เมนู

พระธนิยะเริ่มสร้างกุฎีไม้


ก็เพื่อแสดงถึงความรำพึงและความอุตสาหะ เพื่อสร้างกุฎีอีกนั่นแล
ของพระธนิยะ ในเมื่อกุฎีถูกทำลายแล้วอย่างนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์
จึงได้กล่าวคำว่า อถโข อายสฺมโต เป็นต้น.
ในคำว่า อายสฺมโต เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :-
บทว่า ทารุคเหคณโก ได้แก่ เจ้าพนักงานผู้รักษาไม้ในเรือนคลัง
ไม้ของหลวง.
บทว่า คหณทารูนิ* ได้แก่ ไม้ที่นายหลวงทรงจับจองไว้ อธิบายว่า
ไม้ที่พระราชาทรงสงวนไว้.
บทว่า นครปฏิสงฺขาริกานิ ได้แก่ ไม้เป็นเครื่องอุปกรณ์ การ
ปฏิสังขรณ์ พระนคร.
สองบทว่า อาปทตฺถาย นิกฺขิตฺตานิ มีคำอธิบายว่า ได้แก่ไม้ที่
เก็บไว้เพื่อป้องกันความวิบัติแห่งวัตถุทั้งหลายมีซุ้มประตู ป้อมพระราชวังหลวง
และโรงช้างเป็นต้น เพราะถูกไฟไหม้ เพราะความเก่าแก่ หรือเพราะการ
รุกรานของพระราชาผู้เป็นข้าศึกเป็นต้น ที่ท่านเรียกว่าอันตราย.
สองบทว่า ขณฺฑาขณฺฑิกํ เฉทาเปตฺวา ความว่า พระธนิยะ
กำหนดประมาณกุฎีของตนแล้ว สั่งให้ทำการตัดไม้บางต้นที่ปลาย บางต้นที่
ตรงกลาง บางต้นที่โคน ให้เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ ( บรรทุกเกวียนไปสร้าง
กุฎีไม้แล้ว ).
//* บาลีเดิมเป็น เทวคหณทารูนิ.