เมนู

ที่ชื่อว่าทรงอนุญาตเฉพาะเภสัช ได้แก่ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง
และน้ำอ้อย ที่สามารถแผ่ไปเพื่อสำเร็จอาหารกิจ ซึ่งทรงอนุญาตไว้ โดย
ชื่อแห่งเภสัชอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เราอนุญาตเภสัช 5. เภสัช 5
เหล่านั้น ภิกษุรับประเคนแล้ว พึงบริโภคได้ตามสบายในปุเรภัตในวัน
นั้น, ตั้งแต่ปัจฉาภัตไป เมื่อมีเหตุ พึงบริโภค ได้ตลอด 7 วัน โดย
นัยดังกล่าวแล้ว.

[อธิบายบทภาชนีย์และอนาปัตติวาร]


ข้อว่า สตฺตาหาติกฺกนฺเต อติกฺกนฺตสญฺญี นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ
มีความว่า แม้ถ้าว่า เภสัชนั้นมีประมาณเท่าเมล็คพันธุ์ผักกาด พอจะเอา
นิ้วแตะแล้วลมด้วยลิ้นคราวเดียว อันภิกษุจำต้องเสียสละแท้ และพึง
แสดงอาบัติปาจิตตีย์เสีย.
ข้อว่า น กายิเกน ปริโภเคน ปริภุญฺชิตพฺพํ มีความว่า ภิกษุ
อย่าพึงเอาทาร่างกาย หรือทาแผลที่ร่างกาย. แม้บริขารมีผ้ากาสาวะ
ไม้เท้า รองเท้า เขียงเช็ดเท้า เตียงและตั่งเป็นต้น ถูกเภสัชที่เป็นนิสสัคคิย-
วัตถุเหล่านั้นเปื้อนแล้ว เป็นของไม่ควรบริโภค ในมหาปัจจรี กล่าวว่า
ที่สำหรับมือจับแม้ในบานประตูและหน้าต่างก็ไม่ควรทำ. ในมหาอรรถ-
กถาท่านกล่าวว่า แต่ผสมลงในน้ำฝาดแล้วควรทาบานประตูและหน้าต่าง
ได้.
ข้อว่า อนาปตฺติ อนฺโตสตฺตาหํ อธิฏฺเฐติ มีความว่า ในภายใน
7 วัน ภิกษุอธิษฐานเนยใส น้ำมัน และเปลวมันไว้เป็นน้ำมันทาศีรษะ
หรือเป็นน้ำมันสำหรับหยอด, อธิษฐานน้ำผึ้งไว้เป็นยาทาแผล น้ำอ้อย