เมนู

ข้อว่า สยํ อจฺฉินฺทติ นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ มีความว่า สำหรับ
ภิกษุผู้ชิงเอาจีวรผืนเดียว และมากผืนซึ่งเนื่องเป็นอันเดียวกัน เป็นอาบัติ
ตัวเดียว. เมื่อภิกษุชิงเอาจีวรมากผืนซึ่งไม่เนื่องเป็นอันเดียวกัน และตั้ง
อยู่แยกกัน และเมื่อใช้ให้ผู้อื่นนำมาให้โดยสั่งอย่างนี้ว่า เธอจงนำสังฆาฎิ
มา, จงนำผ้าอุตราสงค์มา เป็นอาบัติมากตัวตามจำนวนวัตถุ. แม้เมื่อ
กล่าวว่า เธอจงนำจีวรทั้งหมดที่เราให้เเล้วคืนมา ก็เป็นอาบัติจำนวนมาก
เพราะคำพูดคำเดียวนั่นแล.
ข้อว่า อญฺญํ อาณาเปติ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส มีความว่า สั่งว่า
เธอจงถือเอาจีวร เป็นทุกกฏตัวเดียว. ภิกษุผู้รับสั่งถือจีวรหลายตัว, ก็
เป็นปาจิตตีย์ตัวเดียว เมื่อภิกษุกล่าวว่า เธอจงเอาสังฆาฎิมา, จงเอา
อุตราสงค์มา เป็นทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด. เมื่อกล่าวว่า เธอจงเอาจีวรที่เรา
ให้ทั้งหมดคืนมา เป็นอาบัติจำนวนมาก เพราะคำพูดคำเดียว.
สองบทว่า อญฺญํ ปริกฺขารํ มีความว่า บริขารอย่างใดอย่างหนึ่ง
เว้นจีวรอย่างเล็กที่ควรจะวิกัปได้ โดยที่สุดแม้แต่เข็ม. แม้ในจำพวกเข็ม
ที่ห่อเก็บไว้ ก็เป็นทุกกฏหลายตัวตามจำนวนวัตถุ. ในเข็มที่ห่อไว้หลวม ๆ
(ก็เป็นทุกกฏมากตัวตามจำนวนวัตถุ) อย่างนั้นเหมือนกัน . ในมหาปัจจรี
ท่านกล่าวว่า ก็ในเข็มทั้งหลายที่เขามัดไว้เเน่นเป็นทุกกฏตัวเดียวเท่านั้น.
แม้ในเข็มที่เขาใส่ไว้ในกล่องเข็ม ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน. ถึงแม้ใน
เภสัชมีเครื่องเผ็ดร้อน 3 ชนิด ที่เขาใส่ไว้ในถุงย่ามมัดไว้หย่อน และมัด
ไว้เป็น ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน.

[อธิบายการคืนให้เเก่เจ้าของเดิมแห่งภิกษุผู้รับไป]


สองบทว่า โส วา เทติ มีความว่า ให้คืนอย่างนี้ว่า ท่านขอรับ !

