เมนู

พระธนิยะเริ่มสร้างกุฎีไม้


ก็เพื่อแสดงถึงความรำพึงและความอุตสาหะ เพื่อสร้างกุฎีอีกนั่นแล
ของพระธนิยะ ในเมื่อกุฎีถูกทำลายแล้วอย่างนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์
จึงได้กล่าวคำว่า อถโข อายสฺมโต เป็นต้น.
ในคำว่า อายสฺมโต เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :-
บทว่า ทารุคเหคณโก ได้แก่ เจ้าพนักงานผู้รักษาไม้ในเรือนคลัง
ไม้ของหลวง.
บทว่า คหณทารูนิ* ได้แก่ ไม้ที่นายหลวงทรงจับจองไว้ อธิบายว่า
ไม้ที่พระราชาทรงสงวนไว้.
บทว่า นครปฏิสงฺขาริกานิ ได้แก่ ไม้เป็นเครื่องอุปกรณ์ การ
ปฏิสังขรณ์ พระนคร.
สองบทว่า อาปทตฺถาย นิกฺขิตฺตานิ มีคำอธิบายว่า ได้แก่ไม้ที่
เก็บไว้เพื่อป้องกันความวิบัติแห่งวัตถุทั้งหลายมีซุ้มประตู ป้อมพระราชวังหลวง
และโรงช้างเป็นต้น เพราะถูกไฟไหม้ เพราะความเก่าแก่ หรือเพราะการ
รุกรานของพระราชาผู้เป็นข้าศึกเป็นต้น ที่ท่านเรียกว่าอันตราย.
สองบทว่า ขณฺฑาขณฺฑิกํ เฉทาเปตฺวา ความว่า พระธนิยะ
กำหนดประมาณกุฎีของตนแล้ว สั่งให้ทำการตัดไม้บางต้นที่ปลาย บางต้นที่
ตรงกลาง บางต้นที่โคน ให้เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ ( บรรทุกเกวียนไปสร้าง
กุฎีไม้แล้ว ).
//* บาลีเดิมเป็น เทวคหณทารูนิ.

[ วัสสการพราหมณ์ลงโทษเจ้าพนักงานผู้รักษาไม้ ]
คำว่า วัสสการ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น.
บทว่า มคธมหามตฺโต ได้แก่ มหาอำมาตย์ คือ ผู้ประกอบด้วย
ชั้นอิสริยยศอย่างใหญ่ ในมคธรัฐ หรือมหาอำมาตย์ของพระเจ้าแผ่นดินมคธ
มีอธิบายว่า อำมาตย์ผู้ใหญ่.
บทว่า อนุสญฺญายมาโน ความว่า วัสสการพราหมณ์ ไปตรวจดู
ในที่นั้น ๆ.
คำว่า ภเณ เป็นคำของอิสรชนเรียกคนผู้ดำรงอยู่ในฐานะต่ำ.
สองบทว่า พนฺธํ อาณาเปสิ ความว่า พราหมณ์ แม้โดยปกติ
ก็เป็นผู้มีความริษยาในเจ้าพนักงานผู้รักษาไม้นั้นอยู่เทียว, พอเขาได้ฟังพระ-
ราชดำรัสว่า จงให้คนเอาตัวมา ดังนี้, แต่เพราะพระราชามิได้ทรงรับสั่งว่า
จงให้เรียกมันมา ฉะนั้น จึงทำการจองจำเจ้าพนักงานผู้รักษาไม้นั้น ที่มือ
และเท้าทั้งสอง แล้วคิดว่า จักให้ลงโทษ จึงให้จองจำไว้.
ในคำว่า อทฺทสา โข อายสฺมา ธนิโย นั้น ถามว่า ท่านพระธนิยะ
ได้เห็นเจ้าพนักงานผู้รักษาไม้ ถูกเจ้าหน้าที่จองจำนำไป ด้วยอาการอย่างไร ?
แก้ว่า ได้ยินว่า ท่านพระธนิยะนั้น ทราบว่าเป็นเพราะไม้ที่เจ้า
พนักงานนำไปถวายด้วยเลศของตน คิดว่า เจ้าพนักงานคนนี้จักถูกฆ่า หรือ
จองจำจากราชตระกูล เพราะเหตุแห่งไม้ทั้งหลาย โดยไม่ต้องสงสัย จึงคิดขึ้น
ได้ในเวลานั้นว่า เราคนเดียวเท่านั้น จักปลดเปลื้องเจ้าพนักงานคนนั้น แล้ว
เที่ยวคอยฟังว่าข่าวของเขาอยู่เป็นนิตยกาลนั่นแล เพราะฉะนั้น ท่านพระธนิยะ
จึงได้ไปเห็นเจ้าพนักงานคนนั้นในขณะนั้นนั่นแล เพราะเหตุนั้น พระธรรม-
สังคาหกาจารย์ จึงกล่าวไว้ว่า อทฺทสา โข อายสฺมา ธนิโย ดังนี้เป็นต้น.

