เมนู

และบัณเฑาะก์เป็นทุกกฏกับสังฆาทิเสส. ด้วยอุบายนี้ คำว่า ผู้หญิงถูก
นิสสัคคียวัตถุ, ภิกษุมีความประสงค์ในอันเสพพยายามด้วยกาย, แต่ไม่
รับรู้ผัสสะ ต้องทุกกฏ ดังนี้ ยังมีอยู่ เพียงใด, ชนิดต้องอาบัติ พึงทราบ
ตามนัยก่อนนั่นแหละ เพียงนั้น.
ก็แล ในคำนี้ ข้อว่า กาเยน วายมติ น จ ผสฺสํ ปฏิวิชานาติ
ความว่า ภิกษุเห็นผู้หญิงขว้างดอกไม้ หรือผลไม้ที่ตนขว้างไป ด้วย
ดอกไม้ หรือผลไม้สำหรับขว้างของหล่อน จึงทำกายวิการ คือ กระดิก
นิ้ว หรือยักคิ้ว หรือหลิ่วตา หรือทำวิการเห็นปานนั้นอย่างอื่น ภิกษุนี้
เรียกว่า พยายามด้วยกาย แต่ไม่รับรู้ผัสสะ. แม้ภิกษุนี้ชื่อว่า ต้องทุกกฏ
เพราะมีความพยายามด้วยกาย. ผู้หญิง 2 คน ต้องอาบัติทุกกฏ 2 ตัว,
บัณเฑาะก์กับผู้หญิง ต้องทุกกฏ 2 ตัวเหมือนกัน.

[อธิบายอาบัติและอนาบัติโดยลักษณะ]


พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงชนิดแห่งอาบัติโดยพิสดาร ด้วย
อำนาจแห่งวัตถุอย่างนี้แล้ว บัดนี้จะทรงแสดงอาบัติและอนาบัติโดยย่อ
ด้วยอำนาจลักษณะ จึงตรัสคำว่า เสวนาธิปฺปาโย เป็นอาทิ.
บรรดานัยเหล่านั้น นัยแรกเป็นสังฆาทิเสสด้วยครบองค์ 3 คือ
ภิกษุเป็นผู้อันหญิงถูกต้องมีอยู่ 1 มีความประสงค์ในอันเสพ พยายาม
ด้วยกาย 1 รับรู้ผัสสะ 1 นัยที่สองเป็นทุกกฏ ด้วยครบองค์ 2 คือเพราะ
พยายามเหมือนในการถูกนิสสัคคียวัตถุด้วยนิสสัคคียวัตถุ 1 เพราะไม่รับรู้
ผัสสะเหมือนในการไม่ถูกต้อง 1. นัยที่ 3 ไม่เป็นอาบัติแก่เธอผู้ไม่พยายาม
ด้วยกาย.
จริงอยู่ ภิกษุใดมีความประสงค์จะเสพ แต่มีการนิ่ง รับรู้ คือยินดี