เมนู

เป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจ-
คร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย
ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่า
เลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย
ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่
ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท
แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ 10 ประการ คือ เพื่อความ
รับว่าดีแห่งสงฆ์ 1 เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ 1 เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อ-
ยาก 1 เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก 1 เพื่อป้องกันอาสวะ
อันจะบังเกิดในปัจจุบัน 1 เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต 1
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส 1 เพื่อความเลื่อมใสยิ่ง
ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว 1 เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม 1
เพื่อถือตามพระวินัย 1
ก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ


47. 8. วันปุรณมีที่ครบ 3 เดือน แห่งเดือนกัตติกา ยังไม่
มาอีก 10 วัน อัจเจกจีวรเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ภิกษุรู้ว่าเป็นอัจเจกจีวร
พึงรับไว้ได้ ครั้นรับไว้แล้ว พึงเก็บไว้ได้จนตลอดสมัยที่เป็นจีวรกาล
ถ้าเธอเก็บไว้ยิ่งกว่านั้น เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
เรื่องมหาอำมาตย์คนหนึ่ง จบ

สิกขาบทวิภังค์


[162] บทว่า ยังไม่มาอีก 10 วัน คือ ก่อนวันปวารณา 10 วัน
บทว่า วันปุรณมีที่ครบ 3 เดือน แห่งเดือนกัตติกา นั้น คือวัน
ปวารณา ท่านกล่าวว่าวันเพ็ญเดือนกัตติกา
ที่ชื่อว่า อัจเจกจีวร อธิบายว่า บุคคลประสงค์จะไปในกองทัพก็ดี
บุคคลประสงค์จะไปแรมคืนต่างถิ่นก็ดี บุคคลเจ็บไข้ก็ดี สตรีมีครรภ์ก็ดี
บุคคลยังไม่มีศรัทธา มามีศรัทธาเกิดขึ้นก็ดี บุคคลที่ยังไม่เลื่อมใส มามี
ความเลื่อมใสเกิดขึ้นก็ดี ถ้าเขาส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า นิมนต์
ท่านผู้เจริญมา ข้าพเจ้าจัดถวายผ้าจำนำพรรษา ผ้าเช่นนี้ชื่อว่าอัจเจกจีวร
คำว่า ภิกษุรู้ว่าเป็นอัจเจกจีวร พึงรับไว้ได้ ครั้นรับไว้แล้ว พึง
เก็บไว้ได้จนตลอดสมัยที่เป็นจีวรกาล ดังนี้นั้น คือ พึงทำเครื่องหมาย
ว่า นี้อัจเจกจีวร แล้วเก็บไว้
ที่ชื่อว่า สมัยที่เป็นจีวรกาล คือ เมื่อไม่ได้กรานกฐิน ได้ท้าย
ฤดูฝน 1 เดือน เมื่อกรานกฐินแล้ว ได้ขยายออกไปเป็น 5 เดือน
คำว่า ถ้าเธอเก็บไว้ยิ่งกว่านั้น คือ เมื่อไม่ได้กรานกฐิน เก็บไว้
ล่วงเลยวันสุดท้ายแห่งฤดูฝน เป็นนิสสัคคีย์ เมื่อได้กรานกฐินแล้ว เก็บ
ไว้ล่วงเลยวันกฐินเดาะ เป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องเสียสละแก่สงฆ์
คณะ หรือบุคคล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละอัจเจกจีวรนั้น
อย่างนี้:-