เมนู

ทรงกระทำธรรมมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมกับเรื่องนั้น
แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท
แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ 10 ประการ คือ เพื่อความ
รับว่าดีแห่งสงฆ์ 1 เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ 1 เพื่อข่มบุคคลผู้
เก้อยาก 1 เพื่อยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก 1 เพื่อป้องกัน
อาสวะอันจะเกิดในปัจจุบัน 1 เพื่อกำจัดอาสนะอันจักบังเกิดใน
อนาคต 1 เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส 1 เพื่อความ
ตั้งมั่น แห่งพระสัทธรรม 1 เพื่อถือความพระวินัย 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนั้นว่าดังนี้:-

พระปฐมบัญญัติ


7.3. อนึ่ง ภิกษุใด กำหนัดแล้ว มีจิตแปรปรวนแล้ว พูด
เคาะมาตุคาม ด้วยวาจาชั่วหยาบ เหมือนชายหนุ่มพูดเคาะหญิงสาว
ด้วยวาจาพาดพิงเมถุน เป็นสังฆาทิเสส.
เรื่อง พระอุทายี จบ

สิกขาบทวิภังค์


[398] บทว่า อนึ่ง...ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการ
งานอย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด

มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะ
ก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อนึ่ง..ใด.
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ
ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า พระพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ
เพราะอรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า
ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า
ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ
เพราะอรรถว่า เป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม ชื่อว่า
ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพระอรรถว่า เป็น
พระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกัน
อุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบควรแก่ฐานะ บรรดาภิกษุ.
เหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยเหนือญัตติจตุตถกรรมอัน
ไม่กำเริบควรแก่ฐานะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์ว่า ภิกษุ
ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า กำหนัดแล้ว คือ มีความยินดี มีความเพ่งเล็ง มีจิตปฏิพัทธ์-
บทว่า แปรปรวนแล้ว ความว่า จิตแม้อันราคะย้อมแล้ว ก็แปร
ปรวน แม้อันโทสะประทุษร้ายแล้ว ก็แปรปรวน แม้อันโมหะให้ลุ่มหลง
แล้ว ก็แปรปรวน แต่ที่ว่า แปรปรวนแล้ว ในอรรถนี้ ทรงประสงค์
จิตอันราคะย้อมแล้ว.
ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่ หญิงมนุษย์ ไม่ใช่หญิงยักษ์ ไม่ใช่
หญิงเปรต ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย เป็นหญิงที่รู้เดียงสา สามารถทราบ
ถ้อยคำที่เป็นสุภาษิตทุพภาษิต วาจาชั่วหยาบ และสุภาพ.

วาจา ชื่อว่า ชั่วหยาบ ได้แก่ วาจาที่พาดพิงวัจจมรรค ปัสสาวมรรค
และเมถุนธรรม.
บทว่า พูดเคาะ คือ ที่เรียกกันว่า ประพฤติล่วงเกิน.
คำว่า เหมือนชายหนุ่มหญิงสาว ได้แก่ เด็กชายรุ่นกับเด็กหญิงรุ่น
คือหนุ่มกับสาว ชายบริโภคกามกับหญิงบริโภคกาม.
บทว่า ด้วยวาจาพาดพิงเมถุน ได้แก่ ถ้อยคำที่เกี่ยวด้วยเมถุนธรรม.
บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาสเพื่ออาบัตินั้น
ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต เรียกเข้าหมู่ ไม่ใช่คณะมากรูปด้วยกัน
ไม่ใช่บุคคลรูปเดียว เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส คำว่า
สังฆาทิเสส เป็นการขนานนาม คือเป็นชื่อของอาบัตินิกายนั้นแล
แม้เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.

บทภาชนีย์
มาติกา


[399] มุ่งมรรคทั้งสอง พูดชม ก็ดี พูดติ ก็ดี พูดขอ ก็ดี
พูดอ้อนวอน ก็ดี ถาม ก็ดี ย้อนถาม ก็ดี บอก ก็ดี สอน ก็ดี
ด่า ก็ดี.
[400] ที่ชื่อว่า พูดชม คือ ชม พรรณนา สรรเสริญ มรรค
ทั้งสอง.
ที่ชื่อว่า พูดติ คือ ด่า ว่า ติเตียน มรรคทั้งสอง.