เมนู

นั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อ
ความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว

ทรงบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนภิกษุเหล่านั้นโดยอเนกปริยาย ดังนี้
แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก
ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความ
เกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย
ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่
น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย
ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่
ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท
แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ 10 ประการ คือ เพื่อความ
รับว่าดีแห่งสงฆ์ 1 เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ 1 เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อ-
ยาก 1 เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก 1 เพื่อป้องกันอาสวะ
อันจะบังเกิดในปัจจุบัน 1 เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต 1
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส 1 เพื่อความเลื่อมใสยิ่ง
ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว 1 เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม 1 เพื่อ
ถือตามพระวินัย 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ


48. 9. อนึ่ง ภิกษุจำพรรษาแล้ว จะอยู่ในเสนาสนะป่า ที่
รู้กันว่าเป็นที่มีรังเกียจ มีภัยจำเพาะหน้า ตลอดถึงวันเพ็ญเดือน 12
ปรารถนาอยู่ พึงเก็บจีวร 3 ผืน ๆ ใดผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้านได้
และปัจจัยอะไร ๆ เพื่อจะอยู่ปราศจากจีวรนั้น จะพึงมีแก่ภิกษุนั้น
ภิกษุนั้นพึงอยู่ปราศจากจีวรนั่นได้ 6 คืนเป็นอย่างยิ่ง ถ้าเธออยู่ปราศ
ยิ่งกว่านั้น เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์


[166] บทว่า อนึ่ง...จำพรรษาแล้ว คือ ภิกษุออกพรรษาแล้ว
วันเพ็ญเดือน 12 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ตรงกับวันปุรณมีดิถีเป็น
ที่เต็ม 4 เตือน ในกัตติกมาส
คำว่า เสนาสนะป่า เป็นต้น ความว่า เสนาสนะที่ชื่อว่า ป่า
นั้นมีระยะไกล 500 ชั่วธนูเป็นอย่างน้อย
ที่ชื่อว่า เป็นที่รังเกียจ คือ ในอาราม อุปจารแห่งอาราม มี
สถาน ที่อยู่ ที่กิน ที่ยืน ที่นั่ง ที่นอน ของพวกโจรปรากฏอยู่
ที่ชื่อว่า มีภัยเฉพาะหน้า คือ ในอาราม อุปจารแห่งอาราม มี
มนุษย์ถูกพวกโจร ฆ่า ปล้น ทุบตี ปรากฏอยู่
คำว่า ภิกษุ...จะอยู่ในเสนาสนะป่า... ความว่า ภิกษุจะยับยั้งอยู่
ในเสนาสนะเห็นปานนั้น.