เมนู

ปัตตวรรคที่ 3 สิกขาบทที่ 4


พรรณนาวัสสิกสาฏิกสิกขาบท


วัสสิกสาฎิกสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าว
ต่อไป:- ในวัสสิกสาฎิกสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
สองบทว่า วสฺสิกสาฏิกา อนุญฺญาตา มีความว่า ผ้าอาบน้ำฝน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้แล้วในเรื่องนางวิสาขาในจีวรขันธกะ.
บทว่า ปฏิกจฺเจว แปลว่า ก่อนนั่นเทียว.
หลายบทว่า มาโส เสโส คิมฺหานํ มีความว่า ฤดูร้อน 4 เดือน
ยังเหลือเดือนสุดท้ายอีก 1 เดือน.
บทว่า กตฺวา มีความว่า ให้สำเร็จลงด้วยการเย็บ ย้อมและกัปปะ
เป็นที่สุด และภิกษุเมื่อจะทำพึงกระทำผืนเดียวเท่านั้น แล้วอธิษฐานใน
สมัย จะอธิษฐาน 2 ผืน ไม่ควร.
ข้อว่า อติเรกมาเส เสเส คิมฺหาเน ได้แก่ เมื่อเดือนที่มีชื่อว่า
ฤดูร้อน ยังเหลือเกิน 1 เดือน.
แต่ผู้ศึกษาตั้งอยู่ในคำว่า อติเรกฑฺฒมาเส เสเส คิมฺหาเน กตฺวา
นิวาเสติ
(ทำนุ่งในเมื่อฤดูร้อนยังเหลืออยู่เกินว่ากึ่งเดือน) นี้แล้ว พึงทราบ
เขตแห่งผ้าอาบน้ำฝน 4 เขต คือเขตแห่งการแสวงหา 1 เขตแห่งการ
กระทำ 1 เขตแห่งการนุ่งห่ม 1 เขตแห่งการอธิษฐาน 1, และสมัย 2
สมัย คือ กุจฉิสมัย 1 ปิฎฐิสมัย 1, และจตุกกะ 2 คือ ปิฎฐิสมัย-
จตุกกะ 1 กุจฉิสมัยจตุกกะ 1.
บรรดาเขต สมัย และจตุกกะเหล่านั้น กึ่งเดือนหนึ่ง ตั้งแต่วัน

แรมค่ำหนึ่งหลังวันเพ็ญของเดือน 7 ต้น ไปจนถึงวันอุโบสถในกาฬปักษ์
นี้เป็นเขตแห่งการแสวงหา และเขตแห่งการกระทำ, แท้จริง ในระหว่าง
นี้ ภิกษุจะแสวงหาผ้าอาบน้ำฝน ที่ยังไม่ได้ และจะทำผ้าอาบน้ำฝนที่ได้
แล้ว ควรอยู่. จะนุ่งห่มและจะอธิษฐานไม่ควร. กึ่งเดือนหนึ่ง ตั้งแต่
วันแรมค่ำหนึ่ง หลังวันอุโบสถในกาฬปักษ์ไปจนถึงวันเพ็ญเดือน 8 นี้
เป็นเขตแห่งการแสวงหา การกระทำและการนุ่งห่ม แม้ทั้ง 3. จริงอยู่
ในระหว่างนี้ จะแสวงหาผ้าอาบน้ำฝนซึ่งยังไม่ได้ กระทำผ้าที่ได้แล้วและ
จะนุ่งห่ม ควรอยู่. จะอธิษฐานอย่างเดียวไม่ควร. ตั้งแต่วันแรมค่ำหนึ่ง
หลังวันเพ็ญเดือน 8 ไป จนถึงวันเพ็ญเดือนกัตติกา (เดือน 12) 4 เดือน
นี้เป็นเขตแห่งการแสวงหาการกระทำ การนุ่งห่ม และอธิษฐาน แม้ทั้ง4.
จริงอยู่ ในระหว่างนี้ จะแสวงหาผ้าอาบน้ำฝนที่ยังไม่ได้ หรือจะกระทำ
ผ้าที่ได้แล้ว จะนุ่งห่ม และจะอธิษฐาน ควรอยู่. พึงทราบเขต 4 อย่าง
นี้ก่อน.
อนึ่ง ตั้งแต่วันแรมค่ำหนึ่งหลังวันเพ็ญเดือน 12 ไปจนถึงวันเพ็ญ
แห่งเดือน 8 ต้น, 7 เดือนนี้ ชื่อว่าปิฏฐิสมัย (หลังสมัย ). จริงอยู่ ใน
ระหว่างนี้ เมื่อภิกษุทำการเตือนสติ โดยนัยเป็นต้นว่า กาลแห่งผ้าอาบ
น้ำฝน แล้วให้จีวร คือ ผ้าอาบน้ำฝนสำเร็จจากที่ของคนผู้ไม่ใช่ญาติ
และไม่ใช่ปวารณา เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ด้วยสิกขาบทนี้, เมื่อกระทำ
วิญญัตติโดยนัยเป็นต้นว่า ท่านจงให้จีวรคือผ้าอาบน้ำฝนแก่เรา แล้วให้
สำเร็จ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ด้วยอัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท. เมื่อกระทำ
การเตือนสติ โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ ให้สำเร็จจากที่แห่งญาติและ
คนปวารณา เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ด้วยสิกขาบทนี้แล, เมื่อกระทำ

