เมนู

9. สาสังกสิกขาบท ว่าด้วยเสนาสนะป่าเป็นที่มีรังเกียจ
และ
10. ปริณตสิกขาบท ว่าด้วยการน้อมลาภ ที่เขาจะถวาย
เป็นของสงฆ์
รวม 10 สิกขาบทเหล่านี้ พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้แล้วดังนี้แล.

บทสรุป


[172] ท่านทั้งหลาย ธรรม คือนิสสัคคิยปาจิตตีย์ 30 สิกขาบท
ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้วแล ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลายในธรรม คือ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ 30 สิกขาบทเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์
แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถามแม้ครั้งที่สองว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว
หรือ ข้าพเจ้าขอถามแม้ครั้งที่สามว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ
ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว ในธรรมคือนิสสัคคิยปาจิตตีย์ 30 สิกขาบท
เหล่านี้ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
นิสสัคคิยกัณฑ์ จบ

ปัตตวรรคที่ 3 สิกขายทที่ 10


พรรณนาปริณตสิกขาบท


ปริณตสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป:-
ในปริณตสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
บทว่า ปูคสฺส แปลว่า หมู่. ความว่า หมู่ผู้บำเพ็ญธรรม.

บทว่า ปฏิยตฺตํ แปลว่า ตกแต่งแล้ว.
ด้วยคำว่า พหู สงฺฆสฺส ภตฺตา นี้ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ย่อมแสดง
ความหมายว่า สงฆ์มีภัตมากมาย คือมีทางเกิดลาภมิใช่น้อย สงฆ์ไม่
บกพร่องด้วยอะไร ๆ.
บทว่า โอโณเชถ แปลว่า พวกท่านจงถวาย.
ถามว่า ก็การที่ภิกษุกล่าวอย่างนี้ ควรหรือ ?
ตอบว่า เพราะเหตุไร จะไม่ควร ? เพราะว่าภิกษาที่เขานำมา
จำเพาะนี้ เป็นของที่เขานำมาตกแต่งไว้ เพื่อประโยชน์แก่สงฆ์ในคราว
หนึ่ง. ธรรมดาปยุตวาจา (การออกปากขอ) ย่อมไม่มีในปัจจัยมีจีวร
เป็นต้น ที่เขานำมาตระเตรียมไว้ และในส่วนที่เขาตั้งเจาะจงไว้.

[อธิบายลาภสงฆ์และการน้อมลาภสงฆ์]


บทว่า สงฺฆิกํ แปลว่า ของมีอยู่แห่งสงฆ์. จริงอยู่ ลาภนั้นแม้
ยังไม่ถึงมือ ก็จัดว่าเป็นของสงฆ์ โดยปริยายหนึ่ง เพราะเขาน้อมไปเพื่อ
สงฆ์แล้ว, แต่ในบทภาชนะ ท่านพระอุบาลีแสดงลาภของสงฆ์โดยตรง
ทีเดียว ด้วยอำนาจแห่งการขยายความ อย่างนี้ว่า ที่ชื่อว่าของสงฆ์ ได้แก่
ของที่เขาถวายแล้ว บริจาคแล้วแก่สงฆ์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวัตถุที่สงฆ์ควรได้ ด้วยบทว่า ลาภํ. ด้วย
เหตุนั้น แล ในนิเทศแห่งบทว่า ลาภํ นั้น จึงตรัสคำว่า จีวรํปิ เป็นต้น .
บทว่า ปริณตํ ได้แก่ ที่เขาถวายสงฆ์ คือ ที่เขาตั้งไว้เป็นของโอน
ไปเพื่อสงฆ์ เอนไปเพื่อสงฆ์. ก็เพื่อทรงแสดงการณ์เป็นเหตุที่เขาน้อมลาภ
นั้นไป พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบทภาชนะว่า คือ ที่เขาเปล่งวาจาว่า
พวกข้าพเจ้า จักถวาย จักกระทำ ดังนี้.