จีวรนี้สมควรแก่ท่านเท่านั้น ดังนี้ ก็ดี. อีกอย่างหนึ่ง ก็ภิกษุหนุ่มนั้นถูก
พระเถระนั้น กล่าวถ้อยคำมีอาทิอย่างนี้ว่า คุณ ! เราได้ให้จีวรแก่เธอ
ด้วยหวังว่า จักทำวัตรและปฏิวัตร จักถืออุปัชฌาย์ จักเรียนซึ่งธรรมใน
สำนักของเรา มาบัดนี้ เธอนั้นไม่กระทำวัตร ไม่ถืออุปัชฌาย์ ไม่เรียน
ธรรม ดังนี้ จึงให้คืนว่า ท่านขอรับ ! ดูเหมือนท่านพูดเพื่อต้องการ
จีวร, นี้จีวรของท่าน. ภิกษุผู้รับไปนั้น ให้คืนแม้ด้วยอาการอย่างนี้ก็ดี.
ก็หรือว่าพระเถระกล่าวถึงภิกษุหนุ่มผู้หลีกไปสู่ทิศว่า พวกท่านจงให้เธอ
กลับ. เธอไม่กลับ. พระเถระสั่งว่า พวกท่านจงยึดจีวรกันไว้ ถ้าอย่างนี้
เธอกลับเป็นการดี. ถ้าเธอกล่าวว่า พวกท่านดูเหมือนจะพูด เพื่อต้อง
การบาตรและจีวร, พวกท่านจงรับเอามันไปเถิด แล้วให้คืน. แม้อย่างนี้
ก็ชื่อว่าภิกษุผู้รับไปนั้นให้คืนเองก็ดี.
อนึ่ง พระเถระเห็นเธอสึกแล้วกล่าวว่า เราได้ให้บาตรและจีวรแก่
เธอด้วยหวังว่า จักกระทำวัตร บัดนี้ เธอนั้นก็สึกไปแล้ว. ฝ่ายภิกษุ
หนุ่มที่สึกไปพูดว่า ขอท่านโปรดรับเอาบาตรและจีวรของท่านไปเถิด
แล้วให้คืน. แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าภิกษุผู้รับไปนั้นนั่นแล ให้คืนเองก็ดี.
แต่จะให้ด้วยกล่าวอย่างนี้ว่า เราให้แก่เธอผู้ถืออุปัชฌาย์ในสำนักของเรา
เท่านั้น เราไม่ให้แก่ผู้ถืออุปัชฌาย์ในที่อื่น, เราให้เฉพาะแก่ผู้กระทำวัตร,
ไม่ให้เเก่ผู้ไม่กระทำวัตร เราให้แก่ผู้เรียนธรรมเท่านั้นไม่ให้แก่ผู้ไม่เรียน
เราให้แก่ผู้ไม่สึกเท่านั้น ไม่ให้แก่ผู้สึก ดังนี้ ไม่ควร. เป็นทุกกฏแก่ผู้
ให้. แต่จะใช้ให้นำคืนมาควรอยู่. ภิกษุผู้ชิงเอาจีวรที่ตนสละให้แล้วคืนมา
พระวินัยธรพึงปรับตามราคาสิ่งของ. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้น
ทั้งนั้นแล.

สิกขาบทนี้ มี 3 สมุฏฐาน ย่อมเกิดทางกายกับจิต 1 ทางวาจา
กับจิต 1 ทางกายวาจากับจิต 1 เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ
โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ฉะนี้แล.
จีวรอัจฉินทนสิกขาบท จบ

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ 6
เรื่องพระฉัพพัคคีย์


[153] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ พระ-
เวฬุวัน อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราช-
คฤห์ ครั้งนั้นถึงคราวทำจีวร พระฉัพพัคคีย์ขอด้ายเขามาเป็นอันมาก
แม้ทำจีวรเสร็จแล้ว ด้ายก็ยังเหลืออยู่เป็นอันมาก จึงพระฉัพพัคคีย์ได้
ปรึกษากันว่า อาวุโสทั้งหลาย ผิฉะนั้น พวกเราพากันไปขอด้ายแม้อื่นมา
ให้ช่างหูกทอจีวรเถิด ครั้นไปขอด้ายแม้อื่นมาแล้ว ให้ช่างหูกทอจีวร
แม้ทอจีวรแล้ว ด้ายก็ยังเหลืออยู่อีกมากมาย จึงไปขอด้ายแม้อื่นมา ให้
ช่างหูกทอจีวรอีกเป็นครั้งที่สอง แม้ทอจีวรแล้ว ด้ายก็ยังเหลืออยู่อีกมาก
มาย จึงไปขอด้ายแม้อื่นมา ให้ช่างหูกทอจีวรอีกเป็นครั้งที่สาม
ชาวบ้านพากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อ-
สายพระศากยบุตรจึงได้ขอด้ายเขามาเองแล้ว ยังช่างหูกให้ทอจีวรเล่า
ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านเหล่านั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่