เมนู

อาบัติที่เรากล่าวว่า สังฆาทิเสส, ท่านจงฟังอาบัตินั้น
ตามที่ได้กล่าวแล้ว, สงฆ์เท่านั้น ย่อมให้ปริวาส ย่อมชักเข้า
หาอาบัติเดิม ย่อมให้มานัต ย่อมอัพภาน; เพราะเหตุนั้น
อาบัตินั้น บัณฑิตเรียกว่า สังฆาทิเสส.

สองบทว่า ตสฺเสว วา อาปตฺตินิกายสฺส มีความว่า (อีกอย่างหนึ่ง
กรรมเป็นชื่อสำหรับเรียก) ประชุมแห่งอาบัตินั้นนั่นเอง. ในพระบาลีนั้น
อาบัตินี้ มีเพียงตัวเดียว แม้ก็จริง, ถึงอย่างนั้นนิกายศัพท์ท่านกล่าวด้วย
รุฬหิศัพท์ หรือด้วยโวหารที่เรียกส่วนทั้งหลายรวมกัน อย่างขันธศัพท์
ในคำว่าว่า เวทนาขันธ์หนึ่ง วิญญาณขันธ์หนึ่ง ดังนี้เป็นต้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกสิกขาบทที่พระองค์ทรงอุเทศ
ไว้ตามลำดับอย่างนั้นแล้ว บัดนี้ จึงตรัสคำว่า อชฺฌตฺตรูเป โมเจติ เป็น
อาทิ เพื่อแสดงอุบาย กาล ความประสงค์และวัตถุแห่งความประสงค์ของ
ภิกษุผู้ถึงการปล่อยสุกกะนี้

[อธิบายบทภาชนีย์ว่าด้วยเหตุให้ปล่อยสุกกะ]


จริงอยู่ ในส่วนทั้ง 4 มีอุบายเป็นต้นนี้ อุบายทรงแสดงแล้ว
ด้วย 4 บท มีอัชฌัตตรูปเป็นต้น เพราะว่า ภิกษุพึงปล่อยในรูปภายใน
บ้าง ในรูปภายนอกบ้าง ในรูปทั้งสองบ้าง พึงแอ่นเอวในอากาศปล่อย
บ้าง. อุบายอื่นนอกจากนี้ ย่อมไม่มี. ในอุบายนั้น ภิกษุพยายามปล่อย
ในรูปก็ดี พยายามปล่อยด้วยรูปก็ดี พึงทราบว่า "ปล่อยในรูปทั้งนั้น"
เพราะว่าเมื่อมีรูป เธอจึงปล่อยได้, ไม่ได้รูป ปล่อยไม่ได้ ฉะนี้แล.
ส่วนกาลทรงแสดงด้วย 5 บท มีราคะอุปถัมภ์เป็นต้น. จริงอยู่

เมื่อความที่องคชาตใด เป็นของควรแก่การงาน มีอยู่ ภิกษุจึงปล่อยได้,
องคชาตนั้นย่อมเป็นของควรแก่การงาน ในกาลที่ราคะอุปถัมภ์เป็นต้น
(ในเวลามีความกำหนัดหนุนเป็นต้น ) กาลอื่นนอกจากนี้ ย่อมไม่มี
เพราะว่า เว้นจากกาลที่ราคะอุปถัมภ์เป็นต้นนั้นเสียแล้ว กาลต่างชนิด
มีเวลาเช้าเป็นต้นจะเป็นที่กำหนดในการให้เคลื่อนหาได้ไม่. ความประสงค์
ทรงแสดงด้วย 10 บท มีบทว่า อโรคฺยตฺถาย เป็นต้น. จริงอยู่ ภิกษุ
ย่อมให้เคลื่อนตามชนิดแห่งความประสงค์เห็นปานนี้. หาใช่โดยประการ
อย่างอื่นไม่, ส่วนวัตถุแห่งความประสงค์ที่ 9 ทรงแสดงด้วย 10 บท
มีนีลบทเป็นต้น. จริงอยู่ ภิกษุเมื่อจะทดลอง ย่อมทดลองด้วยอำนาจ
แห่งสีเขียวเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง สีอื่นพ้นจากสีเหล่านั้นไปย่อมไม่มี
ฉะนั้นแล.
ต่อนี้ไป พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า อชฺฌตฺตรูเปติ อชฺฌตฺตอุปา-
ทินฺนรูเป
เป็นต้น เพื่อประกาศบททั้งหลายมีอัชฌัตตรูปบทเป็นต้น
เหล่านี้นั่นแล. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อชฺฌตฺตอุปาทินฺนรูเป คือ
ในรูปต่างชนิด มีมือเป็นต้นของตน.
บทว่า พหิทฺธอุปาทินเน คือ ในรูปเช่นนั้นเหมือนกันของคนอื่น.
บทว่า อนุปาทินฺเน คือ ในรูปต่างชนิด มีช่องลูกดาลประตู
เป็นต้น.
บทว่า ตทุภเย คือ ในรูปทั้งของตนและของคนอื่น. การให้
สุกกะเคลื่อนนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจความพยายามในรูป
ทั้งสอง. การให้สุกกะเคลื่อน ย่อมมีได้ แม้ในความพยายามรวมกัน
โดยรูปของตน และโดยอนุปาทินนรูป.

