เมนู

สมณะเหล่านี้ จะมีแต่ไหน พระสมณะเหล่านี้ปราศจากความเป็นสมณะแล้ว
พระสมณะเหล่านี้ปราศจากความเป็นพราหมณ์แล้ว แม้พระเจ้าแผ่นดิน พระ-
สมณะเหล่านี้ยังหลอกลวงได้ ไฉนจักไม่หลอกลวงคนอื่นเล่า. ภิกษุทั้งหลายได้
ฟังคนเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษมี
ความละอาย มีความรังเกียจ ใคร่ต่อสิกขาต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า ไฉนท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร จึงได้ถือเอาไม้ของหลวงที่เขาไม่ได้ให้ไป
แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท


ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุ
เป็นมูลเค้านั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้นแล้วทรงสอบถามท่านพระธนิยะ กุมภ-
การบุตรว่า ดูก่อนธนิยะ ข่าวว่า เธอได้ถือเอาไม้ของหลวงที่เขาไม่ได้ให้ไป
จริงหรือ
ท่านพระธนิยะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้า
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำ
ของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร มิใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ
ไฉนเธอจึงได้ถือเอาไม้ของหลวงที่เขาไม่ได้ให้ไปเล่า การกระทำของเธอนั่น
ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใสหรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง
ของผู้เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อม
ใสของผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของคนบางพวกที่เลื่อมใส
แล้ว

ก็สมัยนั้นแล มหาอำมาตย์ผู้พิพากษาเก่าคนหนึ่งบวชในหมู่ภิกษุ นั่ง
อยู่ไม่ห่างพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงพระองค์ได้ตรัสพระวาจานี้ต่อภิกษุรูปนั้นว่า
ดูก่อนภิกษุ พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชจับโจรได้แล้ว ประหารชีวิต
เสียบ้าง จองจำไว้บ้าง เนรเทศเสียบ้าง เพราะทรัพย์ประมาณเท่าไรหนอ
ภิกษุรูปนั้นกราบทูลว่า เพราะทรัพย์บาทหนึ่งบ้าง เพราะของควรค่า
บาทหนึ่งบ้าง เกินบาทหนึ่งบ้าง พระพุทธเจ้าข้า
แท้จริงสมัยนั้น ทรัพย์ 5 มาสกในกรุงราชคฤห์ เป็นหนึ่งบาท
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนท่านพระธนิยะ กุมภการบุตร โดย
อเนกปริยายแล้วจึงตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก
ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน
ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความ
สันโดด ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม
การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย แล้วทรงกระทำธรรมีกถา ที่สมควร
แก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุ
ทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ 10 ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ 1
เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ 1 เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก 1 เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุ
ผู้มีศีลเป็นที่รัก 1 เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน 1 เพื่อกำจัด
อาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต 1 เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส 1
เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว 1 เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัท-
ธรรม 1 เพื่อถือตามพระวินัย 1

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้

พระปฐมบัญญัติ


2. อนึ่ง ภิกษุใด ถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้ ด้วย
ส่วนแห่งความเป็นขโมย พระราชาทั้งหลาย จับโจรได้แล้วพึงประ -
หารเสียบ้าง จองจำไว้บ้าง เนรเทศเสียบ้าง ด้วยบริภาษว่า เจ้าเป็น
โจร เจ้าเป็นคนพาล เจ้าเป็นคนหลง เจ้าเป็นขโมย ในเพราะถือ
เอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานใด ภิกษุถือเอาทรัพย์อันเจ้าของ
ไม่ได้ให้เห็นปานนั้น แม้ภิกษุนี้ ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้.

ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้ว แก่ภิกษุ
ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องพระธนิยะ กุมภการบุตร จบ

เรื่องพระฉัพพัคคีย์


[84] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ชวนกันไปสู่ลานตากผ้าของ
ช่างย้อม ได้ลักห่อผ้าของช่างย้อม นำมาสู่อารามแล้วแบ่งปันกัน ภิกษุทั้งหลาย
พูดขึ้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย พวกท่านเป็นผู้มีบุญมาก เพราะผ้าเกิดแก่พวก
ท่านมาก.
ฉ. ท่านทั้งหลาย บุญของพวกผมจักมีแต่ไหน พวกผมไปสู่ลาน
ตากผ้าของช่างย้อม แล้วได้ลักห่อผ้าของช่างย้อมมาเดี๋ยวนี้.