เมนู

[143] เภสัชที่เสียสละแล้ว ภิกษุนั้นได้คืนมา ไม่พึงใช้ด้วยกิจที่
เกี่ยวกับกาย และไม่ควรฉัน พึงน้อมเข้าไปในการตามประทีป หรือใน
การผสมสี ภิกษุอื่นจะใช้ด้วยกิจที่เกี่ยวกับกายได้อยู่ แต่ไม่ควรฉัน

ทุกกฏ


เภสัชยังไม่ล่วง 7 วัน ภิกษุสำคัญว่าล่วงแล้ว... ต้องอาบัติทุกกฏ
เภสัชยังไม่ล่วง 7 วัน ภิกษุสงสัย... ต้องอาบัติทุกกฏ

ไม่ต้องอาบัติ


เภสัชยังไม่ล่วง 7 วัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ล่วง 7 วัน...ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร


[144] ภิกษุผูกใจไว้ว่าจะไม่บริโภค 1 ภิกษุแจกจ่ายให้ไป 1
เภสัชนั้นสูญหาย 1 เภสัชนั้นเสีย 1 เภสัชนั้นถูกไฟไหม้ 1 เภสัชนั้น
ถูกโจรชิงไป 1 ภิกษุถือวิสาสะ 1 ในภายในเจ็ดวัน ภิกษุให้แก่อนุป-
สัมบันด้วยจิตคิดสละแล้ว ทิ้งแล้ว ปล่อยแล้ว ไม่ห่วงใย กลับได้คืนมา
ฉันได้ 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ 3 จบ

ปัตตวรรคที่ 3 สิกขาบทที่ 3


พรรณนาเภสัชชสิกขาบท


เภสัชชสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าว
ต่อไป:- ในเภสัชชสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

[แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องพระปิลินทวัจฉะ]


พระราชาทอดพระเนตรเห็นภิกษุทั้งหลาย ขวนขวายชำระเงื้อมเขา
เพื่อประโยชน์เป็นที่เร้น ของพระเถระ มีพระราชประสงค์จะถวายคน
ทำการวัด จึงได้ตรัสถามว่า อตฺโถ ภนฺเต เป็นต้น.
บทว่า ปาฏิเยกฺโก แปลว่า เป็นหมู่บ้านหนึ่งต่างหาก.
บทว่า มาลากิเต ได้แก่ ผู้ทำระเบียบดอกไม้ คือ ทรงไว้ซึ่ง
ระเบียบดอกไม้. อธิบายว่า ประดับด้วยระเบียบดอกไม้.
บทว่า ติณณฺฑูปกํ แปลว่า เทริดหญ้า (หมวกฟาง).
บทว่า ปฏิมุญฺจิ แปลว่า สวมไว้ (บนศีรษะ).
ข้อว่า สา อโหสิ สุวณฺณมาลา มีความว่า หมวกฟางนั้น พอ
สวมบนศีรษะของเด็กหญิงเท่านั้น ได้กลายเป็นระเบียบดอกไม้ทองคำ
ด้วยอำนาจแห่งการอธิษฐานของพระเถระ. จริงอยู่ พระเถระอธิษฐาน
หมวกฟางนั้น ซึ่งพอวางลงบนศีรษะนั่นแลว่า จงกลายเป็นระเบียบ
ดอกไม้ทองคำ.
คำว่า หุติยมฺปิ โข ฯ เปฯ อุปสงฺกมิ ได้แก่ พระเถระได้ไป
หาในวันรุ่งขึ้นนั่นแหละ.
สองบทว่า สุวณฺณนติ อธิมุจฺจิ ได้แก่ พระเถระได้อธิษฐานว่า
จงสำเร็จเป็นทองคำ.
สองบทว่า ปญฺจนฺนํ เภสชฺชานํ ได้แก่ เภสัช 5 มีเนยใส
เป็นต้น .
บทว่า พาหุลฺลิกา ได้แก่ ผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นผู้มักมากด้วย
ปัจจัย.