เมนู

เกิดความกำหนัด มีอาบัติ 100 ตัว ฉันใด, แม้ในเหตุหนุน 4 อย่าง
มีปวดอุจจาระเป็นต้น ก็มีอาบัติ 400 ตัว เพราะแบ่งเหตุหนุนแต่ละอย่าง
ออกไปเป็นอย่างละ 100 ตัว ๆ ฉันนั้น. อาบัติ 400 ตัวเหล่านี้ และ
อาบัติ 100 ตัวก่อนดังกล่าวมานี้ จึงเป็นอาบัติ 500 ตัว ด้วยอำนาจ
แห่งเหตุหนุน 5 อย่าง ในรูปภายในก่อน. เหมือนอย่างว่าในรูปภายใน
มีอาบัติ 500 ตัว ฉันใด, ในรูปภายนอกมีอาบัติ 500 ตัว ในรูปทั้งที่
เป็นภายในทั้งที่เป็นภายนอก มีอาบัติ 500 ตัว, เมื่อภิกษุแอ่นสะเอวใน
อากาศ มีอาบัติ 500 ตัว ฉันนั้น, บัณฑิตพึงทราบ อาบัติทั้งหมด
2,000 ตัว ด้วยอำนาจปัญจกะทั้ง 4 ด้วยประการฉะนี้.

[อธิบายขัณฑจักรและพัทธจักรเป็นต้น]


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสพระบาลีมีความวิจิตรไปด้วยชนิด
แห่งขัณฑจักรและพัทธจักรเป็นต้นว่า เพื่อความหายโรคและเพื่อความ
สุข ดังนี้ ก็เพื่อแสดงว่า เมื่อมีการปล่อยสุกกะให้เคลื่อนด้วยความ
พยายามโดยความจงใจ ของภิกษุผู้จับ (องคชาต) ตามลำดับ หรือผิด
ลำดับ หรือเบื้องต่ำใน 10 บท มีบทว่า อาโรคฺยตฺถาย เป็นต้นก่อน
แล้วจับเบื้องบนก็ดี จับเบื้องบนแล้วจับเบื้องต่ำก็ดี จับทั้งสองข้างแล้ว
หยุดอยู่ที่ตรงกลางก็ดี จับที่ตรงกลางแล้วขยับไปทั้งสองข้างก็ดี จับให้มี
มูลรวมกันทั้งหมดก็ดี ชื่อว่าความผิดที่หมาย ย่อมไม่มี.
ในพระบาลีนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสขัณฑจักรอันหนึ่ง ประกอบ
อาโรคยบท ด้วยทุก ๆ บท อย่างนี้ว่า เพื่อความหายโรคและเพื่อ

ความสุข เพื่อความหายโรคและเพื่อเภสัช ดังนี้ เป็นต้น ทรงประกอบ
สุขบทเป็นต้นด้วยทุก ๆ บท นำมาจนถึงบทเป็นลำดับที่ล่วงไปแห่งตน ๆ
แล้วตรัส 9 พัทธจักร, ด้วยประการดังกล่าวมานี้ จึงเป็นจักรมีมูลเดียว
กัน 10 จักร. จักรเหล่านั้นกับด้วยจักรมีมูลสองเป็นต้น อันผู้ศึกษาพึง
ทราบให้พิสดาร โดยความไม่งมงาย. ส่วนใจความในเอกมูลกจักรแม้นี้
ปรากฏชัดแล้วแล. และตรัสจักรทั้งหลาย แม้ในสุกกะสีเขียวเป็นต้น
โดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุจงใจ พยายามปล่อยสุกกะสีเขียวและสีเหลือง
ดังนี้ เหมือนใน 10 บท มีบทว่า เพื่อความหายโรค เป็นต้น
ฉะนั้น. แม้จักรเหล่านั้น ก็ควรทราบให้พิสดารโดยความไม่งมงาย. ส่วน
ใจความแม้ในจักรทั้งหลายเหล่านั้น ก็ปรากฏชัดแล้วเหมือนกัน . ตรัส
มิสสกจักรอันหนึ่งอีกประกอบบทหลังกับบทหน้าอย่างนี้ คือ บทหนึ่งกับ
บทหนึ่ง สองบทกับสองบท ฯลฯ สิบบทกับสิบบทว่า อาโรคฺยตฺถญฺจ
นีลญฺจ อาโรคฺยตฺถญฺจ สุขตฺถญฺจ นีลญฺจ ปีตกญฺจ
ดังนี้ เป็นต้น.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสจักรโดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุจงใจ
พยายามว่า 'เราจักปล่อยสุกกะสีเขียว' แต่สุกกะสีเหลืองเคลื่อน ดังนี้
เพื่อแสดงนัยแม้น เพราะเมื่อภิกษุจงใจพยายามว่า " จักปล่อยสุกกะสีเขียว"
ครั้นสุกกะสีเขียวเป็นต้นเคลื่อนก็ดี จงใจพยายามด้วยอำนาจแห่งสุกกะสี-
เหลืองเป็นต้น ครั้นสุกกะสีเหลืองเป็นต้นนอกนี้ เคลื่อนก็ดี ไม่มีความ
ผิดสังเกตเลย. ต่อจากนั้น ทรงประกกอบบทหลังทั้งหมดด้วย 9 บท มี
นีลบทเป็นต้น แล้วตรัสให้ชื่อว่า กุจฉิจักร. ต่อจากนั้น ทรงประกอบ
9 บท มีปีตกบทเป็นต้น เข้าด้วยนีลบทเพียงบทเดียว แล้วตรัสให้ชื่อว่า
ปิฏฐิจีกร. ต่อจากนั้น ทรงประกอบ 9 บทมีโลหิตกะเป็นต้น เข้าด้วย

