เมนู

หาย 1 จีวรฉิบหาย 1 จีวรถูกไฟไหม้ 1 จีวรถูกชิงเอาไป 1 ภิกษุถือ
วิสาสะ 1 ในภายในสมัย 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้อง
อาบัติแล.
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ 8 จบ

ปัตตวรรคที่ 3 สิกขาบทที่ 8


พรรณนาอัจเจกจีวรสิกขาบท


อัจเจกจีวรสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าว
ต่อไป:- ในอัจเจกจีวรสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
บทว่า ทสาหานาคตํ มีความว่า วันทั้งหลาย 10 ชื่อว่า ทสาหะ.
(วันปุรณมีที่ครบ 3 เดือนแห่งเดือนกัตติกา) ยังไม่มาโดยวัน 10 นั้น
ชื่อว่า ทสาหานาคตะ. อธิบายว่า ยังไม่มาถึง 10 วัน. ในวันปุรณมีที่
ยังไม่มาถึงอีก 10 วันนั้น. ทุติยาวิภัตติลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ ด้วย
อำนาจแห่งอัจจันตสังโยค. เพราะเหตุนั้นแล ในบทภาชนะแห่งบทว่า
ทสาหานาคตํ นั้น จึงตรัสว่า ทสาหานาคตาย.
ก็คำว่า ปวารณาย นี้ เป็นคำประกอบตามหลัง เพื่อความไม่ฉงน
เพื่อจะแสดงปวารณาที่ตรัสไว้ว่า ทสาหานาคตา โดยสรูป.

[อธิบายการเกิดแห่งอัจเจกจีวร]


บทว่า กตฺติกเตมาสิกปุณฺณมํ แปลว่า วันปุรณมีที่ครบ 3 เดือน
แห่งเดือนกัตติกาต้น. แม้ในบทว่า กตฺติกเตมาสิกปุณฺณมํ นี้ ก็เป็น
ทุติยาวิภัตติลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ โดยนัยก่อนเหมือนกัน เพราะ

ประกอบตามหลังบทต้น. มีคำอธิบายว่า วันมหาปวารณาแรก ตรัสเรียก
ว่า ทสาหานาคตา ตั้งแต่กาลใดไป. ถ้าแม้นว่าอัจเจกจีวร พึงเกิดขึ้น
แก่ภิกษุแน่นอนตลอดวันเหล่านั้นทีเดียว (ใน 10 วันนั้น วันใดวันหนึ่ง).
ภิกษุรู้ว่า นี้เป็นอัจเจกจีวร (จีวรรีบด่วน) พึงรับไว้ได้เเม้ทั้งหมด.
ด้วยคำว่า ทสาหานาคตํ กตฺติกเตมาสิกปุณฺณมํ นั้น เป็นอัน
พระองค์ทรงแสดงกาลเป็นที่เก็บจีวรซึ่งเกิดขึ้นจำเดิมแต่วันที่ 5 ค่ำ แห่ง
ชุณหปักษ์ของเดือนปวารณา. ก็กาลเป็นที่เก็บจีวรนั่นสำเร็จด้วยคำว่า พึง
ทรงอติเรกจีวรได้ 10 วัน เป็นอย่างยิ่ง นี้ ก็จริงแล แต่ทรงแสดง
เรื่องเหมือนไม่เคยมี ด้วยอำนาจแห่งเรื่องที่เกิดขึ้น แล้วทรงตั้งสิกขาบท
ไว้.
จีวรรีบด่วนตรัสเรียกว่า อัจเจกจีวร. ก็เพื่อแสดงจีวรนั้นเป็นผ้า
รีบด่วน จึงตรัสคำว่า บุคคลประสงค์จะไปในกองทัพก็ดี เป็นต้น .
บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า สทฺธา นี้ ทรงแสดงเหตุเพียง
สัทธาธรรมดาเท่านั้น.
ด้วยบทว่า ปสาโท นี้ ทรงแสดงสัทธาอย่างแรงกล้า มีความ
ผ่องใสดี.
จีวรที่ทายกมีความประสงค์จะถวายด้วยเหตุเหล่านี้จึงส่งทูตมา หรือ
มาบอกเองอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าจักถวายผ้าจำนำพรรษา ได้ชื่อว่า อัจเจก-
จีวร ในคำว่า เอตํ อจฺเจกจีวรํ นาม นี้แล. แต่ถึงจีวรที่ภิกษุปัจจุทธรณ์
(ถอน) แม้ซึ่งจีวรที่มิใช่อัจเจกจีวร อันเกิดขึ้นตั้งแต่วัน 6 ค่ำแล้ว เก็บ
ไว้ ก็ได้บริหารนี้เหมือนกัน .
หลายบทว่า สญฺญาณํ กตฺวา นิกฺขิปิตฺพฺพํ ได้แก่ พึงทำเครื่องหมาย

