏฺฐหิตฺวา แปลว่า บ้วนเขฬะให้ตกไป
ด้วยคำว่า กิสฺสาหํ เกน หายามิ ดังนี้ หญิงนั้นแสดงว่า เรา
จะด้อยกว่าหญิงอื่นคนไหน ? ว่าโดยอะไร ? คือ ว่าโดยโภคะก็ตาม โดย
เครื่องแค่แต่งตัวก็ตาม โดยรูปร่างก็ตาม หญิงชื่ออะไรเล่า ? จะเป็นผู้ดียิ่ง
ไปกว่าเรา.
บทว่า สนฺติเก แปลว่า ยืนอยู่ในที่ใกล้เคียง คือ ในที่ไม่ไกล
โดยรอบ. แม้ด้วยบทภาชนะ ท่านก็แสดงเนื้อความอย่างนี้เหมือนกัน.
บทว่า อตฺตกามปาริจริยาย ความว่า การบำเรอด้วยกาม กล่าวคือ
เมถุนธรรม ชื่อว่า กามปาริจริยา. การบำเรอด้วยกามเพื่อประโยชน์
แก่ตน ชื่อว่า อัตตกามปาริจริยา. อีกอย่างหนึ่ง การบำเรอที่ตนใคร่
คือ ปรารถนา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อัตตกามา. อธิบายว่า อันภิกษุ
เองปรารถนาแล้วด้วยอำนาจแห่งความกำหนด ในเมถุน การบำเรอนั้นด้วย
อันตนให้ใคร่ด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อัตตกามปาริจริยา. แห่งการ
บำเรอด้วยกามเพื่อประโยชน์แก่ตน (หรือแห่งการบำเรออันตนใคร่) นั้น.

[อธิบายสิกขาบทวิภังค์จตุตถสังฆาทิเสส]


สองบทว่า วณฺณํ ภาเสยฺย ความว่า พึงประกาศคุณ คืออานิสงส์.
ในอรรถวิกัปทั้งสองนั้น เพราะในอรรถวิกัปนี้ว่า การบำเรอกามเพื่อ
ประโยชน์ตน ได้ใจความ คือ กาม 1 เหตุ 1 การบำเรอ 1 พยัญชนะ
ยังเหลือ ในอรรถวิกัปนี้ว่า การบำเรอนั้นด้วย อันตนใคร่ด้วย ชื่อ