เมนู

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหดุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่
ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ 10 ประการ คือ เพื่อความรับ
ว่าดีแห่งสงฆ์ 1 เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ 1 เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อ-
ยาก 1 เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก 1 เพื่อป้องกันอาสวะอัน
จะบังเกิดในปัจจุบัน 1 เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต 1 เพื่อ
ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส 1 เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ
ชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว 1 เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม 1 เพื่อถือ
ตามพระวินัย 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ


42. 3. อนึ่ง มีเภสัชอันควรลิ้มของภิกษุผู้อาพาธ คือ เนยใส
เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ภิกษุรับประเคนของนั้นแล้ว พึงเก็บ
ไว้ฉันได้ 7 วันเป็นอย่างยิ่ง ภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไป เป็นนิสสัคคิย-
ปาจิตตีย์.
เรื่องพระปิลินทวัจฉเถระ จบ

สิกขาบทวิภังค์


[141] คำว่า มีเภสัชอันควรลิ้มของภิกษุผู้อาพาธ เป็นต้น มี
อธิบายดังต่อไปนี้:-

ที่ชื่อว่า เนยใส ได้แก่ เนยใสที่ทำจากน้ำมันโคบ้าง น้ำนมแพะ
บ้าง น้ำมันกระบือบ้าง มังสะของสัตว์เหล่าใดเป็นของควร เนยใสที่ทำ
จากน้ำนมสัตว์เหล่านั้น ก็ใช้ได้
ที่ชื่อว่า เนยข้น ได้แก่ เนยข้นที่ทำจากน้ำนมสัตว์เหล่านั้นแล
ที่ชื่อว่า น้ำมัน ได้แก่ น้ำมันอันสกัดออกจากเมล็ดงาบ้าง จาก
เมล็ดพันธุ์ผักกาดบ้าง จากเมล็ดมะซางบ้าง จากเมล็ดละหุ่งบ้าง จาก
เปลวสัตว์บ้าง
ที่ชื่อว่า น้ำผึ้ง ได้แก่ รสหวานที่แมลงผึ้งทำ
ที่ชื่อว่า น้ำอ้อย ได้แก่ รสหวานที่เกิดจากอ้อย
คำว่า ภิกษุรับประเคนของนั้นแล้ว พึงเก็บไว้ฉันได้ 7 วัน
เป็นอย่างยิ่ง
คือเก็บไว้ฉันได้ 7 วันเป็นอย่างมาก
คำว่า ภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไป เป็นนิสสัคคีย์ ความว่า เมื่อ
อรุณที่ 8 ขึ้นมา เภสัชนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องเสียสละแก่สงฆ์
คณะ หรือบุคคล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เเลภิกษุพึงเสียสละเภสัชนั้นอย่างนี้:-

วิธีเสียสละ


เสียสละแก่สงฆ์


ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า เภสัชนี้ของข้าพเจ้าล่วง 7 วัน เป็นของจำจะสละ
ข้าพเจ้าสละเภสัชนี้แก่สงฆ์