วิญญัตติให้สำเร็จไม่เป็นอาบัติ ด้วยอัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท. สมจริง
ดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ในคัมภีร์ปริวารว่า
ขอจีวรกะมารดา และไม่ได้น้อมลาภไปเพื่อสงฆ์ เพราะ
เหตุไร ภิกษุนั้น จึงต้องอาบัติ แต่ไม่ต้องอาบัติ เพราะ
บุคคลผู้เป็นญาติ ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายติดกัน* แล้ว

ก็ปัญหาข้อนี้ ท่านกล่าวหมายถึงเนื้อความนี้แล. พึงทราบปิฏฐิสมัย
จตุกกะอย่างนี้.
อนึ่ง ตั้งแต่วันแรมค่ำหนึ่งหลังวันเพ็ญแห่งเดือน 7 ต้น ไปจน
ถึงวันเพ็ญเดือนกัตติกา 5 เดือนนี้ ชื่อว่ากุจฉิสมัย (ท้องสมัย). จริงอยู่
ในระหว่างนี้ เมื่อภิกษุทำการเตือนสติ โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ
ให้จีวร คือผ้าอาบน้ำฝนสำเร็จจากที่แห่งคนผู้มิใช่ญาติ และมิได้ปวารณา
เป็นทุกกฏในเพราะเสียธรรมเนียม. แต่พวกชาวบ้าน ซึ่งเคยถวายจีวร
คือผ้าอาบน้ำฝนแม้ในกาลก่อน ถึงหากว่าจะเป็นผู้มิใช่ญาติ และมิใช่
ผู้ปวารณาของตน ก็ไม่มีการเสียธรรมเนียม เพราะทำการเตือนสติ ใน
ชนเหล่านั้น ทรงอนุญาตไว้. เมื่อภิกษุกระทำวิญญัตติให้สำเร็จเป็นนิส-
สัคคิยปาจิตตีย์ ด้วยอัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท. เพราะเหตุไร ? เพราะ
ตรัสไว้ว่า ภิกษุเข้าไปหาพวกชาวบ้านผู้เคยถวายจีวร คือผ้าอาบน้ำฝนใน
ก่อน แล้วพึงกล่าวอย่างนี้ ดังนี้เป็นต้น.
ก็จีวร คือผ้าอาบน้ำฝนนี้ ตามปกติ ย่อมมีเเม้ในหมู่ทายกผู้ถวาย
ผ้าอาบน้ำฝนนั่นแล. เมื่อภิกษุเตือนให้เกิดสติ โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นเอง
แล้วให้สำเร็จจากที่แห่งคนผู้เป็นญาติและคนปวารณา ไม่เป็นอาบัติด้วย
* วิ. ปริวาร. 8/535.

