เมนู

พระบัญญัติ


48. 9. อนึ่ง ภิกษุจำพรรษาแล้ว จะอยู่ในเสนาสนะป่า ที่
รู้กันว่าเป็นที่มีรังเกียจ มีภัยจำเพาะหน้า ตลอดถึงวันเพ็ญเดือน 12
ปรารถนาอยู่ พึงเก็บจีวร 3 ผืน ๆ ใดผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้านได้
และปัจจัยอะไร ๆ เพื่อจะอยู่ปราศจากจีวรนั้น จะพึงมีแก่ภิกษุนั้น
ภิกษุนั้นพึงอยู่ปราศจากจีวรนั่นได้ 6 คืนเป็นอย่างยิ่ง ถ้าเธออยู่ปราศ
ยิ่งกว่านั้น เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์


[166] บทว่า อนึ่ง...จำพรรษาแล้ว คือ ภิกษุออกพรรษาแล้ว
วันเพ็ญเดือน 12 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ตรงกับวันปุรณมีดิถีเป็น
ที่เต็ม 4 เตือน ในกัตติกมาส
คำว่า เสนาสนะป่า เป็นต้น ความว่า เสนาสนะที่ชื่อว่า ป่า
นั้นมีระยะไกล 500 ชั่วธนูเป็นอย่างน้อย
ที่ชื่อว่า เป็นที่รังเกียจ คือ ในอาราม อุปจารแห่งอาราม มี
สถาน ที่อยู่ ที่กิน ที่ยืน ที่นั่ง ที่นอน ของพวกโจรปรากฏอยู่
ที่ชื่อว่า มีภัยเฉพาะหน้า คือ ในอาราม อุปจารแห่งอาราม มี
มนุษย์ถูกพวกโจร ฆ่า ปล้น ทุบตี ปรากฏอยู่
คำว่า ภิกษุ...จะอยู่ในเสนาสนะป่า... ความว่า ภิกษุจะยับยั้งอยู่
ในเสนาสนะเห็นปานนั้น.

บทว่า ปรารถนาอยู่ คือ พอใจอยู่
คำว่า จีวร 3 ผืน ๆ ใดผืนหนึ่ง ได้แก่ ผ้าสังฆาฏิ ผ้าอุตราสงค์
หรือผ้าอันตรายวาสก
คำว่า พึงเก็บ...ไว้ในละแวกบ้านได้ คือ พึงเก็บไว้ในโคจรคาม
โดยรอบได้
คำว่า และปัจจัยอะไร ๆ เพื่อจะอยู่ปราศจากจีวรนั้น จะพึงมี
แก่ภิกษุนั้น คือ มีเหตุ มีกิจจำเป็น
คำว่า ภิกษุนั้นพึงอยู่ปราศจากจีวรนั้นได้ 6 คืนเป็นอย่างยิ่ง ความ
ว่า พึงอยู่ปราศจากได้เพียง 6 คืนเป็นอย่างมาก.
บทว่า เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ คือ ยกเว้นภิกษุผู้ได้รับสมมติ
คำว่า ถ้าเธออยู่ปราศยิ่งกว่านั้น ความว่า เมื่ออรุณที่ 7 ขึ้นมา
จีวรนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือ
บุคคล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้นอย่างนี้:-

วิธีเสียสละ


เสียสละแก่สงฆ์


ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้า
ภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า อยู่ปราศแล้วเกิน 6 คืน เป็น
ของจำจะสละ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ ข้าพเจ้าสละจีวรนี้แก่สงฆ์