สองบทว่า อากาเส วายมนฺตสฺส ความว่า ไม่พยายามโดยรูป
อะไร ๆ เลย ส่ายองคชาตโดยประโยค คือ การแอ่นเอวในอากาศ
อย่างเดียว.
บทว่า ราคูปตฺถมฺเภ ความว่า ในเวลาองคชาตเกิดความกำหนัด
เพราะราคะมีกำลัง หรือเพราะความกำหนัด มีอธิบายว่า เมื่อองคชาต
เกิดความแข็งตัวขึ้นแล้ว.
สองบทว่า กมฺมนิยํ โหติ ความว่า องคชาตเป็นอวัยวะควรแก่
การงานในอันให้เคลื่อน คือ เหมาะแก่การพยายามในอัชฌัตตรูปเป็นต้น.
บทว่า อุจฺจาลิงฺคปาณกทฏฺฐุปตฺถมฺเภ ความว่า เมื่อองคชาต
ถูกหนุนให้เกิดความกำหนัดเพราะบุ้งขนกัด. ที่ชื่อว่าบุ้งขน เป็นสัตว์
เล็ก ๆ มีขน, องคชาตอันขนของสัตว์เล็ก ๆ เหล่านั้นถูกต้อง ก็รู้สึกคัน
แล้วแข็งตัว ( ? ) ในบาลีนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "เพราะถูก
บุ้งกัด" (ก็ ) เพราะขนเหล่านั้น ย่อมสำเร็จเหมือนกัดองคชาต. แต่
โดยใจความ มีอธิบายว่า เพราะถูกขนของบุ้งขนแทงเอา.
คำว่า อโรโค ภวิสฺสามิ ความว่า เราให้สุกกะเคลื่อนแล้วจักเป็น
ผู้หายโรค.
คำว่า สุขเวทนํ อุปฺปาเทสฺสามิ ความว่า สุขเวทนาอันใดย่อมมี
เพราะการให้เคลื่อน คือ เพราะเกิดการปล่อย และเพราะสุกกะเคลื่อน
แล้วเป็นปัจจัย, เราจักยังสุขเวทนานั้น ให้เกิดขึ้น.
คำว่า เภสชฺชํ ภิสฺสติ ความว่า สุกกะที่เราให้เคลื่อนแล้วนี้ จัก
เป็นยาบางชนิดทีเดียว.

คำว่า ทานํ ทสฺสามิ ความว่า เราทำให้เคลื่อนแล้ว จักให้ทาน
แก่สัตว์เล็ก ๆ มีแมลงและมดเป็นต้น .
คำว่า ปุญฺญํ ภวิสฺสติ ความว่า เมื่อเราปล่อยให้เป็นทานแก่แมลง
เป็นต้น จักเป็นบุญ.
คำว่า ยญฺญํ ยชิสฺสามิ ความว่า เราทำให้เคลื่อนแล้ว จักบูชา
ยัญแก่พวกแมลงเป็นต้น, มีอธิบายว่า เราจักกล่าวบทมนต์อะไรบางอย่าง
แล้วให้.
คำว่า สคฺคํ คมิสฺสามิ ความว่า เราจักไปสวรรค์ด้วยการที่ปล่อย
ให้ทานแก่พวกแมลงเป็นต้น ด้วยบุญ หรือด้วยยัญวิธี.
คำว่า วีชํ ภวิสฺสติ ความว่า จักเป็นพืชเพื่อทารกผู้เป็นหน่อแห่ง
วงศ์สกุล. อธิบายว่า ย่อมปล่อยโดยประสงค์นี้ว่า บุตรจักเกิดด้วยพืช
ของเรานี้.
บทว่า วีมํสตฺถาย คือ เพื่อต้องการรู้.
ในคำว่า นีลํ ภวิสฺสติ เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบใจความอย่างนี้ว่า
เราจักรู้ก่อนว่า สุกกะที่ปล่อยแล้ว จักเป็นสีเขียว หรือสีอย่างใด
อย่างหนึ่ง มีสีเหลืองเป็นต้น.
บทว่า ขิฑฺฑาธิปฺปาโย คือ ขวนขวายในการเล่น. มีคำอธิบายว่า
ภิกษุย่อมปล่อยเล่นโดยความประสงค์นั้น ๆ.

[อธิบายสุทธิกสังฆาทิเสส]


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงอาการที่ภิกษุให้สุกกะ
เคลื่อนต้องอาบัติและจำนวนชนิดอาบัติ ด้วยอำนาจแห่งบทเหล่านั้น