สิกขาบทนี้, เมื่อกระทำวิญญัตติให้สำเร็จมา ไม่เป็นอาบัติด้วยอัญญาตก-
วิญญัตติสิกขาบท. จริงอยู่ คำว่า ไม่พึงบอกเขาว่า จงถวายแก่เรา นี้
ตรัสหมายถึงคนผู้มิใช่ญาติและมิใช่ปวารณานั่นเอง. พึงทราบกุจฉิสมัย-
จตุกกะ (หมวด 4 ท้องสมัย) อย่างนี้.
ในคำว่า นคฺโค กายํ โอวสฺสาเปติ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส นี้ มี
วินิจฉัยดังต่อไปนี้:- ภิกษุเปลือยกายอาบน้ำฝนนั้น พระวินัยธรอย่าปรับ
ตามจำนวนเมล็ดน้ำฝน พึงปรับด้วยทุกกฏ ทุก ๆ ประโยค ด้วยอำนาจ
เสร็จการอาบน้ำ. ก็แล ภิกษุนั้นอาบน้ำที่ตกลงมาจากอากาศอยู่ ในลาน
ที่เปิดเผย (กลางแจ้ง) เท่านั้น (จึงต้องทุกกฏ). เมื่ออาบอยู่ในซุ้มอาบน้ำ
และในบึงเป็นต้น หรือด้วยน้ำที่ใช้หม้อตักรด (ตักอาบ) ไม่เป็นอาบัติ.
ในคำ วสฺสํ อุกฺกฑฺฒียติ นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:- ถ้าเมื่อผ้า
อาบน้ำฝนทำเสร็จแล้ว พวกภิกษุให้เดือนท้ายฤดูสิ้นไปแล้วเลื่อนเดือนต้น
ฤดูฝนนั่นแหละขึ้นมาเป็นเดือนท้ายฤดูร้อนอีก, พึงซักผ้าอาบน้ำฝนเก็บ
ไว้. ไม่ต้องอธิษฐานไม่ต้องวิกัป ได้บริหารตลอด 2 เดือน. พึง
อธิษฐาน ในวันวัสสูปนายิกา (วันเข้าพรรษา). ถ้าว่าผ้าอาบน้ำฝนภิกษุ
มิได้ทำ เพราะหลงลืมสติ หรือเพราะผ้าไม่พอก็ดี ย่อมได้บริหารตลอด
6 เดือน คือ 2 เดือนนั้นด้วย เดือนฤดูฝนด้วย. แต่ถ้าภิกษุกราน
กฐินในเดือนกัตติกา ย่อมได้บริหารอีก 4 เดือน. รวมเป็น 1 เดือน
ด้วยประการอย่างนี้. แม้ต่อจาก 10 เดือนนั้นไป เมื่อมีความหวัง (จะ
ได้ผ้าอาบน้ำฝน) ของภิกษุผู้ทำให้เป็นจีวรเดิมเก็บไว้ ได้บริหารอีก
เดือนหนึ่ง ดังนั้น จึงได้บริหารตลอด 11 เดือน ด้วยประการอย่างนี้.
ถามว่า ก็ถ้าว่า ผ้าอาบน้ำฝนที่ได้แล้วและสำเร็จแล้ว ในเมื่อวัน