ปีตกบทเดียวเท่านั้น แล้วตรัสทุติยปิฏฐิจักร. ทรงประกอบ 9 บท ๆ
นอกนี้ แม้กับด้วยโลหิตกบทเป็นต้นอย่างนั้น แล้วตรัส 8 จักรแม้เหล่า
อื่น; เพราะฉะนั้น พึงทราบปิฏฐิจักรมีคติ 10 อย่าง ด้วยประการฉะนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงครุกาบัติอย่างเดียว โดยพิสดารค้วย
อำนาจแห่งจักรมิใช่น้อยมีขัณฑจักรเป็นต้นอย่างนี้แล้ว เพื่อจะทรงแสดง
ครุกาบัติ ลหุกาบัติ และอนาบัติ ด้วยอำนาจแห่งองค์เท่านั้น จึงตรัส
คำเป็นต้นว่า ย่อมจงใจ ย่อมพยายาม, สุกกะเคลื่อน ดังนี้.
บรรดานัยเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสครุกาบัติถึงพร้อม
ด้วยองค์ 3 ในเพราะพยายามปล่อยอสุจิแห่งภิกษุผู้จงใจ เพื่อต้องการ
ความหายโรคเป็นต้น ในเวลาเกิดมีความกำหนัดเป็นต้น ในอัชฌัตตรูป
เป็นต้น แม้โดยนัยก่อนนั่นแล. ตรัสลหุกาบัติ คือ อาบัติถุลลัจจัย สำเร็จ
ด้วยองก์ 2 ในเมื่อไม่มีการปล่อยแห่งภิกษุผู้จงใจและพยายามโดยนัยที่
สอง. ตรัสอนาบัติโดย 6 นัย มีนัยว่า จงใจไม่พยายาม อสุจิเคลื่อน
ดังนี้เป็นต้น. ก็ความต่างแห่งอาบัติและอนาบัตินี้ ละเอียด สุขุม เพราะ-
ฉะนั้น พระวินัยธรควรกำหนดหมายให้ดี ครั้นกำหนดให้ดีแล้ว ถูก
ซักถามถึงความรังเกียจ พึงบอกอาบัติ หรืออนาบัติ หรือพึงกระทำ
วินัยกรรม. จริงอยู่ พระวินัยธรเมื่อกำหนดไม่ได้ ทำลงไป ย่อมถึง
ความลำบาก และไม่สามารถจะแก้ไขซึ่งบุคค เช่นนั้นได้ ดุจหมดผู้ไม่รู้
ต้นเหตุแห่งโรคแล้วปรุงยาฉะนั้น.
วิธีกำหนดในอธิการว่าด้วยความต่างแห่งอาบัติ และอนาบัตินั้น
ดังต่อไปนี้:- ภิกษุผู้มาเพราะความรังเกียจ อันพระวินัยธรพึงถามจน
ถึง 3 ครั้งว่า ท่านต้องด้วยประโยคไหน ด้วยความกำหนัดไหน. ถ้า

ครั้งแรกเธอกล่าวอย่างหนึ่ง แล้วภายหลังกล่าวอีกอย่างหนึ่ง ไม่กล่าวโดย
ทางเดียว, พึงกล่าวเตือนเธอว่า ท่านไม่พูดทางเดียวพูดเลี่ยงไป, เรา
ไม่อาจเพื่อจะทำวินัยกรรมแก่ท่านได้, ท่านจงไปแสวงหาความสวัสดีเถิด.
ก็ถ้าเธอกล่าวยืนยันโดยทางเดียวเท่านั้นถึง 3 ครั้ง, กระทำตนให้แจ้งตาม
ความเป็นจริง, ลำดับนั้น พระวินัยธรพึงพิจารณาประโยค 11 ด้วย
อำนาจแห่งราคะ 11 อย่าง เพื่อวินิจฉัย อาบัติ อนาบัติ ครุกาบัติและ
ลหุกาบัติของเธอ.

[อธิบายราคะและประโยค 11 อย่าง]


บรรดาราคะและประโยค 11 นั้น ราคะ 11 เหล่านี้ คือ ความ
ยินดีเพื่อจะให้เคลื่อน 1 ความยินดีในขณะเคลื่อน 1 ความยินดีในเมื่อ
อสุจิเคลื่อนแล้ว 1 ความยินดีในเมถุน 1 ความยินดีในผัสสะ 1 ความ
ยินดีในความคัน 1 ความยินดีในการดู 1 ความยินดีในกิริยานั่ง 1 ความ
ยินดีในคำพูด ความรักอาศัยเรือน 1 ความยินดีด้วยกิ่งไม้ที่พึงหักได้ 1.
ในราคะ 11 อย่างนั้น พึงทราบวินิจฉัยดังนี้:- ความยินดีเพื่อจะ
ให้สุกกะเคลื่อน ชื่อว่า โมจนัสสาทะ. ความยินดีในขณะอสุจิเคลื่อน ชื่อว่า
มุจจนัสสาทะ. ความยินดีในเมื่ออสุจิเคลื่อนแล้ว ชื่อว่า มุตตัสสาทะ.
ความยินดีในเมถุน ชื่อว่า เมถุนัสสาทะ. ความยินดีในผัสสะ ชื่อว่า
ผัสสัสสาทะ. ความยินดีในความคัน ชื่อว่า กัณฑวนัสสาทะ. ความยินดี
ในการดู ชื่อว่า ทัสสนัสสาทะ. ความยินดีในกิริยานั่ง ชื่อว่า นิสสัชชัส-
สาทะ. ความยินดีในถ้อยคำ ชื่อว่า วาจัสสาทะ. ความรักอาศัยเรือน