สองบทว่า ทารูนํ กิจฺจา ความว่า เพราะเหตุแห่งไม้ทั้งหลาย.
สองบทว่า ปุรหํ หญฺญามิ ความว่า กระผมจะถูกกำจัดจากบุรี.
อธิบายว่า พระคุณท่าน ควรไปตลอดเวลาที่กระผมยังมิได้ถูกกำจัด. ศัพท์ว่า
อิงฺฆ ในคำว่า อิงฺฆ ภนฺเต สราเปหิ นี้เป็นนิบาต ลงในอรรถว่าทักท้วง.
บทว่า ปฐมาภิสิตฺโต ความว่า ครั้งพระองค์เสด็จเถลิงถวัลราชย์
ความแรก.
หลายบทว่า เอวรูปึ วาจํ ภาสิตา มีความว่า ครั้งพระองค์เสด็จ
เถลิงถวัลยราชย์คราวแรกนั่นเอง ได้ทรงเปล่งพระวาจาเช่นนี้ว่าหญ้าไม้และน้ำ
ข้าพเจ้าถวายแก่สมณพราหมณ์ทั้งหลายแล้วแล, ขอสมณะพราหมณ์ทั้งหลาย
โปรดใช้สอยเถิด มีคำอธิบายว่า ขอถวายพระพร ! พระองค์ได้ตรัสพระวาจา
ใดไว้ พระวาจานั้นพระองค์ตรัสเองทีเดียว บัดนี้ ยังทรงระลึกได้หรือไม่ ?
ได้ยินว่า พระราชาทั้งหลาย พอสักว่าเสด็จเถลิงถวัลยราชยสมบัติ
เท่านั้น ก็ทรงรับสั่ง ให้เที่ยวตีกลองธรรมเภรีประกาศว่า หญ้าไม้และน้ำ
ข้าพเจ้าถวายแก่สมณะพราหมณ์ทั้งหลายแล้วแล, ขอสมณะและพราหมณ์
ทั้งหลาย โปรดใช้สอยเถิด ดังนี้, พระธนิยะเถระนี้กล่าวหมายเอาพระราชดำรัส
นั้น.
หลายบทว่า เตสํ มยา สนฺธาย ภาสิตํ มีอธิบายว่า โยมได้
กล่าวคำอย่างนั้นหมายถึงการนำหญ้าไม้และน้ำไปของสมณะพราหมณ์เหล่านั้น
ผู้มีความรังเกียจแม้ในเหตุเล็กน้อย ซึ่งเป็นผู้สงบและลอยบาปแล้ว หาได้
หมายถึงการนำไปของบุคคลผู้เช่นพระคุณเจ้าไม่.
หลายบทว่า ตญฺจ โข อรญฺเญ อปริคฺคหิตํ มีความว่า พระเจ้า
พิมพิสาร ทรงแสดงพระประสงค์ว่า อันนั่น โยมกล่าวหมายเอาหญ้าไม้และน้ำ
อันใคร ๆ มิได้หวงแหน ซึ่งมีอยู่ในป่าต่างหาก.

ในคำว่า โลเมน ตฺวํ มุตฺโตสิ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
ขนเหมือนขน, ก็ขนนั้น คืออะไร ? คือ บรรพชาเพศ. พระเจ้า-
พิมพิสาร ตรัสอธิบายไว้อย่างไร ? ตรัสอธิบายไว้อย่างนี้คือ :- เปรียบ
เหมือนพวกนักเลงปรึกษากันว่า พวกเราจักเคี้ยวกินเนื้อแล้ว จึงจับแพะตัว
มีขนซึ่งมีราคามากไว้, บุรุษผู้รู้ดีคนหนึ่ง พบเห็นแพะตัวที่ถูกจับไว้นั้นนี้
จึงคิดว่า เนื้อแพะตัวนี้ มีราคาเพียงกหาปณะเดียว, แต่ขนของมันทุก ๆ เส้น
ขนมีราคาตั้งหลายกหาปณะ จึงได้ให้แพะเขาไป 2 ตัว ซึ่งไม่มีขน แล้วพึง
รับเอาแพะตัวที่มีขนนั้นไป, ด้วยอาการอย่างนี้ แพะตัวนั้น พึงรอดพ้นด้วยขน
เพราะอาศัยบุรุษผู้รู้ดี ข้อนี้ชื่อฉันใด, ตัวพระคุณเจ้าก็เป็นฉันนั้นเหมือนกัน
เป็นผู้ควรถูกฆ่าและจองจำ เพราะทำกรรมนี้, แต่เพราะพระคุณเจ้า มีธงชัย
พระอรหันต์ มีสภาวะอันสัตบุรุษไม่พึงดูหมิ่นได้ และเพราะพระคุณเจ้าบวช
ในพระศาสนา ทรงไว้ซึ่งธงชัยแห่งพระอรหันต์ เป็นบรรพชาเพศ ; เหตุนั้น
พระคุณเจ้าจึงรอดตัวด้วยขนคือบรรพชาเพศนี้ เหมือนแพะรอดพ้นด้วยขน
เพราะอาศัยบุรุษผู้รู้ดี ฉะนั้น.

[

ประชาชนเพ่งโทษติเตียนเหล่าสมณศากยบุตร

]
สองบทว่า มนุสฺสา อุชฺฌายนฺติ ความว่า เมื่อพระราชาทรงรับสั่ง
อยู่ในบริษัท มนุษย์ทั้งหลายในสถานที่นั้น ๆ ครั้นได้ฟังพระราชดำรัส ทั้งต่อ
พระพักตร์และลับพระพักตร์แล้ว ย่อมเพ่งโทษ คือ ดูหมิ่น ได้แก่ เมื่อดูหมิ่น
ก็เพ่งจ้องดูพระเถระนั้น, อนึ่ง หมายความว่า ย่อมคิดไปทางความลามก.
บทว่า ขียนฺติ ความว่า ย่อมพูด คือ ประจานโทษของพระเถระนั้น.
บทว่า วิปาเจนฺติ ความว่า แต่งเรื่องให้กว้างขวางออกไป คือ
กระจายข่าวให้แพร่สะพัดไปในสถานที่ทุกแห่ง. ก็แล ผู้ศึกษาควรทราบเนื้อความ
นี้ ตามแนวคัมภีร์ศัพทศาสตร์