บางอย่างแล้ว เก็บไว้. คำว่า พึงทำเครื่องหมายแล้วเก็บไว้ นี้ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสไว้ทำไม ? เพราะว่า ถ้าภิกษุทั้งหลายแจกอัจเจกจีวรนั้น
ก่อนวันปวารณา, ภิกษุที่ได้ผ้าอัจเจกจีวรนั้นไป ต้องไม่เป็นผู้ขาดพรรษา.
แต่ถ้าเป็นผู้ขาดพรรษา จีวรจะกลายเป็นของสงฆ์ไปเสีย; เพราะฉะนั้น
จักต้องกำหนดแจกให้ดี; (เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำนี้ไว้).
คำอย่างนี้ว่า อจฺเจกจีวเร อจฺเจกจีวรสญฺญี เป็นต้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสหมายเอาเฉพาะจีวรที่แจกกันไปแล้ว. แต่ถ้ายังไม่ได้แจก
กัน หรือเป็นจีวรที่เก็บไว้ในเรือนคลังของสงฆ์, แม้ในเพราะล่วงสมัยไป
ก็ไม่เป็นอาบัติ. อติเรกจีวรได้บริหาร 10 วัน ด้วยประการฉะนี้ ไตรจีวร
ไม่มีบริหารเลยแม้วันเดียว.
ผู้ศึกษาพึงทราบว่า จีวร คือ ผ้าอาบน้ำฝนที่ยังไม่ได้ทำ เมื่อ
ไม่ได้กรานกฐิน ได้บริหาร 5 เดือน, เมื่อเพิ่มฤดูฝน (เพิ่มอธิกมาส)
ได้บริหาร 6 เดือน, เมื่อได้กรานกฐินได้บริหารอีก 4 เดือน, ได้บริหาร
อีกหนึ่งเดือน ด้วยอำนาจการอธิษฐานให้เป็นจีวรเดิม เมื่อมีความหวังจะ
ได้ (ผ้า) ในวันสุดท้ายแห่งฤดูหนาว รวมเป็นได้บริหาร 11 เดือน
อย่างนี้. อัจเจกจีวร เมื่อไม่ได้กรานกฐิน ได้บริหาร 1 เดือนกับ 11 วัน,
เมื่อได้กรานกฐิน ได้บริหาร 5 เดือนกับ 11 วัน, ต่อจากนั้นไป ไม่
ได้บริหาร แม้วันเดียว.
บทว่า อนจฺเจกจีวเร ได้แก่ ในจีวรอื่นที่คล้ายกับอัจเจกจีวร. คำ
ที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้นแล.
สิกขาบทนี้ มีกฐินเป็นสมุฏฐาน เป็นอกิริยา โนสัญญาวิโมกข์

อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต 3 มีเวทนา 3
ฉะนี้แล.
อัจเจกจีวรสิกขาบท จบ

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ 9
เรื่องภิกษุหลายรูป


[165] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น
ภิกษุทั้งหลายออกพรรษาแล้วยับยั้งอยู่ในเสนาสนะป่า พวกโจรเดือน 12
เข้าใจว่า ภิกษุทั้งหลายจึงได้ลาภแล้ว จึงพากันเที่ยวปล้น ภิกษุทั้งหลาย
ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงอนุญาตให้เก็บจีวรไว้ในละแวกบ้าน


ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมีกถา ในเพราะเหตุ
เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่ในเสนาสนะป่า เก็บไตร
จีวรผืนใดผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้านได้
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
อนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่ในเสนาสนะป่า เก็บไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่งไว้ในละแวก
บ้านได้ จึงเก็บไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้าน แล้วอยู่ปราศเกิน
6 คืน จีวรเหล่านั้นหายบ้าง ฉิบหายบ้าง ถูกไฟไหม้บ้าง ถูกหนูกัด