เมนู

ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ
พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรแก่ท่าน ดังนี้.

บทภาชนีย์


ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์


[159] เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ เขาไม่ได้
ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาช่างหูกของเจ้าเรือนแล้ว ถึงความกำหนดใน
จีวร เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไป
หาช่างหูกของเจ้าเรือนแล้ว ถึงความกำหนดในจีวร เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง
เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ เขาไม่ได้ปวารณาไว้
ก่อน เข้าไปหาช่างหูกของเจ้าเรือนแล้ว ถึงความกำหนดในจีวร เป็น
นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ


เจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ...ต้องอาบัติทุกกฏ
เจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุสงสัย...ต้องอาบัติทุกกฏ

ไม่ต้องอาบัติ


เจ้าเรือนเป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ...ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร


[160] ภิกษุขอต่อญาติ 1 ภิกษุขอต่อคนปวารณา 1 ภิกษุขอ
เพื่อประโยชน์ของภิกษุอื่น 1 ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตนเอง 1 เจ้า-
เรือนใคร่จะให้ทอจีวรมีราคามาก ภิกษุให้ทอจีวรมีราคาน้อย 1 ภิกษุ
วิกลจริต 1 ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ 7 จบ

ปัตตวรรคที่ 3 สิกขาบทที่ 7


พรรณนามหาเปสการสิกขาบท


มหาเปสการสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าว
ต่อไป:- ในมหาเปสการสิกขาบทนั้นมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
สองบทว่า สุตฺตํ ธารยิตฺวา ได้แก่ ชั่งด้ายให้ได้กำหนดหนึ่งปละ.
บทว่า อปฺปิตํ แปลว่า ให้แน่น.
บทว่า สุวีตํ ได้แก่ ให้เป็นของที่ทอดี คือ ให้เป็นของที่ทอ
เสมอในที่ทุกแห่ง.
บทว่า สุปฺปวายิตํ ได้แก่ ขึงให้ดี คือ ขึงหูกให้ตึงเสมอในที่
ทุกแห่ง.
บทว่า สุวิเลขิตํ แปลว่า ให้เป็นของสางดีด้วยเครื่องสาง.
บทว่า สุวิตจฺฉิตํ แปลว่า ให้เป็นของกรีดดีด้วยหวี (ด้วยแปรง).
อธิบายว่า ให้เป็นของชำระเรียบร้อย.
บทว่า ปฏิพทฺธํ แปลว่า ความขาดแคลน.