เมนู

ข้อว่า อตฺเถสา ภิกฺขเว โสภิตสฺส สา จ โข เอกาเยว ชาติ
ความว่า ชาติที่โสภิตะกล่าวว่า เราระลึกชาติได้ ดังนี้ ของโสภิตะ มีอยู่, ก็แล
ชาตินั้นมีเพียงชาติเดียวเท่านั้น อธิบายว่า โสภิตะ มิได้ระลึกโดยผิดลำดับ
ไม่ติดต่อกัน.
ถามว่า พระโสภิตะนี้ระลึกชาติได้อย่างไร ?
แก้ว่า ได้ยินว่า พระโสภิตะนี้ บวชในลัทธิเดียรถีย์ ยังสัญญีสมาบัติ
ให้บังเกิดแล้ว เป็นผู้มีฌานไม่เสื่อมทำกาละแล้ว บังเกิดในอสัญญีภพกว่า
500 กัป. ท่านอยู่โนอสัญญีภพนั้นตราบเท่าชนมายุในที่สุด อุบัติในมนุษยโลก
แล้วบวชในพระศาสนาได้ทำวิชา 3 ให้แจ้ง ท่านเมื่อระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัย
อยู่ในกาลก่อน เห็นปฏิสนธิในอัตภาพนี้ ต่อจากนั้น ได้เห็นเฉพาะจุติใน
อัตภาพที่ 3. ลำดับนั้นท่านไม่อาจระลึกถึงอัตภาพอันไม่มีจิตในระหว่างจุติและ
ปฏิสนธิทั้ง 2 ได้ จึงได้กำหนดโดยนัยว่า เราบังเกิดในอสัญญีภพแน่นอน.
พระโสภิตเถระนั้น กำหนดได้อยู่อย่างนี้ได้กระทำสิ่งที่ทำได้ยาก เหมือนกับ
แยงปลายแห่งขนทรายที่ผ่าเป็น 7 ส่วนเข้ากับปลาย เหมือนกับการแสดงรอย
เท้าในอากาศ ; เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงตั้งท่านไว้ไนตำแหน่ง
เลตทัคคะ ในเพราะเรื่องนี้นั่นแหละว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! บรรดา
ภิกษุทั้งหลายผู้สาวกของเรา ผู้ระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยในกาลก่อน
โสภิตะนี้ เป็นเลิศ* ดังนี้.

[บทสรุปปาราซิก]


คำว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม คือ ปาราชิก 4
ข้าพเจ้ายกขึ้นสวดแล้วแล
นี้ เป็นคำแสดงถึงปาราชิกที่ยกขึ้นแสดงใน
//* องฺ เอก. 20/32

ปาราชิกุทเทสนี้นั่นแล. แต่ประมวลกันเข้าแล้ว พึงทราบปาราชิกทั้งหมด
ทีเดียว ว่ามี 24 อย่าง. 24 อย่าง คืออะไรบ้าง ? คือ ที่มาในพระบาลี 8
อย่างก่อน คือของพวกภิกษุ 4 เฉพาะของพวกนางภิกษุณี 4. อภัพบุคคล
11 จำพวก. บรรดาอภัพบุคคล 11 จำพวกเหล่านั้น บัณเฑาะก์ สัตว์
ดิรัจฉาน และอุภโตพยัญชนก 3 จำพวก เป็นพวกอเหตุกปฏิสนธิ จัดเป็น
พวกวัตถุวิบัติ. พวกวัตถุวิบัติเหล่านั้น ไม่ถูกห้ามสวรรค์ แต่ถูกห้ามมรรค.
จริงอยู่ บัณเฑาะก์เป็นต้นเหล่านั้น จัดเป็นอภัพบุคคลสำหรับการได้มรรค
เพราะเป็นพวกวัตถุวิบัติ ถึงการบรรพชาสำหรับพวกเขา ก็ทรงห้ามไว้.
เพราะฉะนั้น บัณเฑาะก์เป็นต้นแม้เหล่านั้น จึงจัดเป็นผู้พ่ายแพ้ (เป็นปาราชิก).
บุคคล 8 จำพวกเหล่านี้ คือ คนลักเพศ ภิกษุเข้ารีตเดียรถีย์ คนฆ่ามารดา คน
ฆ่าบิดา คนฆ่าพระอรหันต์ สามเณรผู้ประทุษร้ายนางภิกษุณี คนทำโลหิตุปบาท
ภิกษุผู้ทำสังฆเภท ชื่อว่าถึงฐานะเป็นอภัพบุคคล เพราะเป็นผู้วิบัติ ด้วยการ
กระทำของคน เพราะฉะนั้น จึงจัดเป็นผู้พ่ายแพ้ด้วย. บรรดาบุคคล 8 จำพวกนั้น
สำหรับบุคคล 3 จำพวกเหล่านี้ คือ คนลักเพศ ภิกษุเข้ารีตเดียรถีย์ สามเณร
ผู้ประทุษร้ายนางภิกษุณี ไม่ถูกห้ามสวรรค์ แต่ถูกห้ามมรรคแท้. อีก 5 จำพวก
ถูกห้ามแม้ทั้ง 2 อย่าง. เพราะว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นจำพวกสัตว์ที่จะต้องเกิด
ในนรก ไม่มีระหว่าง. อภัพบุคคล 11 จำพวกเหล่านี้ และบุคคลผู้เป็น
ปาราชิก 8 ข้างต้น จึงรวมเป็น 19 ด้วยประการฉะนี้ แม้บุคคลเหล่านั้น
รวมกับนางภิกษุณีผู้ยังความพอใจให้เกิดในเพศคฤหัสถ์ แล้วนุ่งห่มอย่างคฤหัสถ์
จึงรวมเป็น 20. จริงอยู่ นางภิกษุณีนั้น ถึงจะไม่ได้กระทำการล่วงละเมิด
ด้วยอัชฌาจาร ก็จัดว่า ไม่เป็นสมณีได้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ; เพราะเหตุนั้น
ปาราชิกเหล่านี้ จึงมี 20 ก่อน. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อนุโลมปาราชิก