เข้าพรรษายังไม่มาถึง ด้วยอำนาจแห่งวันหนึ่งและสองวันเป็นต้นจนถึง
10 วัน หรือในภายในพรรษา จะพึงอธิษฐานเมื่อไร ?
ตอบว่า คำนี้ ท่านไม่ได้วิจารณ์ไว้ในอรรถกถาทั้งหลาย. พวกเรา
มีอัตโนมัติอย่างนี้ว่า ก็แล ผ้าอาบน้ำฝนที่สำเร็จแล้ว ภายใน 10 วัน
ตั้งแต่วันที่ได้มา พึงอธิษฐานภายใน 10 วันนั้นนั่นเอง. ที่สำเร็จในเมื่อ
ล่วง 10 วันไป พึงอธิษฐานในวันนั้น, เมื่อยังไม่ครบ 10 วัน ไม่พึง
ให้เลยจีวรกาลไป. เพราะเหตุไร ? เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เราอนุญาตให้อธิษฐานไตรจีวร ไม่ใช่ให้วิกัป,
ให้อธิษฐานผ้าอาบน้ำฝนตลอด 4 เดือนฤดูฝน ต่อจากนั้นไปให้วิกัป.*
เพราะฉะนั้น จึงไม่เป็นอาบัติ แม้เพราะล่วง 10 วันไป ก่อนแต่วันเข้า
พรรษา. สมจริง ดังที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุพึงทรงอติเรกจีวรได้ 10 วันเป็น
อย่างมาก.2 เพราะฉะนั้น ผ้าอาบน้ำฝนที่ได้มาและสำเร็จแล้วในเมื่อวัน
เข้าพรรษา ยังมาไม่ถึงด้วยอำนาจแห่งวันหนึ่ง และสองวัน เป็นต้น จน
ถึง 10 วัน หรือในภายในพรรษา พึงอธิฐานในภายใน 10 วัน หรือ
ในวันนั้น โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ, เมื่อยังไม่ครบ 10 วัน ก็ไม่
พึงให้ล่วงเลยจีวรกาลไป.
ในอธิการแห่งผ้าอาบน้ำฝนนั้น จะพึงมีการท้วงว่า เพราะพระบาลี
ว่า เราอนุญาตให้อธิษฐานตลอด 4 เดือน ฤดูฝน, ในภายใน 4 เดือน
จะอธิษฐานในเวลาใดเวลาหนึ่ง ก็น่าจะใช้ได้. ถ้าเมื่อมีคำอย่างนี้, คำที่
ตรัสไว้ว่า เราอนุญาตให้อธิษฐานผ้าปิดฝีได้ตลอดเวลาที่ยังมีอาพาธ และ
แม้ผ้าปิดฝีนั้น ก็ไม่ควรให้ล่วง 10 วัน, และเมื่อมีการล่วง 10 วันไป
1. วิ. มหา. 5/218. 2. วิ. มหา. 2/3.

อย่างนั้น คำว่า พึงทรงอติเรกจีวรได้ 10 วันเป็นอย่างยิ่ง นี้ก็จะผิดไป;
เพราะฉะนั้น บัณฑิตจึงควรเชื่อถือคำตามที่กล่าวแล้วนั่นแล. หรือว่าได้
เหตุที่ไม่หละหลวมอย่างอื่นแล้ว ก็ควรสลัดทิ้งเสีย.
อนึ่ง แม้ในกุรุนที ก็กล่าวไว้ในที่สุดแห่งนิสสัคคีย์ว่า ผ้าอาบน้ำ
ฝนควรอธิษฐานเมื่อไร ? ก็แล ผ้าอาบน้ำฝนที่สำเร็จแล้วภายใน 10 วัน
ตั้งแต่วันที่ได้มา ควรอธิษฐานภายใน 10 วันนั้นนั่นแหละ, ถ้าผ้าไม่พอ
ย่อมได้บริหารไปจนถึงเพ็ญเดือน 12.
คำว่า อจฺฉินฺนจีวรสฺส นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาเฉพาะ
ผ้าอาบน้ำฝนเท่านั้น. จริงอยู่ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุเหล่านั้นผู้เปลือยกาย
ในเพราะยังน้ำฝนให้รดร่างกาย.
ก็ในบทว่า อาปทาสุ นี้ อุปัทวะคือโจร ชื่อว่าอันตราย แห่ง
ภิกษุผู้นุ่งผ้าอาบน้ำฝนมีราคาแพง อาบน้ำอยู่. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้
มีอรรถตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน 6 เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ
ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต 3 มีเวทนา 3 ดังนี้แล.
วัสสิกสาฏิกสิกขาบท จบ

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ 5
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร


[149] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น