เมนู

จีวรยังไม่ถูกชิงไป ภิกษุสำคัญว่าถูกชิงไปแล้ว อยู่ปราศ เว้นไว้
แต่ภิกษุได้สมมติ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ


จีวรเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุไม่ได้สละ บริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ
จีวรยังไม่ถึง 6 ราตรี ภิกษุสำคัญว่าเกิน...ต้องอาบัติทุกกฏ
จีวรยังไม่ถึง 6 ราตรี ภิกษุสงสัย...ต้องอาบัติทุกกฏ

ไม่ต้องอาบัติ


จีวรยังไม่ถึง 6 ราตรี ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ถึง 6 ราตรี บริโภค
ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร


[168] ภิกษุอยู่ปราศ 6 ราตรี 1 ภิกษุอยู่ปราศไม่ถึง 6 ราตรี 1
ภิกษุอยู่ปราศ 6 ราตรีแล้วกลับมายังคามสีมา อยู่แล้วหลีกไป 1 ภิกษุ
ถอนเสียภายใน 6 ราตรี 1 ภิกษุสละให้ไป 1 จีวรหาย 1 จีวรฉิบหาย 1
จีวรถูกไฟไหม้ 1 จีวรถูกชิงเอาไป 1 ภิกษุถือวิสาสะ 1 ภิกษุได้สมมติ 1
ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ 9 จบ

ปัตตวรรคที่ 3 สิกขาบทที่ 9


พรรณนาสาสังกสิกขาบท


สาสังกสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป:-
ในสาสังกสิกขาบทนั้นมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
สองบทว่า วุฏฺฐวสฺสา อารญฺญเกสุ มีความว่า ภิกษุทั้งหลาย
เหล่านั้น แม้ในกาลก่อน ก็อยู่ในป่าเหมือนกัน. แต่ภิกษุเหล่านั้นอยู่
จำพรรษาในเสนาสนะใกล้เเดนบ้าน ด้วยสามารถแห่งปัจจัย เพราะเป็น
ผู้มีจีวรคร่ำคร่า เป็นผู้มีจีวรสำเร็จแล้ว ปรึกษากันว่า บัดนี้พวกเราหมด
กังวลแล้ว จักกระทำสมณธรรม จึงพากันอยู่ในเสนาสนะป่า.
บทว่า กตฺติกโจรกา ได้แก่ พวกโจรในเดือน 12.
บทว่า ปริปาเตนฺติ มีความว่า ย่อมรบกวน คือ วิ่งขวักไขว่ไป
มาในที่นั้น ๆ แล้วทำให้หวาดเสียว ให้หนีไป.
สองบทว่า อนฺตรฆเร นิกฺขิปิตุํ ได้แก่ เพื่อเก็บไว้ในภายในบ้าน.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอนุญาตให้เก็บไว้ในละแวกบ้าน เพื่อ
สงวนจีวรไว้ เพราะธรรมดาว่า ปัจจัยทั้งหลาย เป็นของหาได้ยากโดย
ชอบธรรม, จริงอยู่ ภิกษุผู้มีความขัดเกลา ไม่อาจเพื่อจะขอจีวร แม้
กะมารดา. แต่พระองค์ไม่ทรงห้ามการอยู่ป่า เพราะเป็นการสมควรแก่
ภิกษุทั้งหลาย.
ในคำว่า อุปวสฺสํ โข ปน นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
บทว่า อุปวสฺสํ คือ เข้าอยู่แล้ว. มีคำอธิบายว่า เข้าอยู่จำพรรษา
แล้ว. แท้จริง บัณฑิตพึงเห็นนิคหิตในคำว่า อุปวสฺสํ นี้ ดุจในคำมี
คำว่า อุปสมฺปชฺชํ เป็นต้น. ความว่า เข้าถึงฤดูฝนและอยู่แล้ว (เข้าจำ