เมนู

แก่ภิกษุทั้งหลาย ๆ จึงกราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติปาราชิก เพราะอทินนาทาน แต่ต้อง
อาบัติปาราชิก เพราะเสพเมถุนธรรม.

เรื่องสัทธิวิหาริกพระทัฬหิกะเมืองสาคละ


[175] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุสัทธิวิหาริกของท่านพระทัฬหิกะใน
เมืองสาคละ ถูกความกระสันบีบคั้นแล้ว ได้ลักผ้าโพกของชาวร้านไป แล้ว
ได้กล่าวคำนี้กะท่านพระทัฬหิกะว่า กระผมไม่เป็นสมณะ จักลาสิกขา ขอรับ.
ท่านพระทัฬหิกะถามว่า คุณทำอะไรไว้.
ภิกษุนั้นสารภาพว่า ลักผ้าโพกของชาวร้าน ขอรับ.
ท่านพระทัฬหิกะให้นำผ้าโพกนั้นมา แล้วให้ชาวร้านตีราคาเมื่อตีราคา
ผ้าโพกนั้น ราคาไม่ถึง 5 มาสก ท่านพระทัฬหิกะชี้แจงเหตุผลว่า คุณไม่ต้อง
อาบัติปาราชิก ดังนี้ ภิกษุนั้นยินดียิ่งนักแล.
ปาราชิกสิกขาบทที่ 2 จบ.

ทุติยปาราชิกวรรณนา


บัดนี้ ถึงลำดับสังวรรณนาทุติย-
ปาราชิกซึ่งพระชินเจ้าผู้ไม่เป็นที่สองทรง
ประกาศแล้ว, เพราะเหตุนั้น คำใดที่จะพึงรู้
ได้ง่าย และได้ประกาศไว้แล้วในเบื้องต้น,
การสังวรรณนาทุติยปาราชิกนั้น จะเว้นคำ
นั้นเสียทั้งหมดดังต่อไปนี้

:-

[

เรื่องพระธนิยะกุมภการบุตร

]
นิกเขปบทว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา ราชคเห วิหรติ
คิชฺฌกูเฏ ปพฺพเต
ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป.
บทว่า ราชคเห ได้แก่ เมืองที่มีชื่ออย่างนั้น. จริงอยู่ เมืองนั้น
เรียกว่า ราชคฤห์ เพราะเป็นเมืองที่พระราชาทั้งหลายมีพระเจ้ามันธาตุ และ
พระเจ้ามหาโควินทะเป็นต้น ทรงปกครอง. ในคำว่า ราชคฤห์ นี้ พระอาจารย์
ทั้งหลาย พรรณนาประการอย่างอื่นบ้าง. จะมีประโยชน์อะไร ด้วยประการ
เหล่านั้นเล่า ?. คำว่า ราชคฤห์ นี้ เป็นชื่อของเมืองนั้น. แต่เมืองนี้นั้น
เป็นเมืองในครั้นพุทธกาล และจักรพรรดิกาล. ในกาลที่เหลือ เป็นเมืองร้าง
ถูกยักษ์หวงห้ามคือเป็นป่าเป็นที่อยู่ของพวกยักษ์เหล่านั้น ท่านพระอุบาลีเถระ
ครั้งแสดงโคจรคามอย่างนั้นแล้ว จึงแสดงสถานเป็นที่เสด็จประทับ.
สองบทว่า คิชฺฌกูเฏ ปพฺพเต มีความว่า ก็ภูเขานั้น เขาเรียกกันว่า
คิชฌกูฏ เพราะเหตุว่า มีฝูงแร้งอยู่บนยอด หรือมียอดคล้ายแร้ง.