แม้อย่างอื่น ยังมีอีก 4 ด้วยอำนาจภิกษุ 4 จำพวกเหล่านี้ คือ ภิกษุมีองค์
กำเนิดยาว (ปรารถนาจะเสพเมถุนธรรม จึงสอดองค์กำเนิดเข้าไปทางวัจจมรรค
ของคน) 1 ภิกษุมีหลังอ่อน (ปรารถนาจะเสพเมถุนธรรม ก้มลงอมองค์
กำเนิดของตน) 1 ภิกษุเอาปากอมองค์กำเนิดของผู้อื่น 1 ภิกษุนั่งสวมองค์
กำเนิดของผู้อื่น 1. ก็เพราะเหตุที่ธรรมของคน 2 คน ผู้เข้าถึงความเป็น
เช่นเดียวกัน ด้วยอำนาจราคะ ตรัสเรียกว่า เมถุนธรรม ; ฉะนั้น ปาราชิก
4 เหล่านี้ ชื่อว่า ย่อมอนุโลมแก่เมถุนธรรมปาราชิก โดยปริยายนี้ เพราะ
ภิกษุ 4 จำพวกนั้น ถึงจะไม่ได้เสพเมถุนธรรมเลย ก็พึงต้องอาบัติได้ ด้วย
อำนาจการยังมรรคให้เข้าไปทางมรรคอย่างเดียว ; เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า
อนุโลมปาราชิก ฉะนี้แล. พึงประมวลอนุโลมปาราชิก 4 เหล่านี้ และปาราชิก
20 ประการข้างต้นเข้าด้วยกันแล้ว ทราบปาราชิกทั้งหมดทีเดียว ว่ามี 24 อย่าง
ด้วยประการฉะนี้
ข้อว่า น ลภติ ภิกฺขูหิ สทฺธึ สํวาสํ มีความว่า ย่อมไม่ได้สังวาส
ต่างโดยประเภท มีอุโบสถ ปวารณา ปาฏิโมกขุทเทส และสังฆกรรมกับด้วย
ภิกษุทั้งหลาย.
ข้อว่า ยถา ปุเร ตถา ปจฺฉา มีความว่า ในกาลก่อน คือ ใน
เวลาเป็นคฤหัสถ์และเวลาที่ยังมิได้อุปสมบท (ย่อมเป็นผู้ไม่มีสังวาส) ฉันใด,
ภายหลังแม้ต้องปาราชิกแล้ว ก็เป็นผู้ไม่มีสังวาส ฉันนั้นเหมือนกัน. สังวาส
ต่างโดยประเภทมี อุโบสถ ปวารณา ปาฏิโมกขุทเทส และสังฆกรรม กับ
ด้วยภิกษุทั้งหลาย ของภิกษุนั้น ไม่มี; เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้น ชื่อว่า
ย่อมไม่ได้สังวาสกับด้วยภิกษุทั้งหลาย.

ข้อว่า ตตฺถายสฺมนฺเต ปุจฺฉามิ มีความว่า ข้าพเจ้าขอถามท่าน
ทั้งหลาย ในปาราชิก 4 เหล่านั้นว่า ท่านเป็นผู้บริสุทธิ์แลหรือ ?
บทว่า กจฺจิตฺถ ตัดบทว่า กจฺจิ เอตฺถ มีความว่า ในปาราชิก
4 เหล่านี้ ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แลหรือ ?
อีกประการหนึ่ง สองบทว่า กจฺจิตฺถ ปริสุทฺธา มีความว่า ท่าน
ทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์แลหรือ ? บทที่เหลือทุก ๆ แห่งมีเนื้อความตื้น
ทั้งนั้น ฉะนี้แล.
จตุตถปาราชิกวรรณนา ในอรรถกถาพระวินัย
ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ

[อธิษฐานคาถาของท่านผู้รจนา]


ขอพระสัทธรรม จงดำรงอยู่สิ้นกาล
นาน ขอฝนจงตกต้องตามฤดูกาล ยังหมู่
สัตว์ให้เอิบอิ่ม สิ้นกาลนาน ขอพระราชา
จงปกครองแผ่นดิน โดยธรรมเทอญ.