เมนู

แล้ว มีความร้อนสูง ย่อมบำบัดโรคได้. พระเถระยอมรับว่า ดีละ อาวุโส !
ดังนี้.
แต่พระมหาสุมเถระกล่าวไว้ว่า เปลวมันของสัตว์ที่มีมังสะเป็น
กัปปิยะ ย่อมควรในการบริโภคเจืออามิส, เปลวมันของพวกสัตว์ที่มีมังสะ
เป็นกัปปิยะนอกนี้ ควรในการบริโภคปราศจากอามิส.
ฝ่ายพระมหาปทุมเถระปฏิเสธว่า นี้อะไรกัน ? แล้วกล่าวว่า พวก
ภิกษุอาพาธด้วยโรคลม เติมน้ำมันเปลวหมีและสุกรเป็นต้นลงในข้าวยาคู
ที่ต้มด้วยน้ำฝาดรากไม้ 5 ชนิด แล้วดื่มข้าวยาคู, ข้าวยาคูนั้นบำบัดโรคได้
เพราะมีความร้อนสูง ดังนี้ จึงกล่าวว่าสมควรอยู่

[อธิบายเภสัชว่าด้วยน้ำผึ้ง]


สองบทว่า มธุ นาม มกฺขิกามธุ ได้แก่ น้ำหวานที่พวกผึ้ง
ใหญ่แมลงผึ้งตัวเล็ก และจำพวกแมลงภู่ ซึ่งมีชื่อว่าแมลงทำน้ำหวาน
(น้ำผึ้ง) ทำแล้ว. น้ำผึ้งนั้น ภิกษุรับประเคนก่อนฉัน แม้จะบริโภคเจือ
อามิสในปุเรภัตก็ควร. ตั้งแต่ปัจฉาภัตไป ควรบริโภคปราศจากอามิส
อย่างเดียวตลอด 7 วัน ในเมื่อล่วง 7 วันไป ถ้าน้ำผึ้งชนิดหนามากเป็น
เช่นกับยาง (เคี่ยวให้แข้น ) ทำเป็นชิ้นเล็กชิ้นใหญ่เก็บไว้ หรือน้ำผึ้งชนิด
บางนอกนี้เก็บไว้ในภาชนะต่าง ๆ กัน เป็นนิสสัคคีย์ มากตามจำนวน
วัตถุ, ถ้ามีเพียงชิ้นเดียวเท่านั้น หรือน้ำผึ้งบางนอกนี้ ก็เก็บรวมไว้ใน
ภาชนะเดียว. เป็นนิสสัคคีย์เพียงตัวเดียว. น้ำผึ้งที่เป็นอุคคหิตก์พึงทราบ
ตามนัยที่กล่าวนั่นแล. พึงน้อมเข้าไปในกิจอื่นมีทาแผลเป็นต้น. รังผึ้ง
หรือขี้ผึ้ง ถ้าน้ำผึ้งไม่ดี บริสุทธิ์ เป็นยาวชีวิก. แต่ที่มีน้ำผึ้งติดอยู่

มีคติอย่างน้ำผึ้งเหมือนกัน. แมลงผึ้งตัวยาวมีปีก ชื่อว่า จิริกะ, แมลงภู่
ใหญ่ตัวดำมีปีกแข็ง มีชื่อว่า ตุมพละ. ในรังของแมลงผึ้งเหล่านั้น มีน้ำผึ้ง
คล้ายกับยาง. น้ำผึ้งนั้นเป็นยาวชีวิก.

[อธิบายเภสัชว่าด้วยน้ำอ้อย]


ข้อว่า ผาณิตนินาม อจฺฉุมฺหา นิพฺพตฺตํ มีความว่า น้ำอ้อยชนิด
ที่ยังไม่ได้เคี่ยว หรือที่เคี่ยวแล้วไม่มีกาก หรือที่ไม่มีกากแม้ทั้งหมดจน
กระทั่งน้ำอ้อยสดพึงทราบว่า น้ำอ้อย. น้ำอ้อยนั้นที่ภิกษุรับประเคนก่อน
ฉัน แม้เจืออามิส ก็ควรในปุเรภัต. ตั้งแต่ปัจฉาภัตไป ไม่เจืออามิสเลย
จึงควรตลอด 7 วัน . ในเมื่อล่วง 7 วันไป เป็นนิสสัคคีย์ตามจำนวนวัตถุ.
ก้อนน้ำอ้อยแม้มากภิกษุย่อยให้เเหลกแล้ว ใส่ไว้ในภาชนะเดียวกัน ย่อม
จับรวมกันแน่น, เป็นนิสสัคคีย์เพียงตัวเดียว. น้ำอ้อยที่เป็นอุคคหิตก์
พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. พึงน้อมเข้าไปในกิจอื่นมีการอบ
เรือนเป็นต้น .
ผาณิตที่เขาทำด้วยน้ำอ้อยสดที่ยังไม่ได้กรอง ซึ่งภิกษุรับประเคนไว้
ในเวลาก่อนฉัน ถ้าอนุปสัมบันทำ แม้เจืออามิส ก็ควร. ถ้าภิกษุทำเอง
ไม่เจืออามิสเลย จึงควร. ก็จำเดิมแต่ปัจฉาภัตไป ไม่ควรกลืนกิน เพราะ
เป็นของรับประเคนทั้งวัตถุ. แม้ในเมื่อล่วง 7 วันไปก็ไม่เป็นอาบัติ.
แม้ที่เขาทำด้วยน้ำอ้อยสด ที่ภิกษุรับประเคนทั้งที่ยังไม่ได้กรองในปัจฉาภัต
ก็ไม่ควรกลืนกินเหมือนกัน . แม้ในเมื่อล่วง 7 วันไปก็ไม่เป็นอาบัติ แม้
ในผาณิตที่ภิกษุรับประเคนอ้อยลำทำ ก็มีนัยอย่างนี้.
ก็ผาณิตที่ทำด้วยน้ำอ้อยสดที่กรองและรับประเคนไว้ในกาลก่อนฉัน